svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

"แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง" ลดความเสี่ยงเพิ่มโอกาส โดย พลเดช ปิ่นประทีป

22 กรกฎาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แนวคิดโครงการสะพานเศรษฐกิจ หรือ"แลนด์บริดจ์ ช่วงชุมพร-ระนอง" เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านความสามารถในการแข่งขันโดยเชื่อมต่อกับEEC ติดตามได้ในเจาะประเด็น โดยพลเดช ปิ่นประทีป

ในเมื่อผลการศึกษาจากหลายสถาบันชี้ออกมาในแนวเดียวกันว่า แนวคิดและข้อเสนอแผนการขุดคลองไทยมีความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกและภูมิภาค กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงได้ผุดแนวคิดโครงการสะพานเศรษฐกิจ หรือแลนด์บริดจ์ ช่วงชุมพร-ระนอง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เชื่อมสองฝั่งมหาสมุทรและระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านความสามารถในการแข่งขันโดยเชื่อมต่อกับEEC  

จะใช้รูปแบบการหาเอกชนมาร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บูรณาการการขนส่งทางท่อ(น้ำมัน) ทางบก(มอเตอร์เวย์) และทางราง(รถไฟทางคู่) ให้เชื่อมต่อกับ 2 ท่าเรือ 2 สนามบิน อย่างไร้รอยต่อ รวมทั้งทำแผนโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า เชื่อมโยงฐานการผลิตกับประตูส่งต่อสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC หรือตะวันออกกลาง ยุโรป 

\"แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง\" ลดความเสี่ยงเพิ่มโอกาส  โดย พลเดช ปิ่นประทีป

 

\"แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง\" ลดความเสี่ยงเพิ่มโอกาส  โดย พลเดช ปิ่นประทีป ทางเลือกเส้นทางการขนส่งสินค้า

จากการศึกษารูปแบบและปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของโลก พบว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลมีสัดส่วนมากถึง 80% หรือคิดเป็นปริมาณสินค้าเท่ากับ 11.1 พันล้านตัน โดยมีการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกามากถึง 1 ใน 4 ของทั้งโลก ประเภทสินค้าที่มากที่สุดคือการขนส่งสินค้าประเภทน้ำมัน (Tanker) 

อย่างไรก็ตามปริมาณการขนส่งสินค้าที่ผ่านช่องแคบมะละกาเพิ่มขึ้นทุกปี จนคาดว่าจะเต็มศักยภาพในไม่ช้า ดังนั้นจึงคาดการณ์เบื้องต้นว่าจะมีปริมาณสินค้าที่แบ่งส่วนเข้ามามากกว่า 20 ล้านทีอียู หรือเทียบเท่ากับท่าเรือฮ่องกง (อันดับที่ 8 ของโลก) การพัฒนาโครงการจึงต้องสามารถดึงดูดให้เรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่ และเรือขนส่งสินค้าหันมาใช้เส้นทางแลนด์บริดจ์แทน 

ประเด็นสำคัญประการหนึ่ง คือต้องหาตำแหน่งที่ตั้งท่าเรือของฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันที่เหมาะสมที่สุด

โดยการพิจารณาจากเกณฑ์ด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการลงทุน และด้านสังคม ที่สำคัญแนวเส้นทางเชื่อมต่อทั้ง 2 ท่าเรือต้องมีระยะทางที่สั้นและตรงที่สุด เพราะนอกจากจะประหยัดเวลาในการเดินทางมากที่สุดแล้ว ยังจะส่งผลต่อการลงทุนและผลตอบแทนที่จะดึงดูดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนพัฒนา

การก่อสร้างตามแนว MR 8

สำหรับตำแหน่งท่าเรือฝั่งอ่าวไทย จ.ชุมพร มีจุดเหมาะสม 2 ตำแหน่ง คือ บริเวณแหลมริ่ว และบริเวณแหลมคอเขา ส่วนท่าเรือฝั่งอันดามัน จ.ระนอง มีจุดเหมาะที่แหลมอ่าวอ่าง มีระบบขนถ่ายสินค้าแบบออโตเมชัน มีเส้นทางรถไฟและมีมอเตอร์เวย์และระบบท่ออยู่ด้านข้าง เชื่อมท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันกับอ่าวไทยเข้าด้วยกัน ตามแนวทาง MR 8 ระยะทาง 75-90 กิโลเมตร โดยใช้เวลาวิ่งไม่เกิน 2 ชั่วโมง 

ในโครงข่ายจะมีการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ ขนาด 6-8 ช่องจราจร ขนานกับทางรถไฟจำนวน 4 ทาง คือ ขนาด 1.435 เมตร (Standard gauge) 2 ทาง ขนาด 1 เมตร ( Meter gauge) 2 ทาง และมีถนนบริการขนาด 3 ช่องจราจรต่อทิศทาง เพื่อรองรับปริมาณรถทั้งจากทางหลวงสายหลักและถนนชนบทที่จะเข้าสู่ท่าเรือ

ด้วยประสบการณ์และบทเรียนรู้จากโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นำมาปรับปรุงให้มีปัญหาอุปสรรคน้อยที่สุด โดยโมเดลทางธุรกิจของ “แลนด์บริดจ์ “ จะรวมการลงทุนระบบโลจิสติกส์ทั้งหมดเป็นโครงการเดียวกัน ทั้งท่าเรือ มอเตอร์เวย์รถไฟ ระบบขนส่งทางท่อ ซึ่งจะเกิดความคุ้มค่าในการลงทุนและจูงใจในการร่วมประมูลมากขึ้น เปรียบเทียบเม็ดเงินลงทุนรวมของโครงการแลนด์บริดจ์น้อยกว่าโครงการรถไฟไทย-จีน แต่ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) ที่จะเกิดขึ้นกลับมากกว่า 

ในการประเมินต้นทุนค่าก่อสร้างในส่วนของท่าเรือฝั่งชุมพรและฝั่งระนอง และเส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือ “รถไฟ/มอเตอร์เวย์/ท่อ” คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 2-4 แสนล้านบาท ขึ้นอยู่กับจะเลือกแนวเส้นทางใด

\"แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง\" ลดความเสี่ยงเพิ่มโอกาส  โดย พลเดช ปิ่นประทีป

เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ

การพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์จะเกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทางตรงและทางอ้อมเป็นมูลค่ามหาศาล อีกทั้งจะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำ และสามารถเชื่อมต่อการขนส่งในภูมิภาคอาเซียน เอเชีย และยุโรปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เพราะไม่ต้องอ้อมไปยังช่องแคบมะละกา

โดยท่าเรือชุมพร ฝั่งอ่าวไทย ทำหน้าที่รองรับสินค้าจากจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้  ส่วนฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ผ่านท่าเรือน้ำลึกระนอง ประตูการค้าฝั่งอันดามัน ส่งต่อไปยังประเทศฝั่งมหาสมุทรอินเดีย กลุ่ม BIMSTEC เช่น เมียนมา อินเดีย เนปาล และบังกลาเทศ หรือประเทศอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาความเจริญต้องมาควบคู่กับรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยต้องพิจารณาผลกระทบด้านแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่อุทยาน อย่างรอบด้านและมีมาตรการเยียวยาหรือชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนและการเสียโอกาสทำกิน 

ส่วนท่าเรือทางฝั่งอันดามันต้องแก้ข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีพื้นที่ป่าสงวน ป่าชายเลน และอุทยานจำนวนมาก ตำแหน่งท่าเรือควรส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลของจังหวัดด้วย

logoline