svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

นักวิจัยสิงคโปร์พัฒนาพลาสเตอร์อัจริยะ

01 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คณะนักวิจัยของสิงคโปร์ได้พัฒนาพลาสเตอร์อัจริยะ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถตรวจสอบบาดแผลเรื้อรังของตนเองได้จากระยะไกลผ่านแอป โดยไม่จำเป็นต้องพบแพทย์

คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) พัฒนา "เซ็นเซอร์ที่สวมใส่ได้" ที่ติดอยู่กับพลาสเตอร์โปร่งใส ที่สามารถตรวจจับ "ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ" (biomarkers) จากของเหลว โดยข้อมูลต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ชนิดของแบคทีเรีย ค่า pH และปัจจัยการอักเสบของบาดแผลเรื้อรัง จะถูกรวบรวมเมื่อติด พลาสเตอร์ "VeCare" ภายใน 15 นาที และแพทย์จะสามารถทำการวินิจฉัย "จุดที่ต้องรักษา" (Point-of-care) โดยใช้ข้อมูลที่ถูกส่งไปให้ผ่านแอป 

 

นักวิจัยสิงคโปร์พัฒนาพลาสเตอร์อัจริยะ

นายแพทย์ชวี่ เต็ก ลิม หัวหน้าคณะนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ ของ NUS เปิดเผยว่า

 

"โดยทั่วไปคนที่มีบาดแผลจากกาารบาดเจ็บหรือแผลอักเสบ ถ้าติดเชื้อทางเดียวที่จะวินิจฉัยได้ คือแพทย์ต้องตรวจดูแผลด้วยตาตนเอง และถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็จะต้องเอาของเหลวจากแผลส่งไปทดสอบที่ห้องแล็บ ที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง หรือ 2-3 วัน แต่สิ่งที่เราพยายามทำคือการใช้พลาสเตอร์อัจริยะ เพื่อร่นระยะเวลาจากหลายชั่วโมงหรือหลายวันให้เหลือแค่ไม่กี่นาที"  

 

นักวิจัยสิงคโปร์พัฒนาพลาสเตอร์อัจริยะ

 

แพทย์สามารถวิเคราะห์และติดตามความคืบหน้าของการรักษาจากระยะไกลผ่านระบบ "Cloud" เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพบการติดเชื้อได้เร็วกว่ามาก ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยสามารถพักฟื้นที่บ้านได้มากขึ้น และไปพบแพทย์เมื่อเวลาที่ขั้นตอนการรักษาไม่ได้ผลเท่านั้น 

 

พลาสเตอร์อัจริยะยังอยู่ระหว่างการทดสอบกับผู้ป่วย ที่มีบาดแผลหลอดเลือดดำเรื้อรังหรือบาดแผลจากปัญหาการไหลเวียนของเส้นเลือดดำที่ขา ซึ่งนักวิจัยสามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการตรวจสอบบาดแผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นายแพทย์ชวี่ บอกด้วยว่าพลาสเตอร์อัจริยะยังใช้ได้ดีกับบาดแผลของผู้ป่วยเบาหวานอีกด้วย

logoline