svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

เมียนมาไม่สนเสรีภาพสื่อ สั่งตัวแทนไล่ล่าสังหารยกครัว

04 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เมื่อวานนี้วันที่ 3 พ.ค.เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก แต่ชีวิตของสื่อมวลชนเมียนมายังแขวนอยู่บนเส้นด้าย และล่าสุดกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลออกไล่ล่าและขู่สังหารครอบครัวของสื่อที่เสนอรายงานสร้างความเสียหายต่อรัฐบาลทหาร

ในขณะที่ท้่วโลกร่วมสนับสนุนเสรีภาพสื่อเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก (World Press Freedom Day) ที่ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม ของทุกปี แต่สำหรับสื่อเมียนมาชีวิตของพวกเขายังคงแขวนอยู่บนเส้นด้าย และล่าสุดได้มีกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลทหารออกไล่ล่าและขู่จะสังหารครอบครัวสื่อ ที่เสนอรายงานที่รัฐบาลทหารมองว่า "สร้างความเสียหายแก่รัฐ"

 

มีกลุ่มติดอาวุธที่สนับสนุนรัฐบาลทหารเมียนมา และออกมาอ้างความรับผิดชอบการสังหารสมาชิกพรรคการเมืองที่ต่อต้านเผด็จการ ได้แสดงท่าทีอันตรายหนักขึ้นด้วยการขู่จะส้งหารผู้สื่อข่าวและครอบครัว ที่เสนอข่าวที่รัฐบาลทหารมองว่า "สร้างความเสียหายแก่รัฐ" โดยกลุ่มนี้ที่ใช้ชื่อว่า "ธเว ต็อก" หรือ "สหายร่วมสายเลือด" (Blood Comrades) ได้โพสต์ลงโซเชียลมีเดียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เรียกร้องให้ผู้ร่วมอุดมการณ์สังหารผู้สื่อข่าวหรือบรรณาธิการข่าวของสื่อดัง รวมทั้งอิระวดี (The Irrawaddy), มิซซิมา (Mizzima) , Democratic Voice of Burma และอิรวดี ไทม์ส (The Irrawaddy Times) และคำขู่ยังลามไปถึงครอบคร้วของพวกเขาด้วย

 

ภาพ : Irrawaddy

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วพบศพสมาชิก 8 คน ของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของนางอองซาน ซูจี และผู้นำสนับสนุนถูกฆาตกรรมอย่างทารุณ โดยบัตรหรือสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มถูกทิ้งไว้บนศพด้วย ผู้สื่อข่าวคนหนึ่งที่ถูกขึ้นบัญชีดำด้วยบอกว่า เชื่อว่ากลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับรัฐบาลทหารเพราะเหยื่อถูกพาตัวขึ้นรถตำรวจหรือทหาร ก่อนที่รถคันเดิมจะนำศพมาทิ้งไว้ 

 

กลุ่มผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders) ที่มีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีสของฝรั่งเศส ได้ออกรายงานล่าสุดว่าเสรีภาพสื่อในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ "เสื่อมโทรมลงอย่างมาก" โดยเฉพาะการปราบปรามสื่อในฮ่องกง จนถึงการรัฐประหารในเมียนมาเมื่อปี 2564 ที่ถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่โดดเด่นของการลดทอนสิทธิเสรีภาพของสื่อ

 

เมียนมาไม่สนเสรีภาพสื่อ สั่งตัวแทนไล่ล่าสังหารยกครัว

สำหรับประเทศและดินแดนที่ได้ชื่อว่าให้เสรีภาพสื่อน้อยที่สุด อันดับ 1 คือ เกาหลีเหนือ 2. เมียนมา 3. จีน  4. เวียดนาม 5. ลาว 6. ฮ่องกง 7. กัมพูชา และ 8. ไต้หวัน ส่วนประเทศที่ให้เสรีภาพสื่อมากที่สุด อันดับ 1. คือ นอร์เวย์ 2. เดนมาร์ก 3. สวีเดน 4. เอสโตเนีย 5. ฟินแลนด์ ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 115 มีคะแนนเพิ่มขึ้น 22 คะแนน ซี่งในรายงานระบุว่า วิสัยทัศน์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มีต่อสื่อคือ "ผู้สื่อข่าวควรจะมีบทบาทหลัก ในการสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล" ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงสถานะของสื่อไทยเป็นอย่างดี

 

ประเทศที่ให้เสรีภาพสื่อน้อยที่สุด

 

ประเทศที่ให้เสรีภาพสื่อมากที่สุด - ไทย

 

ส่วนเมียนมาล่าสุดยังตัดสินจำคุกรัฐมนตรี 14 คน ของรัฐบาลพลเรือนที่ถูกโค่นอำนาจ โดยเป็นการ "ยัดข้อหา" คอร์รัปชัน ซึ่งนับตั้งแต่ถูกยึดอำนาจเมื่อ 15 เดือนก่อน บรรดาแกนนำพรรค NLD และรัฐมนตรี ถูกเล่นงานไปมากถึง 64 คนแล้ว

 

เมียนมาไม่สนเสรีภาพสื่อ สั่งตัวแทนไล่ล่าสังหารยกครัว

logoline