svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเงิน-การลงทุน

ดักเก็งกำไรหุ้นกลุ่มแบงก์ ! ตัวไหนงบเด่นน่าลงทุนเช็กเลย

08 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

4 โบรกประเมินงบแบงก์ไตรมาส 1/67 ฟันกำไร 5-6 หมื่นล้านบาท จากสินเชื่อรายใหญ่และค่าธรรมเนียมเติบโต แม้ว่าแบงก์คุมเข้มสินเชื่อรายย่อย คาดเศรษฐกิจฟื้นตัวหนุนหุ้นกลุ่มแบงก์ไปต่อ ตัวไหนน่าเก็งกำไรก่อนประกาศงบออกมาอย่างเป็นทางการ ตามไปส่องกันเลย

ใกล้ถึงช่วงประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/67 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กันอีกครั้ง โดยกลุ่มแรกที่นำร่องคือหุ้นกลุ่มแบงก์  ซึ่งที่ผ่านมาแม้ว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น แต่การปล่อยสินเชื่อ ภาคธุรกิจอาจไม่เติบโตมากนักขณะที่ภาคครัวเรือนถีบ ตัวสูงขึ้นทำให้แบงก์ต้องเผชิญกับภาระหนี้เสียกันมากขึ้น
ส่วนผลการดำเนินงานจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น หุ้นตัวไหนน่าเก็งกำไรก่อนประกาศงบอย่างเป็นทางการ ตามไปดูบทวิเคราะห์กันเลย  

เริ่มจากฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัสประเมินงบไตรมาส 1/67 กลุ่มแบงก์คาดกำไรสุทธิ (8 ธนาคาร)  ที่ 6.1 หมื่นล้านบาท ขยายตัว 20% QOQ(+ 3.2% YOY) เพราะ OPEX ลดลงตามฤดูกาล ชดเชย NIM ที่อ่อนตัว จากการทยอย REPRICING ต้นทุนเงินฝากประจำ ตรงข้ามกับดอกเบี้ยสินเชื่อทรงตัวหลังวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นมีโอกาสกลับทิศเป็นขาลงตั้งแต่กลางปี 2567

สำหรับแนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ยังคงอ่อนแอ คาด NPL / LOAN กลุ่มฯ ณ สิ้นงวดไตรมาส 1/67  ที่ 3.6% จาก 3.5% ณ สิ้นงวดไตรมาส 4/66  กดดันจากทั้งรายย่อย และเอสเอ็มอี  รวมถึงความไม่แน่นอนของลูกหนี้ในกลุ่มรับเหมารายใหญ่ 1 รายและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ภาพรวมประเมินสะท้อนวัฎจักรขาขึ้นของ NPL ยังดำเนินต่อไปภายใต้การเติบโตของกำไรกลุ่มฯ ค่อนข้างจำกัด ตามภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ยังขาดพัฒนาการบวกที่เด่นชัด อีกทั้งยังขาดแรงขับเคลื่อนจาก FUND FLOWต่างชาติ แต่หุ้นในกลุ่มฯ มีการปรับฐานจน PBV กลุ่มฯ ซื้อขายที่ 0.8 เท่า และแต่ละธนาคารพาณิชย์ ให้ DIV YILED สูงเกิน 5% ถือว่า VALUATION น่าสนใจ

กลยุทธ์การลงทุน เน้นธนาคารพาณิชย์ ให้ DIV YIELD สูงเกิน 6% ต่อปีอย่าง TTB (FV@ B1.98)

หุ้นที่ปรับฐานลึกอย่าง BBL (FV@B175) และ KBANK (FV@B145) คาด DOWNSIDE ไม่ลึกมาก พร้อมประเมินว่าทั้ง 2 แห่งให้ DIV YIELD ราว 5% ต่อปี

 

 

ดักเก็งกำไรหุ้นกลุ่มแบงก์ ! ตัวไหนงบเด่นน่าลงทุนเช็กเลย

บล.ฟินันเซียไซรัส
คาดกำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ 7 แห่ง ประมาณ  5.06 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 18.6% q-q และ 1.1% y-y หนุนด้วย 1.การลดลงของค่าใช้จ่ายดำเนินงานหลังพ้นช่วงฤดูกาล

2.การลดลงของค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ (ECL) และ credit costs ทำให้ช่วยชดเชยผลกระทบจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย non-NII ที่คาดหดตัวลง และรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) ที่ยังค่อนข้างทรงตัวในงวดนี้ ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์สินเชื่อที่คาดหดตัว 0.3% q-q (แต่ยังเพิ่มขึ้น 0.4% y-y) และคาด NIM ยังบวกได้เล็กน้อย 2bp มาที่ 3.62% 

 โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะแสดงการเติบโตของกำไรสุทธิ ไตรมาส 1/67  ยกเว้น TISCO ที่คาดหดตัวเล็กน้อย โดย KTB และ KKP จะแสดงการเติบโตของกำไรสุทธิที่โดดเด่นสุด q-q (พลิกจากที่แย่สุดใน 4Q23 ซึ่งการเติบโตเป็นผลมาจากฐานกำไรที่ลงไปต่ำมากใน 4Q23) ขณะที่การเปลี่ยนแปลง y-y  คาดว่าส่วนใหญ่แสดงการเติบโตของกำไรสุทธิที่สูงขึ้น ยกเว้น KKP (ผลกระทบจากคาดการณ์การบันทึกผลขาดทุนจากการขายรถยึดที่ระดับสูงต่อเนื่อง) และ TISCO (คาด ECL ไต่ระดับสูงขึ้น) ที่คาดกำไรหดตัวลง  

ดักเก็งกำไรหุ้นกลุ่มแบงก์ ! ตัวไหนงบเด่นน่าลงทุนเช็กเลย

นอกจากนี้ภาพรวมคุณภาพสินทรัพย์ยังเป็นปัจจัยกดดันหลักของกลุ่มฯ อย่างต่อเนื่องอีกในไตรมาส 1/67 แต่ส่วนใหญ่อยู่ในวิสัยที่บริหารจัดการได้  ซึ่งยังเห็นการเพิ่มขึ้นของ NPL รายใหม่ ๆ จากกลุ่มสินเชื่อ SME และรายย่อยที่เป็นปัญหาต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ภายหลังหมดมาตรการช่วยเหลือของ ธปท. ตั้งแต่สิ้นปี 66

ส่วนกรณีสินเชื่อรายใหญ่ของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด หรือ ITD  ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ได้จัดชั้นสินเชื่อรายนี้เป็นสินเชื่อ stage 2 แล้ว พร้อมกันสำรองส่วนเกินเผื่อไว้ด้วย น่าจะช่วยลดความกังวลต่อประเด็นนี้ไปได้มาก

สำหรับคาดการณ์ NPL ratio ณ สิ้น 1Q24 ขึ้นมาเล็กน้อยที่ 3.61% credit costs เท่ากับ 157bp ลดลงจาก 178bp ใน 4Q23 ทำให้คาดการณ์ coverage ratio เพิ่มขึ้นมาที่ 194% จาก 189% ใน ไตรมาส 4/66 

คาดการณ์กำไรสุทธิปีนี้ประเมินว่าจะหดตัวลง 2% y-y และกลับมาเติบโตเฉลี่ยราว 5% p.a. ในปี 68-69 ภายใต้สมมติฐานที่ conservative และยึด guidance ปีนี้ ของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ที่เป็นไปอย่างระมัดระวัง โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากการเติบโตของสินเชื่อสุทธิที่ประเมินไว้ 2.7% y-y NIM ทรงตัวที่ราว 3.41% และคาดการณ์รายได้ค่าธรรมเนียมฯ เติบโต 2% y-y

จากภาพรวมที่กล่าวมา ทำให้เรายังคงให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่ม bank ที่น้อยกว่าตลาด โดยเลือก TTB  (TP@ THB 2.19) จากปัจจัยบวกเฉพาะตัวเรื่องคาดการณ์กำไรสุทธิปี 67-69 ที่เติบโตโดดเด่นเหนือค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ  จากการบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่คงเหลือกว่า 1.50 หมื่นล้านบาท

 นอกจากนี้ยังชอบ KTB ([email protected])  จากความกังวลเรื่องคุณภาพสินทรัพย์ที่ลดลง อีกทั้งราคาหุ้นปรับฐานไปมากสะท้อนปัจจัยลบต่างๆ ไปมากแล้ว และยังมีปันผลจูงใจกว่า 5%


ขณะที่ บล.ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) หรือ CGSI  ประเมินธนาคารพาณิชย์ไทย 7 แห่งที่ทำการศึกษาจะทำกำไรสุทธิรวม 4.98หมื่นล้านบาท (-1% yoy, +17% qoq) ในไตรมาส 1/67โดยเชื่อว่ากำไรจะลดลง yoy เนื่องจากอัตราการสำรองหนี้สูญสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ส่วนหนึ่งจะชดเชยด้วยส่วนต่างอัตราดอก เบี้ย (NIM) ที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่กำไรจะเติบโต qoq เพราะค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลใน ไตรมาส 4 จึงน่าจะทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงจาก 49%ในไตรมาส 4/66เป็น 45.7%ในไตรมาส 1/67

นอกจากนี้คาดว่ากลุ่มธนาคารจะมีอัตราส่วน NPL อยู่ที่ประมาณ 3.61% ในไตรมาส 1/67หรือเพิ่มขึ้นจาก 3.59% ในไตรมาส 4/66แต่ยังต่ำกว่า 3.68% ในไตรมาส 1/66และสถิติสูงสุดช่วงสามปีที่ผ่านมาที่ 4.2% ในไตรมาส 3/64 (จากการระบาดของโควิด-19)

