svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

ทางสายมืด“ปฏิรูปตำรวจ”จุดดับกระบวนการ ยธ.

26 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในยุค “นายกฯประยุทธ์” 7-8 ปี มีคดีใหญ่ๆ ที่สะเทือนกระบวนการยุติธรรมหลักๆ คือ “คดีบอสรอดทุกข้อหา” แม้จะไม่ได้เกิดในยุครัฐบาล “ลุงตู่” แต่การสั่งไม่ฟ้องคดี มาเกิดในยุคนี้ แถมผ่านมานานกว่า 1 ปี ก็ยังเอาผิดใครไม่ได้เลยแม้แต่คนเดียว อีกคดีหนึ่งที่กำลังฮือฮา คือ คดีผกก.โจ้

26 สิงหาคม 2564 ทั้ง 2 คดีใหญ่ “คดีบอสรอดทุกข้อหา” และคดี  คดี "ผกก.โจ้" พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล อดีตผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ พร้อมลูกน้อง ร่วมกันใช้ถุงคลุมหัวผู้ต้องหาคดียาเสพติดจนเสียชีวิต เพื่อเรียกเงิน 2 ล้านบาท ทำให้เกิดคำถามถึงรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า จะเอาอย่างไรกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เพราะเป็นนโยบายสำคัญที่ “ลุงตู่ขายฝัน” มาตลอด

 

จากการตรวจสอบย้อนหลังของ “ทีมข่าวข้นคนข่าว” พบว่า คสช.มีนโยบายชัดเจนเรื่องการปฏิรูปตำรวจ ตั้งแต่เข้าควบคุมอำนาจการปกครอง เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 / แต่ช่วง 3 ปีแรก คือปี 57-60 แทบไม่มีความเคลื่อนไหวที่ชัดเจน มีเพียงการออกประกาศ 3 ฉบับเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ หรือ ก.ต.ช. ตลอดจนปรับแก้วิธีการเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่ นอกจากนั้นก็เป็นการตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาแนวทาง ผ่านกลไกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

 

งานปฏิรูปตำรวจมีความชัดเจนมากขึ้น เมื่อมีกระแสกดดันจากสังคมให้ "ทำตามสัญญา" ทำให้ พลเอกประยุทธ์ ต้องตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาเป็นการเฉพาะ โดยมี พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธาน

คณะกรรมการฯชุดนี้แต่งตั้งเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ปี 60 ทำงานได้ประมาณ 9 เดือน จบภารกิจเมื่อ 28 มีนาคม ปี 61 โดยมีข้อเสนอหลายข้อ รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ แต่ข้อเสนอทั้งหมดไม่ได้ถูกสานต่อ

 

ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. ที่มี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ได้บรรจุประเด็นปฏิรูปตำรวจเอาไว้ในมาตรา 258 ง. (มาตรา 258 ง.งู) เรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม มีการกำหนดกรอบการปฏิรูปว่าจะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมา และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี คือ เดือนเมษายน ปี 61 แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น 

สิ่งที่เกิดขึ้นแทนคือ คดีสำคัญที่ผู้ต้องหา วีไอพี คนมีเงิน รอดพ้นเงื้อมมือกฎหมาย หรือใช้อำนาจนอกกฎหมายข่มเหงรังแกประชาชน 

 

ถือเป็นทางสายมือของการปฏิรูปตำรวจ และเป็นจุดดับของกระบวนการยุติธรรม อย่างแท้จริง

logoline