svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

“หมอประสิทธิ์” ย้ำ โควิด-19 ยังไม่ใช่ช่วงเวลา การก้าวเป็น “โรคประจำถิ่น”

25 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"หมอประสิทธิ" เผย องค์การอนามัยโลก ย้ำเตือน โควิด-19 ยังไม่ใช่โรคประจำถิ่นสั่งเฝ้าระวังการกลายพันธุ์และแพร่ระบาดระลอกใหม่

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดและการคาดการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ผ่านทางเพจเฟซบุ๊กของมหาวิทยาลัยมหิดล

ทาง นพ.ประสิทธิ์ เปิดเผยว่า สายพันธุ์ของโควิด-19 ที่ยังครองโลกของเราในขณะนี้ คือ "สายพันธุ์โอมิครอน" เป็นหลัก รองลงมา คือ "สายพันธุ์เดลต้า" ซึ่งมีหลงเหลือเพียงเล็กน้อยเพียงเท่านั้น

“หมอประสิทธิ์” ย้ำ โควิด-19 ยังไม่ใช่ช่วงเวลา การก้าวเป็น “โรคประจำถิ่น”

จากข้อมูล 2 วันที่ผ่านมา มียอดผู้ติดเชื้อถึง 500 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้แบ่งการระบาดของทั่วโลกออกเป็น 6 ทวีป พบว่า "ทวีปยุโรป" เป็นทวีปที่มีการแพร่ระบาดสูงที่สุด รองลงมา คือ "แอฟริกา" และ "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

ในส่วนของยุโรปนั้น ในขณะนี้ถือว่าเลยจุดการแพร่ระบาดสูงสุดไปแล้ว สำหรับสายพันธุ์โอมิครอน เช่นเดียวกับทวีปอเมริกา ที่มีอัตราการแพร่ระบาดลดลงอย่างรวดเร็ว 

 

ส่วนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น การระบาดอยู่ในช่วงขาลงเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าหากสรุปในขณะนี้ พบว่าการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนทั่วโลก มีแนวโน้มที่อยู่ในช่วงขาลง หลายๆ พื้นที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

แต่สำหรับสายพันธุ์โอมิครอน ยังคงมีสายพันธุ์ย่อยออกมาอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังคงต้องติดตามในส่วนของสายพันธุ์ย่อยที่ออกมา เช่น สายพันธุ์เอ็กซ์อี (XE) ที่มีความรวดเร็วในการแพร่กระจายมากกว่าเดิมร้อยละ 10 แต่จะไม่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

 

“หมอประสิทธิ์” ย้ำ โควิด-19 ยังไม่ใช่ช่วงเวลา การก้าวเป็น “โรคประจำถิ่น”

 

ขณะที่แนวโน้มของการเป็นโรคประจำถิ่นนั้น สถานการณ์ในเวลานี้การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศในขณะนี้ ยังไม่เข้าข่ายของการเป็นโรคประจำถิ่น เนื่องจากยังมีโอกาสที่จะกลับมาเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ได้อีก

 

ส่วนการเปิดเทอมของเด็กนักเรียนในปี 2565 นี้เชื่อว่าไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดในกลุ่มนักเรียนได้ เพราะในเด็กนั้นยังคงมีการระมัดระวังป้องกันการแพร่ระบาดได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก ดังนั้นจึงต้องเร่งให้เด็กนักเรียนได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งในขณะนี้มีการฉีดวัคซีนในเด็กไปได้เพียงครึ่งหนึ่งเพียงเท่านั้น สำหรับเข็มหนึ่ง ซึ่งยังถือว่ายังห่างไกลกับเข็ม 2 

ที่ผ่านมามีการค้นพบกลุ่มอาการในเด็กที่ติดโควิด-19 และเกิดภาวะการอักเสบขึ้นในหลายๆ อวัยวะ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองจะต้องนำเด็กเข้ารับการฉีดวัคซีน 

 

