svasdssvasds
เนชั่นทีวี

คอลัมนิสต์

"อุตสาหกรรมชุมชนท้องถิ่น"กับยุทธศาสตร์ชาติการแข่งขัน "พลเดช ปิ่นประทีป"

20 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การพัฒนาด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปอาหาร สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน 20 ราย 20 ผลิตภัณฑ์ ใน 10 จังหวัดภาคใต้ เป็น"อุตสาหกรรมชุมชนท้องถิ่น" สามารถทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 66 ต้นทุนลดลงร้อยละ 22 ติดตามได้ในเจาะประเด็น โดย "พลเดช ปิ่นประทีป"

 

อุตสาหกรรมและบริการ เป็นภาคการผลิตสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ที่ผ่านมาการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยมุ่งเน้นการผลิตเพื่อการส่งออก โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตและบริการขั้นพื้นฐานในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ 

 

ทำให้ภาคอุตสาหกรรมและบริการมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ทั้งในด้านมูลค่าการส่งออกและสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ จาก ๘.๕ ล้านล้านบาทในปี ๒๕๕๖(๘๘.๗%) เป็น ๙.๖ ล้านล้านบาทในปี ๒๕๖๐ (๙๑.๓%)

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาค 10  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งในด้านความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนานวัตกรรม การติดต่อสื่อสารและคมนาคมขนส่งที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการแข่งขันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ทำให้ไทยต้องปรับเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมและบริการ เข้าสู่การเป็นประเทศไทย ๔.๐ คือ การเปลี่ยนจากขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพ ไปเป็นการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปรับเปลี่ยนจากการให้บริการขั้นพื้นฐานไปสู่การบริการที่ต้องใช้ทักษะและเทคโนโลยีขั้นสูง  

 

ประกอบด้วยการต่อยอด ๕ อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ( first s-curve) คือ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่  อิเล็คทรอนิกส์อัจฉริยะ ท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี-ท่องเที่ยวสุขภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ แปรรูปอาหาร  กับการเติมอุตสาหกรรมอนาคต (new s-curve) คือ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร  ดิจิทัล เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมี การบินและโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมหุ่นยนต์

 

อีกหนึ่งตัวอย่าง อุตสาหกรรมชุมชนท้องถิ่น สุราษฎร์ธานี

 

ในแง่มุมของเศรษฐกิจฐานรากและ "อุตสาหกรรมชุมชนท้องถิ่น" คณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะและเร่งรัดการปฏิรูปฯ วุฒิสภา ได้ลงพื้นที่ไปติดตามงานของ"ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาค ๑๐" ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปลายเดือนเมษายน ท่านอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเดินทางลงไปต้อนรับและบรรยายสรุปด้วยตัวท่านเอง

 

ที่นั่น เขาจัดทำเป็นศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม ICT  มีห้อง Co-working Space  ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ห้องแสดงสินค้า มีเครื่องจักรกลแปรรูปเกษตรและสมุนไพร อาคารรับรองมาตรฐาน GMP  นอกจากนั้นในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ที่นี่ยังได้รับงบประมาณ ๕.๔ ล้านบาท สำหรับโครงการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมสมุนไพร มี ๔ กิจกรรมหลัก



๑.  กิจกรรมพัฒนาอาหารอัตลักษณ์ท้องถิ่น  พัฒนาด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปอาหาร สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน ๒๐ ราย ๒๐ ผลิตภัณฑ์ ใน ๑๐ จังหวัดภาคใต้  สามารถทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๖๖ ต้นทุนลดลงร้อยละ ๒๒  อาทิ น้ำพริกคั่วขมิ้น ผงโรยข้าวน้ำพริกปู ไซรัปสมุนไพรสูตรกระชายผสมน้ำผึ้ง ขนมครองแครงกรอบสมุนไพร กาแฟสมุนไพร แกงไตปลาแห้งสำเร็จรูป ซอสพริกไทยดำ เครื่องดื่มสมุนไพรพริกไทย

 

"อุตสาหกรรมชุมชนท้องถิ่น"กับยุทธศาสตร์ชาติการแข่งขัน "พลเดช ปิ่นประทีป"

๒.    กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และทดสอบตลาด  กลุ่มเป้าหมาย OTOP และวิสาหกิจชุมชน ๑๐ กิจการ  เช่น ท็อปกรีนเวอร์จินออยล์จากน้ำมันมะพร้าว สบู่ขมิ้น สมุนไพรพอกหน้าขาว ขิงขมิ้นผง สบู่มังคุดนมแพะ โลชั่นว่านหางจระเข้  ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๒๒๑  ปริมาณของเสียลดลง ร้อยละ ๒๐  มูลค่าผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ ๒๗๐ และค่าความคุ้มค่าวัตถุดิบสมุนไพร ร้อยละ ๑๑๓  นอกจากนั้นยังทำการทดสอบตลาดสินค้าในโครงการ ๑๐ ผลิตภัณฑ์ และสร้างแบรนด์ ๕ ผลิตภัณฑ์ มีทั้งกลุ่มเครื่องสำอางสมุนไพร ยาสมุนไพร และน้ำยาล้างจาน-ทำความสะอาดสมุนไพร

 

๓.    ฝึกอบรมบุคลากร อบรมการปลูกสมุนไพรที่เกี่ยวข้อง ๕๐ ราย สร้างความตระหนักถึงคุณค่าของการปลูกแบบอินทรีย์และปลอดภัย

 

๔.    พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ  กลุ่มเป้าหมาย SME ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ(สปา) ให้เป็นไปตามตามมาตรฐานสถานประกอบการยุค new normal 

 

สวนลุงสงค์  หมู่บ้านอุตสาหกรรมชุมชนเชิงสร้างสรรค์(Creative Industrial Village CIV)

 

สวนลุงสงค์ ศูนย์เรียนรู้การสกัดเย็นน้ำมันมะพร้าว

 

เมื่อรวมทั้งการไปเยี่ยมชมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรูปธรรมหลายแห่งในพื้นที่ เช่น วิสาหกิจชุมชนศาลาไทย ไปเยี่ยมชมสวนลุงสงค์  หมู่บ้านอุตสาหกรรมชุมชนเชิงสร้างสรรค์(Creative Industrial Village CIV) และบริษัทวิยะเครปโปรดักซ์(ปูคอนโด)  ก็ยิ่งเห็นศักยภาพและบทบาทของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของจังหวัดและการเสริมสร้างเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น เอาชนะความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่

 

ผลิตภัณฑ์ บริษัทวิยะเครปโปรดักซ์(ปูคอนโด) ที่พัฒนาสู่อุตสาหกรรม เสริมสร้างเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น

 

บริษัทวิยะเครปโปรดักซ์ (ปูคอนโด)
 

logoline