กลุ่มธนาคารไทยจะมียอดสินเชื่อรวมเติบโต 0.5% yoy แต่ลดลง 0.1% qoq ในไตรมาส 1/67โดยธนาคารน่าจะยังมีการอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า SME แบบ selective เพราะมองว่า SME น่าจะมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่การฟื้นตัวของยอดขายยังไม่แน่นอน

ในไตรมาสแรกนี้ ยังพบว่าธนาคารเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อใหม่ให้กับลูกค้ารายย่อยในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในขาขึ้น ส่วนความต้องการสินเชื่อธุรกิจน่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในไตรมาส 1/67

ขณะเดียวกันคาดว่า NIM จะเพิ่มขึ้น 40bp yoy แต่ลดลง 3bp qoq เป็น 3.63% ในไตรมาสแรกนี้ เนื่องจากเชื่อว่าอัตราผลตอบแทนจากสินเชื่อ (หลังอัตราดอกเบี้ยนโยบายแตะจุดสูงสุดที่ 2.5% ในเดือนพ.ย. 66) จะเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าต้นทุนดอกเบี้ย ซึ่งปรับตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ

อย่างไรก็ตาม คาดว่าธนาคารไทยจะมีอัตราการสำรองหนี้สูญอยู่ที่ 156bp ในไตรมาส 1/67 (+8bp yoy, -23bp qoq) โดยเชื่อว่าอัตราการสำรองหนี้สูญที่ลดลง qoq มาจาก KBANK และ KTB เป็นหลักเนื่องจากธนาคารทั้งสองแห่งบันทึกอัตราการสำรองหนี้สูญสูงถึง 200-220 bp ในไตร มาส 4/66 จากการเคลียร์งบดุลเชิงรุก

ทั้งนี้มองว่าการที่อัตราการสำรองหนี้สูญโดยรวมของธนา คารไทยอยู่ที่ระดับ 160bp แสดงให้เห็นว่าธนาคารมีความระมัดระวังเรื่องคุณภาพสินทรัพย์ แม้จะมีอัตราการตั้งสำรองต่อหนี้ NPL สูงถึง 190%ในไตรมาสแรกนี้  โดยอัตราการสำรองหนี้สูญในไตรมาส 4/66 ของ KTB และ KBANK สะท้อนความกังวลเกี่ยวกับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่รายหนึ่งและบริษัทที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งธนาคารกำลังจับตาดูคุณภาพเครดิตที่อาจลดลง

แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักลงทุน (Overweight) ในกลุ่มธนาคารไทย เพราะมองว่ากลุ่มนี้จะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ (จากการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศ) และคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้นในปี 67 ขณะที่ยังคงเลือก BBL และ SCB เป็นหุ้น Top pick เนื่องจากมีการประเมินมูลค่าน่าสนใจและกำไรสุทธิมีแนวโน้มเติบโตสม่ำเสมอ 

โดยเชื่อว่าปัจจัยบวกที่จะช่วยให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นคือ การที่ลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพิ่มขึ้นจาก GDP ที่ขยายตัวแข็งแกร่งและผลดีจากอัตราดอกเบี้ยสูง แต่กลุ่มธนาคารจะมี downside risk หากคุณภาพสินทรัพย์ลดลงและมีการประกาศมาตรการกำกับดูแลที่มีความเข้มข้นขึ้น ซึ่งอาจทำให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มความเข้มงวดของหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อจึงส่งผลให้สินเชื่อเติบโตชะลอตัว

ปิดท้ายบล.บัวหลวง ประเมินกำไรสุทธิกลุ่มธนาคารไตรมาส 1/67  เท่ากับ 5.1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% YoY (NIM สูงขึ้น) และ 20% QoQ (การตั้งสำรองหนี้ฯ และค่าใช้ดำเนินงานลดลง)  คาดว่า ธนาคารที่จะรายงานกำไรเติบโตได้ดี YoY นำโดย TTB, KTB, BBL และ KBANK ขณะที่คาดธนาคารที่จะรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 1/67 ลดลง YoY นำโดย KKP และ SCB ส่วน TISCO คาดจะรายงานกำไรค่อนข้างทรงตัว YoY

นอกจากนี้คาดกำไรสุทธิไตรมาส 2/67  ของกลุ่มธนาคารจะอยู่ที่ราว 5 หมื่นล้านบาท ลดลง 5% YoY (ค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงขึ้นและกำไรจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนลดลง)  และ 3% QoQ (NIM อ่อนตัวลง)  โดยคาดธนาคารที่จะรายงานกำไรลดลง YoY นำโดย KKP, SCB และ TISCO  ส่วนหุ้นที่เป็น Top picks ของกลุ่มธนาคารเลือก KTB และ KBANK

logoline