svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ศบค. แง้มอาจเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หลัง พ.ร.บ.โรคติดต่อฉบับแก้ไขมีผล

29 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศบค. แง้มอาจเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หลังประกาศ พ.ร.บ.โรคติดต่อฉบับแก้ไข มีผลบังคับแล้ว แจงข้อปฏิบัติร้านอาหารหลังคลายล็อก เป็นไปตามข้อเสนอของเอกชน

ความคืบหน้ากรณีที่ ศบค. คลายล็อกให้สามารถนั่งรับประทานอาหารในร้านได้ ซึ่งมีกระแสความกังวลต่อข้อปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขการฉีดวัคซีนของพนักงาน และการตรวจหาเชื้อทุก 7 วัน ล่าสุดมีรายงานจาก ศบค.ว่า ที่ประชุม ศบค. ได้พิจารณาไตร่ตรองเรื่องนี้ด้วยความรอบคอบ และเป็นไปสิ่งที่สมาคมภัตตาคารไทยและภาคธุรกิจเสนอมาพร้อมกับมาตรการต่างๆ ที่ภาคธุรกิจจะปฏิบัติ เพื่อให้กิจการเปิดเดินหน้าได้อย่างสมดุลกับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 

ส่วนที่มีบางคนกังวลว่าจะเกิดความเสี่ยงหากมีการผ่อนคลายให้เปิดกิจการหรือกิจกรรมต่างๆ ในช่วงที่ยังมีการระบาดยังอยู่ แม้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงนั้น ก็เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่ได้รับการอนุญาตให้เปิดบริการได้ ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และระมัดระวังไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อแล้วนำไปสู่มาตรการที่เคยสั่งปิดหรือควบคุมเหมือนช่วงที่ผ่านมา  สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด ยังมีการประชุมร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) เป็นประจำถึงการดำเนินการตามมติของ ศบค. เพื่อให้การระบาดลดลงเรื่อย ๆ

ศบค. แง้มอาจเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หลัง พ.ร.บ.โรคติดต่อฉบับแก้ไขมีผล
 

ส่วนอัตราการติดเชื้อในต่างจังหวัดจากการที่มีผู้ติดเชื้อกลับไปรักษาตัวและเยี่ยมญาตินั้น รายงาน ศบค. ระบุว่า ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโดยรวมยังอยู่ในสถานะที่รับได้ ขณะเดียวกันการดำเนินชีวิตของประชาชนในต่างจังหวัดมีความแตกต่างจากในกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งมีความหนาแน่นและวิถีชีวิตที่ต่างกัน 

อย่างไรก็ตาม แผนการของ ศบค.ในการดูแลและแก้ไขปัญหาโรคโควิด-19 ยังคงขอให้ทุกส่วนปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขและ ศบค. ไปพร้อมกับการเร่งจัดหาวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งหาวัคซีนให้กับกลุ่มนักเรียนและนักศึกษา 

ศบค. แง้มอาจเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หลัง พ.ร.บ.โรคติดต่อฉบับแก้ไขมีผล
 


"รวมถึงขณะนี้อยู่ระหว่างการพูดคุยเรื่องการเตรียมยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในการนำมาใช้ควบคุมเพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยคาดว่าจะยกเลิกการบังคับใช้ พ.ร.ก.ดังกล่าวทันที หลังจากเริ่มมีผลบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โรคติดต่อ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม"

ศบค. แง้มอาจเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หลัง พ.ร.บ.โรคติดต่อฉบับแก้ไขมีผล

logoline