svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สบยช.ห่วงเยาวชน ตกเป็นเหยื่อยาเสพติด ใน Social Media แนะ ผปค. สังเกตพฤติกรรม

29 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ แนะผู้ปกครองหมั่นสังเกตพฤติกรรมบุตรหลานใช้ Social Media หรือสื่อสังคมออนไลน์ อาจถูกชักจูงและชี้นำไปในทางผิด กลายเป็นเหยื่อของผู้ค้ายาเสพติด ด้วยความอยากรู้อยากลอง

29 พฤศจิกายน 2564 ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน Social Media หรือ "สื่อสังคมออนไลน์" มีบทบาทกับผู้คนในสังคมทุกเพศทุกวัย นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในภาวะสังคมปัจจุบัน ผู้คนเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ได้โดยง่าย ในขณะเดียวกัน มิจฉาชีพ หรือแม้กระทั่งผู้ค้ายาเสพติด มักจะหาช่องทางการลักลอบจำหน่ายโดยใช้ Social Media หรือ "สื่อสังคมออนไลน์" ซึ่งตรวจสอบได้ยาก ร่วมกับการโฆษณาชวนเชื่อ อวดอ้างสรรพคุณต่าง ๆ ทำให้เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อของความอยากรู้อยากลอง และกลายเป็นเหยื่อของผู้ค้ายาเสพติด 

 

ด้านนายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาการลักลอบจำหน่ายยาและสารเสพติดผ่านช่องทาง Social Media หรือ "สื่อสังคมออนไลน์" เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะสามารถเข้าถึงเด็กและวัยรุ่นได้ง่าย 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> กรมการแพทย์แจงไทยไม่มีชื่อได้สูตรยา "แพกซ์โลวิด"

นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์

นายแพทย์สรายุทธ์  แนะว่าผู้ปกครองในยุคปัจจุบัน ต้องพยายามติดตามข่าวสารจากสื่อ Social Media หรือ "สื่อสังคมออนไลน์" พยายามปรับตัวให้เหมือนเป็นเพื่อนกับบุตรหลาน หาเวลาว่างทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการสังเกตุพฤติกรรมของบุตรหลาน หากพบมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การใช้เงินในการสั่งของทางออนไลน์มากผิดปกติ หรือพบสิ่งของต้องสงสัย ต้องรีบเข้าไปพูดคุย ซักถามด้วยเหตุผล และยอมรับฟังอย่างตั้งใจ ด้วยความรัก ความเมตตา 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> กรมการแพทย์ฯ เผย เตียงโควิด กทม.ไม่น่าห่วง

สบยช.ห่วงเยาวชน ตกเป็นเหยื่อยาเสพติด ใน Social Media แนะ ผปค. สังเกตพฤติกรรม

ทั้งนี้ เมื่อรู้ว่าลูกเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ผู้ปกครองต้องตั้งสติ ใช้เหตุผล ไม่ตำหนิ ดุด่า หรือลงโทษอย่างรุนแรง แสดงความรัก ความห่วงใย บอกกล่าวในเรื่องโทษพิษภัยของยาเสพติด ที่มีต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ การเรียน รวมถึงความผิดทางกฎหมาย และรีบพาไปพบแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา 

 

โดยสามารถขอรับคำปรึกษาเรื่องยาและสารเสพติดได้ที่ สายด่วนยาเสพติด 1165 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pmnidat.go.th หรือเข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดได้ที่ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น อุดรธานี สงขลา และปัตตานี 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> กรมการแพทย์ แนะ "Social Media" ใช้อย่างไรให้เด็กๆ ปลอดภัย

สบยช.ห่วงเยาวชน ตกเป็นเหยื่อยาเสพติด ใน Social Media แนะ ผปค. สังเกตพฤติกรรม

logoline