svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"กลาโหม" สำคัญไฉน? เมื่อ "พลเรือน" นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี คุม "เหล่าทัพ"

30 สิงหาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การปรากฎชื่อ "สุทิน คลังแสง" เป็นว่าที่ รมว.กลาโหม สร้างความฮือฮา เพราะถือเป็นพลเรือนคนแรก ที่ไม่ได้ควบเก้าอี้นายกฯ แล้วได้มาเป็น รมต. คุมงานด้านความมั่นคงของประเทศ มีกำลังพล 3 เหล่าทัพในสังกัด มากถึง 305,860 นาย และต้องบริหารงบประมาณกระทรวง ถึง 198,562 ล้านบาท

ใกล้ที่จะได้เห็นโฉมหน้ากันแบบเต็มๆ สำหรับ ครม.เศรษฐา 1 ที่หากเป็นไปตามโผ คาดว่าจะมีทั้ง รมต.หน้าเก่า และ  รมต.ป้ายแดง  ซึ่ง 1 ในรายชื่อว่าที่รัฐมนตรีหน้าใหม่ป้ายแดง คือ นายสุทิน คลังแสง สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ที่เขาถูกวางตัว ให้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเขาจะถือเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนที่ 42  และถือเป็น “พลเรือน” คนที่ 5 ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งนี้  

แม้เจ้าตัวจะยังไม่ยืนยันว่าจะได้นั่งเก้าอี้ รมต.คุมกระทรวงกลาโหม รู้แค่ว่าเป็น 1 ใน 35 ชื่อ ที่เป็นรัฐมนตรีได้  แต่ก็แสดงความมั่นใจว่า พร้อมทำงานได้ทุกกระทรวง ทุกอย่างเรียนรู้ได้ 

"หากได้เป็นจริงก็ไม่แปลกหรอก อาจจะมีพลเรือนมานั่งเป็น รมว.กลาโหม ทั่วโลกก็มี อาจจะเป็นมิติใหม่ของบ้านเมืองเราด้วย และได้พบเห็นสิ่งใหม่ๆ" นายสุทิน กล่าว

ย้อนประวัติ “สุทิน คลังแสง”

ดร.สุทิน คลังแสง ปัจจุบันอายุ 62 ปี  เป็นชาว จ.มหาสารคาม แต่งงานกับ ดร.ฉวีวรรณ คลังแสง อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และมีบุตร 2 คน คือ นายรัฐ คลังแสง (สส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย)  และ น.ส.ฐาธิปัตย์ คลังแสง

โดยเขาสำเร็จการศึกษา

  • ปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปริญญาโท สาขาไทยคดีศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ปริญญาเอก Doctor of Philosophy Magadh University ประเทศอินเดีย

เคยเป็น ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นอกจากนั้นยังผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย จากสถาบันพระปกเกล้า

\"กลาโหม\" สำคัญไฉน? เมื่อ \"พลเรือน\" นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี คุม \"เหล่าทัพ\"

เส้นทางการเมือง

เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมือง โดยเป็น สส. แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2544 และ 2548 ต่อมาได้สมัครในระบบเขตเลือกตั้ง ที่จังหวัดมหาสารคาม ในนามพรรคพลังประชาชน ก่อนย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย  โดยในปี พ.ศ. 2551 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน

หลังจากนั้น ปี 2562 นายสุทิน ได้รับเลือกเป็น สส. จังหวัดมหาสารคาม พรรคเพื่อไทย และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร หรือ ประธานวิปฝ่ายค้าน  ซึ่งเขามีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่อภิปรายในสภา ตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลายครั้ง

โดยเฉพาะการอภิปรายคุณสมบัตินายกฯ การกล่าวอภิปรายในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ในวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 การอภิปรายระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา การอภิปรายพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 13 ฉบับ

จากนั้นในปี 2563 นายสุทิน คลังแสง ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กระทั่งในการเลือกตั้ง สส. ครั้งล่าสุด ปี 2566 เขาได้รับเลือกตั้งเป็น สส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 9 พรรคเพื่อไทย เนื่องจากผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้ 29 ที่นั่ง

\"กลาโหม\" สำคัญไฉน? เมื่อ \"พลเรือน\" นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี คุม \"เหล่าทัพ\"

"กลาโหม" สำคัญไฉน ? 

