svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"หมอดื้อ" อัปเดต 9 ข้อ "ฝีดาษลิง" ยุค 2022 อาการแบบไหน ป้องกันอย่างไร?

01 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอดื้อ หรือ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ อัปเดตอาการ "ฝีดาษลิง" ปี 2022 ใน 9 ข้อสำคัญ มีอาการเปลี่ยนไปอย่างไร กลุ่มเสี่ยงมีใครบ้าง แนวทางการป้องกัน รวมทั้งการปฏิบัติตัวหากติดเชื้อ

1 สิงหาคม 2565 ประเทศไทยพบผู้ป่วย “ฝีดาษลิง” รายที่สอง สร้างความวิตกกังวลให้ประชาชน ล่าสุด "หมอดื้อ" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ หมอธีระวัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” อัปเดตอาการของ "ฝีดาษลิง" ที่เปลี่ยนแปลงไปในปี 2022 มีเนื้อหาดังนี้..

 

"หมอดื้อ" อัปเดต 9 ข้อ "ฝีดาษลิง" ยุค 2022 อาการแบบไหน ป้องกันอย่างไร?

 

ประเด็นสำคัญของ ฝีดาษลิง ที่เปลี่ยนใหม่ 2022.

ห้ามตื่นตระหนก ติดต่อเมื่อมีการสัมผัสใกล้ชิดจริงๆอยู่ด้วยกันนาน 

เดินผ่านกัน นั่งห่างกัน ไม่ได้ติดง่ายแบบโควิด

ทางการกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค (คร.) กรมวิทย์ฯ มีเครือข่ายประสาน ห้องปฏิบัติการทั่วประเทศ ทั้งที่โรงพยาบาล โรงเรียนแพทย์ และศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ก็อยู่ในเครือข่าย ร่วมมือกัน

 

1. ไม่เป็นไปตามตำรา ในเรื่องของลักษณะอาการ ผื่นตุ่มแผลที่ผิวหนัง และอาการนำ (ไม่ไปตาม traditional symptom sequence และ lesion evolution)

 

2. ทั้งนี้อาการเริ่มต้นเป็นผื่นแผลตุ่ม โดยที่ ทั่วไป ยังรู้สึกสบายดีได้ และขณะนั้น “แพร่เชื้อได้แล้ว”
 

3. ไม่จำเป็นต้องเริ่มตามลำดับ จากผื่นราบ นูน ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง แผลแตก สะเก็ด แต่กลับมี หลายแบบ ลักษณะ ในขณะเดียวกัน (polymorphic)

 

4. ผื่นตุ่มแผล เกิดในร่างกายตำแหน่งเดียวได้ ในที่ซ่อนเร้น โดยกระจายหรือไม่กระจายต่อได้ 

  • ที่ซ่อนเร้น เช่น อวัยวะเพศ บริเวณทวารหนัก ในปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้นต่อมทอนซิล ผนังลำคอด้านหลัง เป็นตุ่ม แผลเยื่อบุตา

 

"หมอดื้อ" อัปเดต 9 ข้อ "ฝีดาษลิง" ยุค 2022 อาการแบบไหน ป้องกันอย่างไร?
 

5. อาการเฉพาะที่

  • ปวดในทวาร ปวดเวลาถ่ายอุจจาระ 36%
  • เจ็บคอ 16.8%
  • องคชาตบวม 15.7%
  • ตุ่มแผลในปากคอ กระพุ้งแก้ม 13.7%
  • ต่อมทอนซิลอักเสบบวมแดง บวมมีหนอง จนถึงฝี 4.6%

 

6. อาการทางร่างกายคือความรู้สึกไม่สบาย ไข้หรือไม่มีใข้ ปวดเมื่อย ปวดหัวปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต ทั้งนี้ อาจไม่
เป็น “อาการนำ”  เป็น “อาการตามหลังผื่นตุ่มแผล” และ “ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่าง”

"หมอดื้อ" อัปเดต 9 ข้อ "ฝีดาษลิง" ยุค 2022 อาการแบบไหน ป้องกันอย่างไร?

 

7. การแพร่เชื้อเริ่มได้ตั้งแต่มีอาการทางร่างกายหรือมีแต่อาการทางผิวหนัง เยื่อบุเฉพาะที่ 

  • ละอองฝอย ไอจาม พูด น้ำลาย
  • การสัมผัสใกล้ชิดกัน เนื้อแนบเนื้อ (skin to skin)
  • หน้าแนบหน้า  (face to face) ขณะนวด จูบ เลีย
  • สัมผัสผิว ตุ่ม ผื่นและเอาไปเข้าตาและเยี่อบุ และแผลในร่างกาย
  • เช่นการมีเพศสัมพันธ์และระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้อุปกรณ์ Sex toy ร่วม
  • เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ผ้าปูที่นอน

ไวรัสตกค้างที่พื้นผิวติดได้ 15 วัน

 

8. ใครเสี่ยง?

  • เด็กอายุน้อยกว่าแปดขวบ
  • คนท้อง
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • มีโรคผิวหนังอยู่แล้ว เช่น eczema โรคผิวหนัง ตุ่มพุพองตกสะเก็ดคันแสบ รวมสะเก็ดเงิน

 

9. ใครเมื่อเป็นแล้วต้องระวังอาการหนัก?

  • ตุ่มแผลที่บริเวณเยี่อบุตา
  • ผื่นตุ่มที่แผ่ไปทั่วตัว
  • ตุ่มที่รวมเป็นกระจุก เป็นแพ
  • มีตกเลือดในบริเวณผื่นตุ่ม แผล
  • อาการไข้และอาการทางร่างกายหนักขึ้น รวมทั้ง หายใจเหนื่อย
  • (ปอด หัวใจ ไต) และเริ่มล้าคิดอะไรไม่ออก (สมอง)

 

เราสามารถป้องกันได้ และถ้าเป็นผู้สัมผัสไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลทุกรายได้ (ขึ้นกับนโยบาย ของประเทศ) โดย ถ้า
สามารถกักตัว 21 วัน มีการรายงานเป็นระยะ

 

แม้ติด (ในต่างประเทศ) ถ้าอาการไม่หนัก ให้กักตัว แยกตัว ใส่เสื้อแขนยาว ขายาว ถ้ามีสัตว์เลี้ยงที่ต้องดูแล ใส่ถุงมือ
หลีกเลี่ยงการสัมผัส กอดจูบ สัตว๋เลี้ยง ยังไม่ชัด กรณีจากคนไปสู่หมาแมว

 

ข้อมูลจาก data sources เช่น UK health security agency US CDC วารสาร นิวอิงแลนด์ BMJ San Francisco
public health เป็นต้น


รายละเอียดเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้และต้องติดตามเป็นระยะ

logoline