- 08 ก.ย. 2564
- 92
แนวคิดของรัฐบาลในการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และสลาย ศบค. แล้วใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ บริหารสถานการณ์โควิด-19 แทนนั้น ได้รับการขานรับจากหลายฝ่ายว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้อง เพราะกฎหมายมีเนื้อหาป้องกันและแก้ปัญหาโรคระบาดได้ดีกว่า และตรงกว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในหลายประเด็น
จะว่าไปแล้ว เคยมีหลายฝ่ายเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อแก้ปัญหาโควิด ซึ่งประกาศตั้งแต่ วันที่ 26 มี.ค. ปีที่แล้ว และขยายเวลาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รวมเวลาเกือบ 1 ปี 6 เดือ
สาเหตุเพราะ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้รับมือกับ "โรคระบาด" เพราะให้อำนาจฝ่ายความมั่นคง ทหาร ตำรวจ เป็นหลักในการปฏิบัติการ หนำซ้ำหลายๆ มาตรการยังเป็น "ยาแรง" เกินไป และอาจเป็นการส่งสัญญาณผิดไปยังต่างประเทศ จนทำให้มองประเทศไทยในแง่ลบ เพราะ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ บ้านเรา ให้อำนาจเจ้าหน้าที่คล้ายๆ "กฎอัยการศึก"
กฎหมายที่ควรใช้คือ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ทันสมัย และประกาศใช้ในยุค คสช. โดยมีเนื้อหาครอบคลุมการให้อำนาจเจ้าพนักงานสาธารณสุข และเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการควบคุมโรคระบาด
เพราะหลักคิดของการควบคุมโรคระบาด ต้องกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น โดยให้ท้องถิ่นเป็นหลักในการดูแล จึงจะ "เอาอยู่" และแต่ละพื้นที่ ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการเดียวกันทั่วประเทศ เพราะความร้ายแรงของปัญหาแตกต่างกัน
การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จึงกระทบกับเศรษฐกิจอย่างแรง ขณะที่การปฏิบัติจริง ก็มอบอำนาจให้แต่ละจังหวัดไปพิจารณาประกาศมาตรการที่เหมาะสมกับตัวเองอยู่ดี
อำนาจที่กฎหมายให้เหมือนกัน ระหว่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กับ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ก็คือ
-การกักตัว หรือควบคุมตัวบุคคล (พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ใช้คำว่า แยกกัก กักกัน คุมไวัสังเกต หรือ quarantine ในภาษาอังกฤษนั่นเอง)
-การเข้าออกเคหสถานหรือโรงเรือน หรือยานพาหนะ (พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ใช้เพื่อควบคุมโรคระบาดเท่านั้น ซึ่งตรงกับสถานการณ์มากกว่า)
-การสั่งปิดสถานที่ เช่น ตลาด โรงงาน โรงมหรสพ สถานศึกษา และการห้ามเข้า หรือห้ามใช้สถานที่นั้น
นอกจากนั้น ยังมีอำนาจบางอย่างที่ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มีบัญญัติไว้ แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่มี เช่น อำนาจการจัดการศพที่ตายด้วยโรคติดต่อ การสั่งให้รับวัคซีน หรือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เหล่านี้ เป็นต้น
ส่วนอำนาจที่บางฝ่ายมองว่ามีเฉพาะใน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่ไม่มีใน พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ก็คือ
-การสั่งห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด ที่เรียกว่า "เคอร์ฟิว"
-ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ
-การตรวจสอบจดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ หรือยับยั้งการสื่อสาร
-มีข้อยกเว้นการรับผิดให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย และไม่เกินกว่าเหตุ
แต่ประเด็นที่น่าพิจารณา คือ มาตรา 34 และ 35 ของ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ได้เขียนเปิดช่องทางไว้สำหรับตีความการใช้อำนาจคล้ายๆ กับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้ เช่น มาตรา 34 (7) ห้ามผู้ใดเข้าไปหรือออกจากที่เอกเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาต แบบนี้ถ้าประกาศครอบคลุมบางพื้นที่ และกำหนดเวลาการเข้า-ออก ก็จะคล้ายกับประกาศเคอร์ฟิวเช่นกัน
ส่วนอำนาจตรวจสอบจดหมาย หรือการสื่อสาร จริงๆแล้ว มีความจำเป็นแค่ไหน และสามารถใช้กฎหมายอื่นได้หรือไม่ โดยไม่ต้องประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เช่นเดียวกับการห้ามชุมนุมมั่วสุม พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ก็ให้อำนาจในการสั่งห้ามเข้าไปยังพื้นที่ที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมากอยู่แล้ว
เปิด"พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ"โฉมใหม่
สำหรับ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ที่จะแก้ไขใหม่ เพื่อรองรับการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีสาระสำคัญ 9 ประการ สรุปเฉพาะที่สำคัญ ก็เช่น
-เพิ่มอำนาจให้อธิบดีกรมควบคุมโรค มีอำนาจประกาศให้ท้องที่ใดนอกราชอาณาจักร เป็นพื้นที่เกิดการระบาด เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อไม่ให้แพร่เข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ที่จะแก้ไขใหม่ เพื่อรองรับการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีสาระสำคัญ 9 ประการ สรุปเฉพาะที่สำคัญ เช่น
-เพิ่มอำนาจให้อธิบดีกรมควบคุมโรค มีอำนาจประกาศให้ท้องที่ใดนอกราชอาณาจักร เป็นพื้นที่เกิดการระบาด เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อไม่ให้แพร่เข้ามาในราชอาณาจักร
โดยพ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ที่จะแก้ไขใหม่ เพื่อรองรับการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีสาระสำคัญ 9 ประการ สรุปเฉพาะที่สำคัญ เช่น
-เพิ่มอำนาจให้อธิบดีกรมควบคุมโรค มีอำนาจประกาศให้ท้องที่ใดนอกราชอาณาจักร เป็นพื้นที่เกิดการระบาด เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อไม่ให้แพร่เข้ามาในราชอาณาจักร
สำหรับ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ที่จะแก้ไขใหม่ เพื่อรองรับการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีสาระสำคัญ 9 ประการ สรุปเฉพาะที่สำคัญ ก็เช่น
-เพิ่มอำนาจให้อธิบดีกรมควบคุมโรค มีอำนาจประกาศให้ท้องที่ใดนอกราชอาณาจักร เป็นพื้นที่เกิดการระบาด เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อไม่ให้แพร่เข้ามาในราชอาณาจักร
-กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด ตลอดจนผู้ที่เป็นผู้สัมผัสโรค หรือผู้ที่เป็นพาหะ
-ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้น กำหนดให้ผู้ที่พบว่าตนเป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคดังกล่าว มีหน้าที่แจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เหล่านี้เป็นต้น
ต้องรอดูว่ารัฐบาลจะตัดสินใจยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ภายในสิ้นเดือนก.ย.นี้ จริงหรือไม่ และจะเร่งรัดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ให้สามารถรับมือกับโควิด-19 ทดแทน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม