svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

กสม.ย้ำกฎหมายอุ้มหายป้องกันจนท.ลอยนวล

27 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ศยามล ไกยูรวงศ์" ยันสาระสำคัญกฎหมายป้องกันทรมานและบุคคลสูญหาย ช่วยคุ้มครองประชาชน ย้ำโดยเฉพาะจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ

27 สิงหาคม 2564 น.ส.ศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยถึงเนื้อหาสาระสำคัญโดยหลักการแล้วถ้ากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้เป็นบุคคลสูญหาย ออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว ว่า ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองมาก เพราะว่ากรณีนี้ที่มีการร้องเรียนมาที่กรรมการสิทธิฯ จำนวนมาก ลักษณะแบบคล้ายๆกัน จะมีของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และการกระทำที่เจ้าหน้าที่รัฐ ที่เรียกว่าไปจับกุมผู้ที่ครอบครองยาเสพติดไว้ 

 

ทั้งนี้ แต่กรรมการสิทธิฯ มีข้อจำกัดมาก ในการไปหาพยานหลักฐานและวันที่เกิดเหตุโดยเร็ว ดังนั้น ร่างกฎหมายนี้จะช่วยได้มาก เพราะร่างกฎหมายนี้ จะเรียกได้ว่ากฎหมายพิเศษที่เรียกว่ากำหนดการกระทำความผิด การกระทำทรมานและบุคคลสูญหาย โดยเน้นไปที่เจ้าหน้าที่รัฐ และมีกำหนดโทษขึ้นใหม่ โดยมีลักษณะการสอบสวนคดีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และให้ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าไปสอบสวนคดีและการดำเนินคดีนี้เรียกว่าเป็นการดำเนินคดีพิเศษตามกฎหมาย

 

ขณะเดียวกัน และก็ให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้น แต่จะมีรายละเอียดสำคัญๆ ที่จะคุ้มครองให้กระบวนการยุติธรรมจะคุ้มครองกรณีของบุคคลที่ถูกกระทำความผิด เพราะจะมีเขียนว่าอันนี้ เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ถ้ามีผู้บังคับบัญชาร่วมด้วย ก็จะต้องมีโทษกึ่งหนึ่ง และที่สำคัญ คือ ผู้ได้รับความเสียหายไม่ใช่เฉพาะผู้ที่ถูกโดนกระทำ แต่รวมถึงพ่อแม่ลูก และยังรวมไปถึงคู่ชีวิตที่ไม่ใช่แค่หญิงชาย ก็เป็นเรื่องกฎหมายที่ค่อนข้างก้าวหน้า

 

กสม.ย้ำกฎหมายอุ้มหายป้องกันจนท.ลอยนวล

"ที่สำคัญก็คือผู้เสียหายที่มีสิทธิ์ร้องทุกข์ร้องเรียนเข้าถึงความเป็นธรรมได้ และได้รับชดเชยเยียวยาความเสียหายนั้นด้วย คือ จะเป็นร่างของกระทรวงยุติธรรม หรือจะเป็นร่างกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร ก็กำหนดมาตรการที่เรียกว่าตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย เพื่อให้กรรมการนี้ พอมีการกระทำผิดขึ้นและการสอบสวนก็ต้องมีอาจจะเป็นดีเอสไอ เข้าไปสอบสวนหรือไปชันสูตรศพทันที ต้องมีการรายงานการกระทำนั้นๆ รายงานความเสียหายและก็ส่งมายังคณะกรรมการอนุกรรมการของเขาเพื่อให้มีการฟื้นฟูเยียวยาได้อย่างรวดเร็วและกรรมการก็จะกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามด้วย" น.ส.ศยามล กล่าว

 

น.ส.ศยามล ระบุว่า ซึ่งตรงนี้มีอยู่ 4 ร่าง คือ ร่างของกระทรวงยุติธรรม ร่างกรรมาธิการกฎหมาย สภาผู้แทนราษฎร ร่างของพรรคประชาธิปัตย์ และร่างของพรรคประชาชาติ ก็จะมีความแตกต่างในการกระทำความผิดในการคุ้มครอง ทั้งการกระทำความผิด ทั้งทรมานและการอุ้มหาย การย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เหมือนกัน แต่ก็จะมีความแตกต่างในเรื่องของโทษ ถ้าเป็นร่างของกระทรวงยุติธรรมโทษทรมานและอุ้มหายจำคุกถึง 10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท ถ้าผู้ถูกกระทำเสียชีวิตจำคุก 10 ปีถึงตลอดชีวิต ปรับ 200,000-400,000 บาท 

 

ส่วนร่างกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำคุก 5 ปีถึงตลอดชีวิต ปรับ 300,000-1,000,000 บาท ร่างของพรรคประชาธิปัตย์กับร่างของพรรคประชาชาติ จำคุกตลอดชีวิต อันนี้ยกเป็นตัวอย่าง ส่วนโทษประหารชีวิตจะไม่มีเข้ามา เพราะร่างกฎหมายนี้ประเทศไทยต้องมีสอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและก็อนุสัญญาคุ้มครองบุคคลที่สูญหาย อันนี้เป็นหลักการสากล จึงไม่ให้มีโทษประหารชีวิต และก็ตอนที่มีการแลกเปลี่ยนสัมมนากัน กระทรวงยุติธรรมก็ให้ความคุ้มครองในส่วนนี้ด้วย

 

 

"ประเด็นนี้ยังรองไปกว่า ถ้าเราพบการกระทำความผิดนั้นๆเกิดขึ้น ต้องมีการสอบสวนดำเนินคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลสูญหาย เช่น กรณีนี้ ก็มีการร้องเรียนมาที่กรรมการสิทธิฯ ในกรณีผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง กรณีคุณวันเฉลิม คุณสุรชัย แซ่ด่าน ที่เขามีการสูญหาย ร่างกฎหมายจะช่วย ถ้ามีการกระทำที่ว่า ถ้าคนนั้นถูกผลักออกไปนอกประเทศ และมีความเสี่ยงต่อชีวิต กฎหมายนี้จะคุ้มครองไม่ให้ถูกผลักออกไปนอกราชอาณาจักร และมันก็สามารถที่จะเข้าไปหาหลักฐานนั้นได้ ถ้ามีการกระทำบุคคลสูญหาย ไม่ว่าจะนอกราชอาณาจักรหรือในราชอาณาจักร" น.ส.ศยามล ระบุ

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ใครจะเป็นคนสอบนั้น ถ้าตำรวจนั้นเป็นผู้กระทำความผิด ก็จะเอาอัยการขึ้นไปสอบสวน และเอาที่เรียกว่าเจ้าหน้าที่ของดีเอสไอไปสอบสวน ก็จะมีเป็นลำดับขั้น ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องของการปฎิรูปการสอบสวน ที่มีการประชุมกันว่า ควรจะให้มีอัยการเข้าไปกำกับการสอบสวนตั้งแต่แรก เพราะฉะนั้นร่างกฎหมายนี้ก็เลยเขียนไว้ชัด ว่าถ้ามีการกระทำนี้ต้องเอาอัยการเข้าไปเลยหรือดีเอสไอเข้าไปสอบสวน จะไม่ให้กรณีว่าตำรวจกระทำผิดแล้วให้ตำรวจสอบสวน 

 

น.ส.ศยามล กล่าวด้วยว่า จะเป็นข้อดีของร่างกฎหมายที่จะมาช่วย อย่างกรณีการกระทำแบบผู้กำกับโจ้ ก็จะสอบสวนไปตามปกติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) แต่กฎหมายนี่้จะเข้ามาดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เรียกว่ามีการบังคับบุคคลสูญหาย หรือทรมาน อย่างในค่ายทหารอย่างนี้ ผู้เสียหายสามารถร้องขอให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปสอบสวนทันทีที่เป็นบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง

 

น.ส.ศยามล กล่าวด้วยว่า ในแต่ละปีมีการไปร้องกับกรรมการสิทธิมากมาย ถ้าเป็นด้านกระบวนการทางอาญา จะร้องเข้ามามาก โดยเฉพาะที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่มีการกระทำถูกควบคุมโดยทหาร ที่ร้องเข้ามามากแต่ต้องยอมรับเลยว่า กรรมการสิทธิฯ มีข้อจำกัดเพราะไม่ได้มีผู้เชี่ยวชาญในเชิงในการหาพยานทหาร ดังนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกับตำรวจหรือจากดีเอสไอในการเข้าไปสอบสวน แต่ถ้ามีร่างกฎหมายนี้เกิดขึ้น ผู้เสียหายเองหรือกรรมการสิทธิฯ ก็สามารถร้องขอคณะกรรมการตามร่างกฎหมายนี้ในการช่วยส่งผู้เชี่ยวชาญไปสอบสวนได้อย่างรวดเร็ว

logoline