svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ญี่ปุ่นประสบปัญหาผู้คนตัดขาดจากสังคม โควิดระบาดยิ่งซ้ำเติมให้หนักขึ้น

07 เมษายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทั่วประเทศญี่ปุ่น มีประชาชนเกือบ 1 ล้าน 5 แสนคน ที่ตัดตัวเองออกจากสังคม ขังตัวเองอยู่แต่ในบ้าน จากผลสำรวจรอบใหม่ของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งถ้าใครมีพฤติกรรมเช่นนี้นาน 6 เดือนขึ้นไป ก็จะถือว่า เข้าข่าย

บางคนออกจากบ้านก็แค่ตอนไปซื้อของกินของใช้ หรือร่วมกิจกรรมบางโอกาส  แต่ในขณะที่อีกหลายคน ขังตัวเองอยู่แต่ในห้องนอน ไม่ยอมออกมาเลย  พฤติกรรมเช่นนี้ ได้รับการบันทึกไว้ในญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980 ทางการญี่ปุ่นแสดงความวิตกในปัญหานี้ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่แล้ว แต่การระบาดของโควิด ยิ่งทำให้ปัญหาร้ายแรงหนักขึ้น 

สำนักงานครอบครัวและเด็กของรัฐบาลญี่ปุ่น ได้สำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน พบว่า มีประชาชนอายุระหว่าง 15 ถึง 64 ปี จำนวน 2% ที่มีพฤติกรรมตัดขาดจากสังคม หรือเกือบ 1 ล้าน 5 แสนคน สาเหตุหลักๆ มาจากการตั้งครรภ์  ตกงาน เจ็บป่วย เกษียณ และมีความสัมพันธ์กับคนอื่นไม่ค่อยดีนัก  แต่ประเด็นหลักๆ คือ การระบาดของโควิด ซึ่งกว่า 1 ใน 5 ของผู้ถูกสำรวจ อ้างว่า เป็นปัจจัยทำให้พวกเขามีวิถีชีวิตแบบนี้  ญี่ปุ่นประสบปัญหาผู้คนตัดขาดจากสังคม โควิดระบาดยิ่งซ้ำเติมให้หนักขึ้น ญี่ปุ่นประสบปัญหาผู้คนตัดขาดจากสังคม โควิดระบาดยิ่งซ้ำเติมให้หนักขึ้น

แม้ญี่ปุ่นเปิดพรมแดนให้คนต่างชาติได้เข้ามาเที่ยวอีกครั้ง เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา  หลังคุมเข้มพรมแดนหนักหน่วงในช่วงกว่า 2 ปีที่โควิดระบาด  แต่ก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นมากนัก   การระบาดของโควิดทำให้ปัญหาสังคมในญี่ปุ่นเลวร้ายหนักขึ้น เช่น ปัญหาคนเหงา  การถูกตัดขาดจากสังคม และความยากลำบากทางการเงิน  โน้มนำไปสู่การฆ่าตัวตายที่พุ่งสูง  รวมถึงการก่อเหตุรุนแรงกับเด็กและคนในครอบครัว

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า  คนส่วนใหญ่คิดว่า การตัดขาดตัวเองจากสังคม เป็นผลมาจากปัญหาทางจิต เช่น ซึมเศร้าและความวิตกกังวล  แต่ประเด็นทางสังคมก็มีส่วนเช่นกัน เช่น คติความเชื่อแบบเก่าๆ และวัฒนธรรมการทำงาน  ญี่ปุ่นประสบปัญหาผู้คนตัดขาดจากสังคม โควิดระบาดยิ่งซ้ำเติมให้หนักขึ้น

และอันที่จริง ปัญหาการตัดขาดตัวเองจากสังคมในญี่ปุ่น มันก็มีมานานก่อนโควิดระบาดเสียอีก โดยเชื่อมโยงกับปัญหาอื่นๆ เช่น วิกฤติจำนวนประชากรในญี่ปุ่นที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง นับจากเศรษฐกิจบูมในช่วงทศวรรษที่ 1980 อัตราการเจริญพันธุ์และตัวเลขเด็กเกิดใหม่ร่วงต่ำเป็นประวัติการณ์ติดต่อกันมาหลายปี 

ตัวเลขคนแก่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สวนทางกับอัตราการเกิดใหม่  ทำให้ญี่ปุ่นมีคนในวัยใช้แรงงานน้อยลง จนสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจ  นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นถึงกับเตือนว่า ประเทศใกล้จะรักษาความสมดุลทางสังคมไว้ไม่ได้แล้ว  การที่ผู้คนตัดขาดจากสังคม ยังโน้มนำไปสู่ปัญหาที่ว่า คนในวัย 50 แต่ยังต้องพึ่งพาการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ในวัย 80

ปัจจัยอื่นที่เข้ามาข้องเกี่ยวก็เช่น ตัวเลขคนอยู่เป็นโสดมีมากขึ้น  การแต่งงานและออกเดทมีน้อยลง  ผู้คนหันไปพึ่งพาการพูดคุยในชุมชนออนไลน์แทนที่จะออกมาเจอกันตัวเป็นๆ 

รัฐบาลญี่ปุ่นจึงแก้ปัญหาด้วยให้หน่วยงานระดับประเทศและท้องถิ่น เสนอบริการหลากหลาย เช่น การให้คำปรึกษาและไปเยี่ยมบ้านผู้ที่มีพฤติกรรมตัดขาดจากสังคม  สนับสนุนการจัดหาบ้านให้คนแก่และวัยกลางคน แต่ทั้งหมดนี้ ก็ไร้ผล ในช่วงที่โควิดระบาด ญี่ปุ่นประสบปัญหาผู้คนตัดขาดจากสังคม โควิดระบาดยิ่งซ้ำเติมให้หนักขึ้น  

 


 

logoline