svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ. แนะ กทม. เตรียมพร้อมสู่ "โรคประจำถิ่น" เหตุสถานการณ์โควิดดีขึ้น

03 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แนะ กรุงเทพมหานคร เตรียมความพร้อมปรับการรับมือโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น หลังพบสถานการณ์แพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย พบผู้ป่วยลดลง

2 พฤษภาคม 2565 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย พญ.ปฐมพร ศิรประภาศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงสาธารณสุข และผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 13 นพ.ภูวเดช สุระโคตร ผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมหารือกับ พญ.ป่านฤดี  มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และคณะ เกี่ยวกับแนวทางการเตรียมความพร้อมพื้นที่กรุงเทพมหานครให้รับมือโรคโควิด-19 ตามแนวทางการขับเคลื่อนบริหารจัดการโรคโควิด-19 แบบโรคประจำถิ่น (Endemic approach)

 

สาธารณะสุข แนะ กทม. เตรียมพร้อมสู่ "โรคประจำถิ่น"

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของประเทศไทยเริ่มคลี่คลายมากขึ้น หลายจังหวัดมีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้ป่วยหนักและผู้เสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมการรองรับสถานการณ์ตามแนวทาง 2U 3พอ ได้แก่ Universal Prevention ใช้การป้องกันตนเองขั้นสูงสุดต่อเนื่อง, Universal Vaccination ฉีดวัคซีนโควิด- 19 ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม, มีเตียงเพียงพอสำหรับผู้ป่วยโควิด, มียาและวัคซีนฉีดเพียงพอให้ประชาชน และมีบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยเพียงพอ

 

สาธารณะสุข แนะ กทม. เตรียมพร้อมสู่ "โรคประจำถิ่น"

สำหรับกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดหนึ่งที่สถานการณ์ดีขึ้นเช่นกัน ผู้ที่ตรวจพบว่าติดเชื้อได้รับการดูแลรักษาที่บ้าน (Home Isolation) และแบบผู้ป่วยนอก “เจอ แจก จบ” ขณะที่การฉีดวัคซีนมีความครอบคลุมสูง คือ เข็ม 1 และเข็ม 2 ได้เกิน 100% ส่วนเข็มกระตุ้นหรือเข็ม 3 มีความครอบคลุมมากกว่า 60% สามารถเดินหน้าเข้าสู่การเป็นจังหวัดที่บริหารจัดการโรคโควิด-19 แบบโรคประจำถิ่น (Endemic Sandbox) ได้แนะนำให้มุ่งเน้นการจัดการในพื้นที่สำคัญ เช่น สวนสาธารณะ ที่มีคนจำนวนมาก กิจการที่มีความเสี่ยง เช่น ผับ บาร์ รวมถึงขนส่งสาธารณะต่าง ๆ โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกระดับการผ่อนคลายอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ประชาชนค่อยๆ ปรับตัว และการเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น 

 

สาธารณะสุข แนะ กทม. เตรียมพร้อมสู่ "โรคประจำถิ่น"

logoline