svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท/วัน ทุบธุรกิจเสี่ยงเจ๊ง

08 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นโยบายขึ้นค่าจ้างมักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นนโยบายประชานิยมหาเสียงก่อนเลือกตั้งอยู่บ่อยครั้ง ล่าสุดพรรคเพื่อไทยชูนโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 600 บาทและเงินเดือนของผู้จบปริญญาตรีเริ่มต้น 25,000 บาท ภายในปี 2570 ขณะที่ฝั่งนายจ้างต่างประสานเสียงค้าน

ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สนั่น อังอุบลกุล ระบุ การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในช่วงที่ผ่านมา มีความเหมาะสมแล้ว โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มยังไม่ฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิดมากนัก ประกอบกับการขั้นค่าแรงขั้นต่ำมีการพิจารณาอย่างรอบด้าน ทั้งจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง หรือ ไตรภาคี โดยคำนึงถึงการครองชีพของลูกจ้าง รวมถึง อัตราเงินเฟ้อ ดัชนีค่าครองชีพ ราคาสินค้า

นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท/วัน ทุบธุรกิจเสี่ยงเจ๊ง

ทั้งนี้ การพิจารณาปรับค่าแรงจึงต้องมองในทุกมิติ ทั้งในมุมของนายจ้างและลูกจ้าง รวมถึงการคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายค่าจ้างของนายจ้างซึ่งมีผลต่อการจ้างงาน โดยรวมจากกรณีขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันเมื่อปี 2554 ที่ถึงแม้จะดำเนินการได้สำเร็จ แต่ต้องยอมรับว่าช่วงแรกโดยเฉพาะ SME ปรับตัวค่อนข้างลำบาก ส่วนธุรกิจหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่บางรายก็ปรับเป็นการย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นแทน

นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท/วัน ทุบธุรกิจเสี่ยงเจ๊ง

ขณะเดียวกันหากทยอยขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาทต่อวัน จากปัจจุบันที่ค่าแรงเฉลี่ยอยู่ที่ 328 – 354 บาทต่อวัน ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นการทยอยขึ้นก็จะทำให้ต้นทุนภาคธุรกิจปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 70% ทำให้ภาคธุรกิจอาจปรับตัวไม่ทัน

ด้านเสียงสะท้อนจากร้านขายอาหารที่มีลูกจ้างมากกว่า 20 คนบอกว่าจากสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้นทุนต่างๆ ทั้งวัตถุดิบ แก๊สหุงต้ม น้ำมัน ราคาปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากต้องขึ้นค่าแรงให้กับลูกจ้างในร้านเกือบเท่าตัวเป็นภาระที่หนักขึ้นมาก ไม่รู้ว่าร้านค้าจะอยู่ได้นานแค่ไหนหรืออาจถึงขั้นต้องปิดกิจการ

 

สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปัจจุบันซึ่งประกาศใช้เมื่อวัน 1 ตุลาคม 2565  มี 9 อัตรา ปรับขึ้นสูงสุด 354 บาท ต่ำสุดอยู่ที่ 328 บาท ส่วนกรุงเทพและปริมณฑลอยู่ที่ 353 บาท

logoline