svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สทนช.รายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 1 ต.ค. 64

01 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติรายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 1 ต.ค. 64 คาดการณ์ว่ามีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2564 สภาพอากาศมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นโดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้

ปริมาณฝนสูงสุด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (มม.)  มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณจังหวัดเชียงราย (59) จังหวัดนครราชสีมา (88) จังหวัดชลบุรี (61) จังหวัดกรุงเทพมหานคร (99) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (77) และจังหวัดยะลา (81)

คาดการณ์ฝนในช่วงวันที่หนึ่งถึง 6 ตุลาคม 2564 ร่องมรสุมกำลังอ่อนจะพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้วันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้นกลับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้

สทนช.รายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 1 ต.ค. 64

สทนช.รายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 1 ต.ค. 64

สทนช.รายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 1 ต.ค. 64

แหล่งน้ำที่ต้องเฝ้าระวัง ปริมาณน้ำมากกว่า 95% ปริมาณน้ำเก็บกัก (ข้อมูลณวันที่ 30 ก.ย. 64)

ระดับน้ำในแม่น้ำมีแนวโน้มสูงขึ้นและเสี่ยงล้นตลิ่ง ได้แก่

  • แม่น้ำป่าสัก จังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรี
  • แม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ปทุมธานี นนทบุรีและกรุงเทพมหานคร
  • แม่น้ำมูล อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ อำเภอเมือง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

สทนช.รายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 1 ต.ค. 64

พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม ในช่วง1 - 2 วันนี้ บริเวณเชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์

ระดับน้ำทะเลหนุน ภาวะระดับน้ำ บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์โดยกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ ระดับน้ำข้อมูลณวันที่ 1 ต.ค. 64 น้ำขึ้นสูงสุดเวลา 18:31 น. สูงกว่า ระดับทะเลปานกลาง 1.56 เมตร

สทนช.รายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 1 ต.ค. 64

การเตรียมความพร้อม รับมือฤดูฝนปี 2564 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามปฏิทินการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน จัดเตรียมมาตรการรองรับสถานการณ์น้ำ เร่งดำเนินการตามมาตรการในส่วนที่รับผิดชอบและขับเคลื่อนมาตรการดังกล่าว จากหน่วยงานส่วนกลางไปยังหน่วยงานปฏิบัติในระดับพื้นที่ผ่านกลไกของจังหวัดร่วมกับท้องถิ่นและภาคประชาชนโดยมีมาตรการในการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2564 ดังนี้ 
สทนช.รายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 1 ต.ค. 64
1. คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ 
2. การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก 
3. ทบทวนปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่-กลางและเขื่อนระบายน้ำ 
4. ซ่อมแซมปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ / ระบบระบายน้ำสถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน 
5. ปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ 
6. ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา 
7. เตรียมพร้อม / วางแผนเครื่องจักรเครื่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ 
8. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำ 
9. การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ 
10. ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย
สทนช.รายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 1 ต.ค. 64
การบริหารจัดการน้ำ: จากอิทธิพลร่องมรสุมที่จะพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบนทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 1-3 ต.ค. 64

กอนช. คาดการณ์ว่ามีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินปริมาณน้ำไหลเข้าสู่เขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 3,200 ลบ. ม. ต่อวินาที ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา และตัดยอดน้ำเข้าระบบคลองชลประทานทั้งสองฝั่ง และพื้นที่ลุ่มต่ำซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,700 ลบ. ม. ต่อวินาที

 

ประกอบกับเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ระบายน้ำในอัตรา 900-1,200 ลบ. ม. ต่อวินาทีส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำอ. บางไทรจ. พระนครศรีอยุธยา (C.29A) ในอัตราประมาณ 3,000-3,200 ลบ. ม. ต่อวินาทีส่งผลให้ระดับน้ำตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสำหรับท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 1.20-2.40 เมตรส่วนท้ายเขื่อนพระรามหกเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 2.30-2.80 เมตรในช่วงวันที่ 1-5 ตค 64 คาดว่าจะส่งผลกระทบในพื้นที่ดังนี้

1. จ. ชัยนาท แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณ ต. โพนางดำออกและ ต. โพนางดำตกอ. สรรพยา 
2. จ. สิงห์บุรี แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดเสือข้ามวัดสิงห์ อ. อินทร์บุรีอ. เมืองสิงห์บุรีและอ. พรหมบุรี 
3. จ. อ่างทอง คลองโผงเผงและแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดไชโย อ. ไชโยและอ. ป่าโมก 
4. จ. ลพบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณอ. พัฒนานิคม

สทนช.รายงานสรุปสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 1 ต.ค. 64

logoline