svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

“ดร.อนันต์” ไขคำตอบ ไทยพบ“ผู้ป่วยฝีดาษลิง”รายที่สอง จริงหรือไม่?

28 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดร.อนันต์ เผยข้อมูลจากการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัส เป็นไปได้สูงมากว่า ผู้ป่วยรายที่ 2 อาจได้รับเชื้อฝีดาษลิงมาจากชายชาวไนจีเรียรายแรก ซ้ำยังไม่ใช่สายพันธุ์ B.1 ที่เป็นสายพันธุ์หลักของโลกตอนนี้ ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่

28 กรกฎาคม 2565 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา และผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)  โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เมื่อเวลา 09.46 น. หัวเรื่อง "ผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่สองของไทย?" มีรายละเอียดระบุว่า..

 

ไวรัสฝีดาษลิง ที่ตรวจพบในประเทศไทยตอนนี้เป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม A.2 ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างในยุโรปและอเมริกาซึ่งเป็นกลุ่ม B.1 (สีเหลือง) ไวรัสใน 2 กลุ่มนี้มีความแตกต่างกันไม่มากในภาพรวม แต่มากพอที่จะแยกจากกันเป็นกลุ่มที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นกำเนิดของไวรัสที่ระบาดในประชากรมนุษย์ เชื่อว่ามาจาก 2 แหล่งที่แตกต่างกัน และ เนื่องจาก A.1 ใกล้เคียงกับสายพันธุ์เก่ามากกว่าจึงทำให้เชื่อว่าไวรัสฝีดาษลิงอาจจะอยู่ในประชากรมนุษย์มาสักพักนึงแล้วก่อนที่จะมีการระบาดอย่างเห็นได้ชัดของกลุ่ม B.1 ในตอนนี้ สำหรับความแตกต่างของอาการของโรค หรือ ความรุนแรงระหว่าง A.2 กับ B.1 ยังไม่มีข้อมูลแบ่งแยกออกมาชัดเจน
 

“ดร.อนันต์” ไขคำตอบ ไทยพบ“ผู้ป่วยฝีดาษลิง”รายที่สอง จริงหรือไม่?

ถ้าดูจากข้อมูลของ A.2 ในฐานข้อมูลจะเห็นว่า A.2 ไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มมากเท่ากับ B.1 อาจจะเป็นเพราะไวรัสในกลุ่ม A.2 ยังมีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับไวรัสที่ระบาดหนักในตอนนี้ ข้อมูลนี้ชี้ว่าไวรัสในประเทศไทยพบแล้วในผู้ป่วย 2 ราย สายพันธุ์แรกคือจากชายชาวไนจีเรีย (Phuket-74) และ อีกตัวอย่างหนึ่งมาจากผู้ป่วยอีกรายที่ถอดรหัสที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-ID220016-FTV) โดยไวรัสสองตัวอย่างมีความใกล้เคียงกันมาก และ มากกว่าสายพันธุ์ A.2 ที่ไปพบในอินเดีย และ สหรัฐอเมริกา เป็นไปได้สูงมากว่า ผู้ป่วยรายที่ 2 ได้รับเชื้อฝีดาษลิงมาจากชายชาวไนจีเรียรายแรก และ ยังไม่ใช่สายพันธุ์ B.1 ที่เป็นสายพันธุ์หลักของโลกตอนนี้

 

ป.ล. เนื่องจาก A.2 มาก่อนหลายปี แต่มีผู้ป่วยน้อยกว่า B.1 มาก เลยแอบตั้งสมมติฐานว่า ไวรัส A.2 อาจจะมีคุณสมบัติการแพร่กระจายน้อยกว่า B.1 ซึ่งการที่ยังไม่พบ B.1 ในประเทศไทยอาจจะเป็นข่าวดีอยู่นิดๆครับ

 

“ดร.อนันต์” ไขคำตอบ ไทยพบ“ผู้ป่วยฝีดาษลิง”รายที่สอง จริงหรือไม่?

 

“ดร.อนันต์” ไขคำตอบ ไทยพบ“ผู้ป่วยฝีดาษลิง”รายที่สอง จริงหรือไม่?

อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 12.28 น. วันนี้ (28 ก.ค.) ดร.อนันต์ ได้โพสต์ข้อความเพิ่มเติมว่า 

 

" ตัวอย่าง ฝีดาษลิง รายที่สองในประเทศไทย น่าจะเป็นตัวอย่างจากผู้ป่วยไนจีเรียคนเดิมครับ แต่ตั้งชื่อไวรัสต่างกัน "

 

“ดร.อนันต์” ไขคำตอบ ไทยพบ“ผู้ป่วยฝีดาษลิง”รายที่สอง จริงหรือไม่?

 

 

ต่อมา เมื่อเวลา 12.59 น. วันนี้ (28 กรกฎาคม) ดร.อนันต์ โพสต์รายละเอียดเพิ่มเติมถึงการถอดรหัสฝีดาษลิง 2 ตัวอย่าง ระบุว่า
 

ฐานข้อมูล GISAID ระบุว่ามีการถอดรหัสตัวอย่างไวรัสฝีดาษลิง 2 ตัวอย่าง ซึ่งมีนักวิจัยต่างประเทศนำไปวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมระบุว่าเป็นไวรัส 2 สายพันธุ์ที่ต่างกัน เนื่องจากมีความแตกต่างในตัวรหัสพันธุกรรมในบางตำแหน่ง ทำให้เข้าใจว่ามาจากตัวอย่างของผู้ป่วยคนละคนกัน แต่พอดูรายละเอียดของตัวอย่างที่ระบุไว้ พบว่า น่าจะมาจากผู้ป่วยรายเดียวกัน คือ ชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี โดยรหัสพันธุกรรมแรกตั้งชื่อไวรัสว่า hMpxV/Thailand/NIC_Phuket 74/2022 เป็นตัวอย่างที่มาจากการ swab คอ และ ตัวอย่างที่ 2 ตั้งชื่อไวรัสว่า hMpxV/Thailand/CU-ID220016-FTV/2022 เป็นตัวอย่างที่มาจากตุ่มแผล

 

สรุปคือ ข้อมูลยังไม่มีตัวอย่างของผู้ป่วยรายที่ 2 ตามที่มีคนวิเคราะห์มานะครับ แต่เป็นการสับสนจากชื่อที่ใช้ไม่ตรงกัน...ต้องขออภัยในความสับสนดังกล่าวด้วยครับ

 

“ดร.อนันต์” ไขคำตอบ ไทยพบ“ผู้ป่วยฝีดาษลิง”รายที่สอง จริงหรือไม่? “ดร.อนันต์” ไขคำตอบ ไทยพบ“ผู้ป่วยฝีดาษลิง”รายที่สอง จริงหรือไม่? “ดร.อนันต์” ไขคำตอบ ไทยพบ“ผู้ป่วยฝีดาษลิง”รายที่สอง จริงหรือไม่?

logoline