svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

"เกษตรไทย"จะไปไกลถึง"ครัวโลก"แต่ให้งบคุมมาตรฐานแค่หยิบมือ โดยขุนเกษตร

27 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เกษตรแสนล้าน แต่งบ GAP แค่หยิบมือ เมื่อเกษตรไทยจะเป็นครัวโลก แต่งบในการทำมาตรฐานน้อยจนน่าตกใจ โดย "ขุนเกษตร"

 

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต และส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลก  กระบวนการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เพื่อให้ผลผลิตได้มาตรฐานปลอดภัย และคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) 

"เกษตรไทย"จะไปไกลถึง"ครัวโลก"แต่ให้งบคุมมาตรฐานแค่หยิบมือ โดยขุนเกษตร

GAP เป็นระบบที่ป้องกันหรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นในสินค้าเกษตรและอาหาร เป็นมาตรฐานสากลที่สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค และเป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่ง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค

 

 

ปัจจุบัน GAP เป็นเพียงแนวปฏิบัติที่ทำด้วยความสมัครใจ ไม่ได้กำหนดเป็นมาตรฐานภาคบังคับขั้นต่ำ แต่ GAP เป็น “เกษตรปลอดภัย” ที่สามารถนำไทยสู่การเป็นครัวโลกได้

"เกษตรไทย"จะไปไกลถึง"ครัวโลก"แต่ให้งบคุมมาตรฐานแค่หยิบมือ โดยขุนเกษตร

"ขุนเกษตร" ส่องไฟฉายไปที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะต้นทางการผลิตสินค้าเกษตร หากจับโฟกัสไปที่การส่งเสริมเกษตรกรทำ GAP แล้วบอกได้เลยว่า “ว้าเหว่” และเมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่เกษตรปลอดภัยอันเป็นฐานรากให้กับภาคเกษตรส่งออกในเวลานี้ แต่ต่างกันระหว่าฟ้ากับเหวเมื่อเทียบกันแนวคิดการส่งเสริม "เกษตรอินทรีย์"

 

มีข้อมูลตัวเลขการส่งออกปี 2564 โดยตั้งแต่มกราคม-พฤศจิกายน ไทยส่งออกผลไม้ 7 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ และมะม่วง 1,992,751 ตัน มูลค่า 165,624 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.75% เทียบกับปี 2563 ที่ส่งออก 1,718,228 ตัน มูลค่า 117,673 ล้านบาท 

 

สำหรับทุเรียนส่งออก 903,700 ตัน ปริมาณเพิ่มขึ้น 38.29% มูลค่า 115,459 ล้านบาท เติบโต 59.11% เทียบกับปี 2563 ส่งออก 653,476 ตัน มูลค่า 72,566 ล้านบาท 

 

"เกษตรไทย"จะไปไกลถึง"ครัวโลก"แต่ให้งบคุมมาตรฐานแค่หยิบมือ โดยขุนเกษตร

 

ตัวเลขเหล่านี้คือ รายได้ที่เกิดจากเกษตร GAP 
หากนำไปเปรียบเทียบกับรายได้ที่เกิดจากเกษตรอินทรีย์แล้วห่างกันราวฟ้ากับเหว 

 

ปี 2563 เป็นปีงบประมาณด้าน GAP ถูกตัดเยอะที่สุด และกระทบกับหน้างานในการรับรองแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ จันทบุรี ระยอง ตราด แหล่งปลูกทุเรียนสำคัญของประเทศ ในปีนั้นเกิดการรวมตัวของเกษตรกรจัดทำผ้าป่าเพื่อให้เจ้าหน้าที่ใน สว.พ.6 ออกตรวจและออกใบรับรอง GAP ให้กับเกษตรกร เด็ดกว่านั้นมีนักการเมืองระดับบิ๊กเนมไปหาเสียงกับชาวบ้านว่าจะจัดงบประมาณ 5 ล้านบาทมาช่วยเรื่องการรับรองแปลงให้ทันเวลา

 

"เกษตรไทย"จะไปไกลถึง"ครัวโลก"แต่ให้งบคุมมาตรฐานแค่หยิบมือ โดยขุนเกษตร

 

"ขุนเกษตร" สอบถามจากพื้นที่อย่าว่าแต่ 5 ล้าน งบตัวนั้นสักบาทก็ไม่เคยตกไปถึง


ที่สำคัญที่ "ขุนเกษตร" จะส่งสัญญาณไปถึงรัฐบาล คือ ดราม่า GAP กำลังจะเริ่มต้นขึ้นจากการที่รัฐโอนภารกิจตรวจรับรองให้กับเอกชน 

 

การทำใบ GAP ได้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2540 โดยมีหน่วยงานราชการ เป็นหน่วยงานทำให้ตั้งแต่เริ่ม และ มติ ครม. เมื่อปี 2553 ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้มีการถ่ายโอนภารกิจนี้ให้กับเอกชน แต่จนแล้วจนรอดการเปลี่ยนผ่านมาเริ่มอย่างจริงจังในสมัยนี้


1 ตุลาคม 2664 ถ่ายโอยแปลงขนาด 50 ไร่ ขึ้นไป


1 ตุลาคม 2565 ถ่ายโอนแปลงขนาด 20 ไร่ ขึ้นไป


1 ตุลาคม 2566 ถ่ายโอนแปลงขนาด 10 ไร่ ขึ้นไป


1 ตุลาคม 2567 ถ่ายโอนแปลงขนาด 5 ไร่ ขึ้นไป


1 ตุลาคม 2568 ถ่ายโอนภารกิจให้เอกชนและงดรับคำร้อง
หลังจากนั้นการทำ GAP จะเป็นของเอกชนและเกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่าย


 
แต่ทั้งนี้การตรวจรับรองแปลงของรัฐอย่างกรมวิชาการเกษตรยังสามารถทำ GAP ให้เกษตรกรฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย  โดยมีเงื่อนไขดังนี้คือ


+เป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตร หรือ วิสาหกิจชุมชน ที่รัฐจัดตั้งขึ้น


+เป็นกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่


+เป็นเกษตรกรที่รวมตัวกัน 5 คนขึ้นไป เป็นการรับรองแบบกลุ่ม
 
สิ่งที่ "ขุนเกษตร" อยากเรียนไปยังรัฐบาลคือ เวียดนาม ส่งเสริมการทำ GAP รัฐออกเงินทุกบาททุกสตางค์เพื่อให้เกษตรกรมีแต้มต่อ สามารถส่งออกและแข่งขันได้ในตลาดโลก แต่บ้านเรานอกจากไม่ให้ความสำคัญแล้วยังตัดงบประมาณลงทุกปี นอกจากนั้นนับถอยหลังอีกไม่กี่ปีเกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำแปลง GAP


 
คำถามคือ เกษตรไทยจะเป็นครัวโลกใช่หรือไม่ เกษตร GAP เป็นเกษตรปลอดภัยและ ผลผลิต GAP สร้างเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศมหาศาล แล้วไฉนรัฐถึงไม่ใส่ใจเท่าที่ควรจะเป็น ยิ่งนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืนที่หลงทิศหลงทาง เปย์หนักเกษตรอินทรีย์ ขยี้เกษตรเคมี เหมือนที่เกษตรกรกำลังตั้งคำถามทุกวันนี้ ขนาดทำเงินปีละเป็นแสนล้าน ยังจัดงบประมาณแค่หยิบมือ ส่วนสัญญา 5 ล้าน เกษตรกรฝากมาเรียน จำไม่มีวันลืม ใครสัญญากับเกษตรกรไว้ รับทราบโดยทั่วกัน

logoline