svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

“เนชั่นโพล”ย่านบางพลัด-ปชช. อยากให้นักการเมืองทำได้อย่างที่หาเสียง

28 เมษายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“เนชั่นโพล”ลงพื้นที่ครั้งที่ 2 ย่านบางพลัด เคาะถามตามบ้าน แม่นยำมาตรฐานสำนักงานสถิติแห่งชาติ สร้างความตื่นตัวเลือกตั้ง ขณะที่อุปสรรค คือ พื้นที่ห่างไกล สภาพอากาศ เสียงสะท้อนประชาชน ปัญหาเรื่องปากท้อง โดยเฉพาะค่าไฟ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น

วันที่ 28 เมษายน 2566 ผศ.ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น ผู้อำนวยการ “เนชั่นโพล” และผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พร้อมอาสาสมัคร ลงพื้นที่ย่านบางพลัดเพื่อใช้ในการทำผลสำรวจการเลือกตั้ง 2566 หรือ “เนชั่นโพล” โดยเป็นการสุ่มลงพื้นที่ตามบ้านประชาชน เพื่อนำไปประกอบผลโพลการเลือกตั้งที่จะถึงนี้

ผศ.ดร.เชษฐา เปิดเผยว่า การสำรวจเนชั่นโพลในครั้งที่ 2 นี้ มีการลงพื้นที่สำรวจ 400 เขตเลือกตั้ง โดยใช้อาสาสมัครลงพื้นที่ร่วมสำรวจทั่วประเทศกว่า 1,000 คน โดยใช้การลงพื้นที่เคาะประตูบ้านเพื่อสอบถามประชาชนตอบแบบสำรวจตามบ้าน ทำให้มีความน่าเชื่อถือมาก เพราะการลงพื้นที่ทำแบบสำรวจจะเป็นการเข้าไปหาผู้ตอบแบบสำรวจโดยตรง และใช้มาตรฐานเดียวกันกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ แตกต่างกับการทำแบบสำรวจแบบโทรศัพท์ หรือแบบออนไลน์ ที่เหมือนกับให้ประชาชนเข้ามาตอบโพล ซึ่งหากประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงออนไลน์หรือโทรศัพท์ก็ไม่สามารถเข้ามาตอบโพลได้ ทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องของประชากรที่เข้ามาตอบ ทำให้อาจจะมีค่าความผิดพลาดระดับหนึ่ง

“เนชั่นโพล”ย่านบางพลัด-ปชช. อยากให้นักการเมืองทำได้อย่างที่หาเสียง

ทั้งนี้เชื่อว่าการลงพื้นที่สำรวจโพล จะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นในการเลือกตั้ง เนื่องจากการลงพื้นที่สำรวจนอกจากการพูดคุยกับประชาชนที่สุ่มตัวอย่างหนึ่งบ้าน จะทำให้ประชาชนบ้านเรือนใกล้เคียงในชุมชนเห็น และได้รับรู้ถึงการทำกิจกรรมนี้ และทำให้เกิดการตื่นตัวในการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

ส่วนอุปสรรคในการทำโพล พบว่า พื้นที่ 400 เขตทั่วประเทศอุปสรรคจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลเช่นภูเขา ทำให้มีอุปสรรคในเรื่องของการเดินทาง แต่ความลำบากก็จะทำให้ผู้ที่ตอบแบบสำรวจมองเห็นว่าอาสาสมัครมีความตั้งใจ และเห็นคุณค่าว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้มีความสำคัญมาก และอาสาสมัครทุกคนก็มีความตั้งใจที่จะทำให้ผลโพลเนชั่นโพลครั้งที่ 2 ออกมามีความเที่ยงตรงมากที่สุด

“เนชั่นโพล”ย่านบางพลัด-ปชช. อยากให้นักการเมืองทำได้อย่างที่หาเสียง

ซึ่งภาพที่เห็นอยู่ตอนนี้คือหนึ่งในตัวอย่างของอุปสรรคการทำโพลอาสาสมัครเนชั่นโพลได้เจอ ซึ่งเป็นภาพขณะที่อาสาสมัครลงพื้นที่ที่จังหวัดลพบุรีและต้องพบเจอกับพายุฝน และภาพที่จังหวัดน่าน โดยเป็นภาพขณะที่อาสาสมัครต้องขับรถขึ้นไปบนภูเขาที่เป็นดินแดงเพื่อทำแบบสำรวจโพล

“เนชั่นโพล”ย่านบางพลัด-ปชช. อยากให้นักการเมืองทำได้อย่างที่หาเสียง

ด้าน นายกฤษฎา อาทรวิริยกุล หนึ่งในอาสาสมัครเนชั่นโพล เปิดเผยว่า พวกตนอยากเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมทำแบบสำรวจโพล เพื่อที่จะได้ถามความรู้สึกและสอบถามถึงปัญหาจริงของประชาชนที่ตอบแบบสำรวจ  ว่ามีปัญหาหรือต้องการที่จะให้ปรับปรุงเรื่องอะไร ซึ่งเมื่อได้มาร่วมเป็นอาสาสมัครรู้สึกตื่นเต้น และรู้สึกดีที่ได้มาร่วมเป็นกระบอกเสียงในการสะท้อนปัญหาให้กับประชาชน

อย่างไรก็ตาม จากการที่ทีมข่าวได้ร่วมลงพื้นที่กับอาสาสมัคร พบว่าประชาชนอยากให้นักการเมืองที่ตนเองเลือกเข้ามาทำงาน อยากให้ทำให้ได้อย่างที่หาเสียง ไม่อยากให้ทะเลาะกัน และส่วนใหญ่จะสะท้อนปัญหาต่างๆเรื่องปากท้อง โดยเฉพาะค่าไฟ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น

“เนชั่นโพล”ย่านบางพลัด-ปชช. อยากให้นักการเมืองทำได้อย่างที่หาเสียง
“เนชั่นโพล”ย่านบางพลัด-ปชช. อยากให้นักการเมืองทำได้อย่างที่หาเสียง

logoline