การเอาพลเรือนมาคุมทหาร ถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์  ว่าเป็นการด้อยค่ากองทัพ  เพราะหากย้อนไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของกระทรวงกลาโหม บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้ามาเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะเป็น “ทหาร” เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เคยมีพลเรือนเลย เพราะนับจากปี 2540  มี “พลเรือน” ที่เคยได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็น รมว.กลาโหม มาแล้ว 4 คน  

แต่ทั้ง 4 คนนี้  ยังสวมหมวกอีกใบ คือ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  

\"กลาโหม\" สำคัญไฉน? เมื่อ \"พลเรือน\" นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี คุม \"เหล่าทัพ\"

ย้อน "4 พลเรือน" คุมกลาโหม

นายชวน หลีกภัย

นายกรัฐมนตรี พร้อมควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม (14 พ.ย. 2540 - 5 ก.พ. 2544)

พลเรือนคนแรกที่ได้เป็น รมว.กลาโหม คือ นายชวน หลีกภัย เป็น เพื่อกระชับอำนาจทางการเมือง เนื่องจากในห้วงนั้นความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับกองทัพไม่ราบรื่นนัก

\"กลาโหม\" สำคัญไฉน? เมื่อ \"พลเรือน\" นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี คุม \"เหล่าทัพ\"

นายสมัคร สุนทรเวช

นายกรัฐมนตรี พร้อมควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม (6 ก.พ. 2551- 9 ก.ย. 2551)

เพื่อสร้างบรรยากาศไม่ให้เกิดบรรยากาศการเป็นศัตรูกับบรรดาบิ๊กทหาร

\"กลาโหม\" สำคัญไฉน? เมื่อ \"พลเรือน\" นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี คุม \"เหล่าทัพ\"

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

นายกรัฐมนตรี พร้อมควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม (24 ก.ย. 2551 -2 ธ.ค. 2551)

เพื่อสร้างบรรยากาศไม่ให้เกิดบรรยากาศการเป็นศัตรูกับบรรดาบิ๊กทหาร

\"กลาโหม\" สำคัญไฉน? เมื่อ \"พลเรือน\" นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี คุม \"เหล่าทัพ\"

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นายกรัฐมนตรี พร้อมควบเก้าอี้ รมว.กลาโหม (30 มิ.ย. 2556 - 7 พ.ค.2557)

เพื่อถ่วงดุลอำนาจการเมืองกับบรรดาบิ๊กทหาร ขณะนั้นมีกระแสต่อต้านจากหลายฝ่ายในกองทัพ โดยมุ่งเป้าโจมตี ไม่มีประสบการณ์ทางการทหาร

\"กลาโหม\" สำคัญไฉน? เมื่อ \"พลเรือน\" นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี คุม \"เหล่าทัพ\"

หาก นายสุทิน คลังแสง ได้เป็น รมว.กลาโหม คนที่ 42 จะถือเป็น “พลเรือน” คนที่ 5

และเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ของกระทรวงกลาโหม และการเมืองไทย ที่เป็น รมว.กลาโหม แต่ไม่ได้นั่งควบเก้าอี้นายกรัฐมนตรี 

โดยจะมีบทบาทและอำนาจ คุมงานด้านความมั่นคงของประเทศ ที่มีกำลังพล 3 เหล่าทัพในสังกัด มากถึง 305,860 นาย รวมทั้งบริหารงบประมาณกระทรวงกลาโหม ถึง 198,562 ล้านบาท ตามงบประมาณปี 2567

แต่สุดท้ายแล้วเมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่งแล้ว จะได้รับการยอมรับ จาก “กองทัพ” หรือไม่  เป็นเรื่องที่  "ว่าที่ รมว.กลาโหม" จะต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยผลงาน

logoline