svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

นักวิจัยทำพลาสเตอร์ปิดแผลจากเปลือกทุเรียน

20 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คณะนักวิทยาศาสตร์ในสิงคโปร์วิจัยแปรรูปเปลือกทุเรียนให้เป็นเจลต้านเชื้อแบคทีเรียบนพลาสเตอร์ปิดแผลได้สำเร็จ ช่วยลดขยะอาหารและนำไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

คณะนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (NTU) ของสิงคโปร์ ได้ทำให้เปลือกทุเรียนมีคุณค่ามากกว่าการถูกทิ้งไปโดยเสียเปล่า ด้วยการหั่นให้เป็นชิ้้นเล็กๆ แล้วนำไปตากแห้ง จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการสกัดผงเซลลูโลสออกมา โดยผสมกับกลีเซอโรลและใส่ยีสต์จากขนมปังลงไป เพื่อสร้างอนุมูลต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ก่อนถูกตัดเป็นแถบพลาสเตอร์ ซึ่งศาสตราจารย์วิลเลียม เฉิน ผู้อำนวยการโครงการเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์การอาหาร ของ NTU ให้ความเห็นว่า "ในสิงคโปร์ เราบริโภคทุเรียนปีละประมาณ 12 ล้านลูก แต่เราไม่สามารถจัดการกับเปลือกและเม็ดทุเรียนได้มากนัก จนเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม"

 

นักวิจัยทำพลาสเตอร์ปิดแผลจากเปลือกทุเรียน

 

เปลือกทุกเรียนมีสัดส่วนราว 60% ของน้ำหนักทุเรียนแต่ละลูกและมักจะถูกทิ้งให้ย่อยสลายไปเองหรือถูกนำไปเผา กลายเป็นขยะที่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม แต่เฉิน บอกว่า เทคโนโลยียังสามารถเปลี่ยนเศษอาหารอื่นๆ เช่น ถั่วเหลืองและธัญพืชใช้แล้ว ให้เป็นไฮโดรเจล ช่วยจำกัดขยะอาหารของประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับพลาสเตอร์ยาทั่วไป พลาสเตอร์จากเปลือกทุเรียน ที่เรียกว่า "ไบโอโลจิคัล ไฮโดรเจล" (biological hydrogel bandages) จะช่วยให้แผลมีความเย็นและชุ่มชื้น ซึ่งสามารถเร่งการสมานตัวได้ ทั้งยังคุ้มค่ากว่าพลาสเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป

 

นักวิจัยทำพลาสเตอร์ปิดแผลจากเปลือกทุเรียน

 

 

นักวิจัยบอกด้วยว่า การใช้วัสดุเหลือใช้และยีสต์มาทำพลาสเตอร์ต่อต้านเชื้อโรค คุ้มค่ากว่าการผลิตพลาสเตอร์ยาทั่วไป เพราะต้องอาศัยเทคโนโลยีต้านเชื้อจุลชีพราคาแพง เช่น ซิลเวอร์ ไอออน หรือ คอปเปอร์ ไอออน

logoline