และวัคซีนที่ประเทศไทยมี ในขณะนี้ ก็ถือว่ามีความปลอดภัยมากเพียงพอ ซึ่งการเรียนทางไกลถือว่าไม่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน และแม้โอกาสการป้องกันการติดเชื้อจะค่อนข้างยากในเด็ก ทำให้การฉีดวัคซีนถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่จะต้องดำเนินการก่อนการเปิดภาคเรียนที่จะถึงนี้

 

ประเด็นการยกเลิก Test & Go ถือว่า ยังคงมีความน่ากังวลใจ แต่การยกเลิก Test & Go ก็ยังมีเงื่อนไขที่จะไม่มีการ test นักท่องเที่ยวที่มีการฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม ซึ่งต้องไม่เกิน 3 เดือนอีกด้วย ซึ่งทำให้โอกาสที่จะกระจายเชื้อเป็นไปได้น้อย แต่ในกรณีที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบหรือไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ก็ยังคงต้องได้รับการ Test & Go หรือเข้ารับการ qualantine เช่นเดิม

 

หาก รัฐบาล ดำเนินการอย่างเข้มงวดและเคร่งครัด ก็จะสามารถควบคุมการแพร่ระบาด จากการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้ ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดในเวลานี้ พบว่าการติดเชื้อจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ถือว่ามีสัดส่วนน้อยกว่าการติดเชื้อภายในครอบครัวของทุกคนภายในประเทศ ซึ่งเชื่อว่าหากใช้ระยะเวลาเพียง 1 เดือน ก็จะสามารถทราบผลว่าออกไปในแนวทิศทางใด

“หมอประสิทธิ์” ย้ำ โควิด-19 ยังไม่ใช่ช่วงเวลา การก้าวเป็น “โรคประจำถิ่น”

ท้ายที่สุด การป้องกันความเสียหายจากโควิด-19 คือลดโอกาสการติดเชื้อ การแพร่ระบาด และลดความรุนแรงการเสียชีวิตเมื่อเกิดการติดเชื้อ ซึ่งวิธีที่สุดในเวลานี้คือการฉีดวัคซีน 2 เข็มและเข็มกระตุ้น ร่วมกับการใส่หน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลเช่นเดิม ร่วมกับการตรวจ ATK เป็นประจำ 

 

ส่วนการรักษาสายพันธุ์โอมิครอนนั้น จะไม่เน้นการรับรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงต่อความรุนแรง เพื่อให้เตียงโรงพยาบาลว่าง และดูแลรักษาผู้ป่วยที่เจ็บป่วยจากโรคอื่นๆ ที่จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษา 

 

การติดเชื้อโควิค-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นของแต่ละประเทศไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยการบริหารจัดการ จำนวนประชากรที่ได้รับวัคซีนเพียงพอ รวมไปถึงศักยภาพของระบบการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ที่จะถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้แต่ละประเทศเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นได้เร็วหรือช้า

 

สุดท้าย องค์การอนามัยโลกได้มีการออกมาเตือนว่าโควิด-19 ยังไม่เข้าสู่สถานการณ์ของการเป็นโรคประจำท้องถิ่น แม้จะมีแนวโน้มพุ่งไปสู่การเป็นโรคประจำถิ่นก็ตาม และอาจจะเกิดการกลายพันธุ์ และการระบาดใหญ่ได้อีกครั้งหนึ่ง

 

“หมอประสิทธิ์” ย้ำ โควิด-19 ยังไม่ใช่ช่วงเวลา การก้าวเป็น “โรคประจำถิ่น” “หมอประสิทธิ์” ย้ำ โควิด-19 ยังไม่ใช่ช่วงเวลา การก้าวเป็น “โรคประจำถิ่น” “หมอประสิทธิ์” ย้ำ โควิด-19 ยังไม่ใช่ช่วงเวลา การก้าวเป็น “โรคประจำถิ่น”

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก Mahidol University

 

logoline