svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

รัฐอย่าโยนรถบรรทุกเป็น "แพะรับบาป" ทำถนนพัง แนะ ออกตั๋วซื้อน้ำหนักเพิ่ม

08 มิถุนายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อดีตผู้รับเหมาก่อสร้าง ชี้ รัฐอย่าโยนให้รถบรรทุกเป็น "แพะรับบาป" ทำถนนพัง แนะ ออกตั๋วซื้อน้ำหนักเพิ่มเก็บเงินเข้ารัฐ เพื่อพัฒนาการคมนาคมทั่วประเทศ

8 มิถุนายน 2566 แม้ว่าส่วยรถบรรทุกที่มาในรูปแบบของสติ๊กเกอร์นั้น ที่ถูกจุดกระแสขึ้นมาอีกครั้งจาก วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายรัฐมนต "อุกกาบาต" แต่ความจริงแล้วปัญหาดังกล่าวมีมานานกว่า 30 ปี และเกิดขึ้นบนถนนทางหลวงสายหลักทั่วประเทศ ซึ่งจากสถิติของสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ระบุว่า มีรถบรรทุกถึงร้อยละ 20 จากรถทั้งหมด 5,500,000 คัน ที่ทำผิดกฎหมาย

"อุกกาบาต" ทลายส่วย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

อดีตนักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายหนึ่ง ในจ.สงขลา ให้ข้อมูลกับทีมข่าว "เนชั่นทีวี" ถึงขบวนการรับส่วยนั้น ต้นเหตุไม่ได้เกิดมาจากผู้รับเหมาก่อสร้างฝ่ายเดียว แต่เกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐปล่อยปละละเลยในทุกกระบวนการ โดยมองสาเหตุว่า รถบรรทุกน้ำหนักเกินทำให้ถนนพัง ซึ่งหากมองย้อนกลับไป ถนนที่ไม่ได้คุณภาพหรือไม่ ที่เป็นสาเหตุของทั้งหมด

     ทำไมต้องจ่ายส่วย

อดีตนักธุรกิจรับเหมา ยอมรับด้วยว่า ตั้งแต่ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างตั้งแต่ปี 2531 ก็คุ้นชินกับการจ่ายส่วยมาโดยตลอดในทุกสายงานและสารภาพว่า ส่วยมีอยู่จริงและเป็นการสมประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ประกอบการ ส่วนเหตุผลที่จำเป็นต้องบรรทุกน้ำหนักเกินนั้น หากยกตัวอย่างให้เห็นชัดคือ

ในวันที่ประมูลงานได้มา ขณะนั้นน้ำมันอยู่ที่ราคา 16-18 บาทต่อลิตร ต่อมาในวันที่เริ่มทำงานเกิดสงครามยูเครน-รัสเซีย ราคาน้ำมันพุ่งไปถึง 35 บาทต่อลิตร ผู้ประกอบการต้องแบกรับส่วนต่างที่เกิดขึ้น จึงต้องหาทางทำขาดทุนน้อยที่สุด ซึ่งโครงการของรัฐบางโครงการก่อสร้างนานถึง 3 ปี และบวกต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งค่าแรง ราคารถ ซึ่งหากไม่บรรทุกน้ำหนักเกินก็จะทำให้ธุรกิจอยู่ไม่ได้ ซึ่งผู้ประกอบการทุกคนก็ไม่อยากทำผิดกฎหมาย

รัฐอย่าโยนรถบรรทุกเป็น \"แพะรับบาป\" ทำถนนพัง แนะ ออกตั๋วซื้อน้ำหนักเพิ่ม

     ผู้รับเหมา "แพะรับบาป"

ขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐบางคนกล่าวหาว่า รถบรรทุกที่บรรทุกน้ำหนักเกินแล้วทำถนนพังนั้น อดีตนักธุรกิจผู้รับเหมามองว่า รถบรรทุกสิบล้อเพียง 20 เปอร์เซ็นที่ทำถนนพังแต่อีก 80 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากการก่อสร้างถนนในปัจจุบันที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่มีคุณภาพ อีกทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องยังทุจริตในทุกรูปแบบอีกด้วย เพราะฉะนั้นจะมาโยนบาปให้ผู้รับเหมาและรถบรรทุกฝ่ายเดียวเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้รับเหมากลายเป็นแพะรับบาปในที่สุด

นอกจากนี้อดีตนักธุรกิจรับเหมารายนี้ ยังเสนอด้วยว่า หากต้องการแก้ปัญหาส่วยต้องเริ่มที่การแก้กฎหมายทั้งระบบรวมทั้งบูรณาการร่วมกันทุกฝ่าย ผู้ประกอบการอยู่ได้ รัฐไม่เสียผลประโยชน์ เช่น การแก้ไขกฎหมายเพิ่มน้ำหนักให้รถบรรทุกจาก 20 ตันเป็น 30 ตัน และทุกฝ่ายยอมรับกติการ่วมกัน

จากนั้นรัฐก็ทำตั๋วพิเศษ เหมือนการโดยสารเครื่องบินหากต้องการนั่งชั้น Business คุณก็เพิ่มเงินและก็ได้ไปเครื่องบินลำเดียวกัน และให้หน่วยงานของรัฐทั้งตำรวจและฝ่ายปกครองมีสิทธิ์จับกุมได้หมดและช่วยกันสอดส่องดูแล โดยการซื้อตั๋วเพิ่มน้ำหนักจากหน่วยงานของรัฐหรือที่ทางผู้มีอำนาจกำหนดขึ้นมา และนำเงินที่ได้มาบริหารจัดการบำรุงรักษาและซ่อมแซมถนนทั่วประเทศต่อไป และเชื่อว่าปัญหาเรื่องส่วยรถบรรทุกจะหมดไปหากทุกฝ่ายบูรณาการในการแก้ปัญหาร่วมกัน

     แก้กฎหมายล้าหลัง

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการขนส่งและรถบรรทุก อยุธยา ได้เสนอการแก้ปัญหาส่วยสติ๊กเกอร์ ว่า ต้องแก้ที่กฎหมายที่ล้าสมัย ไม่ทันต่อรูปแบบและราคาของรถบรรทุก ซึ่งกฎหมายน้ำหนักบรรทุก ใช้มากว่า 20 ปี กฎหมายกำหนดกำลังแรงม้ารถที่ 180 ในขณะที่ที่กำลังแรงมารถในปัจจุบัน 300 แรงม้า ราคา 3.5 ล้านบาท ขณะที่เมื่อ 20 ปีก่อนราคา 1.3 ล้านบาท อีกทั้งโทษแบกน้ำหนักเกินเป็นคดีอาญาและรุนแรง ดังนั้นการแก้ปัญหา

รัฐอย่าโยนรถบรรทุกเป็น \"แพะรับบาป\" ทำถนนพัง แนะ ออกตั๋วซื้อน้ำหนักเพิ่ม

     1.แก้กฎหมายเพื่อจูงใจไม่ต้องจ่าย ส่วย โดยขยับการบรรทุกน้ำหนักเพิ่มขึ้น แต่ไม่ให้กระทบกับโครงสร้างของถนนและสะพาน

     2.ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้รับส่วย หรือเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะในระดับล่าง ซึ่งปัจจุบันมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำมาก มีใครเคยลงไปดูหรือไม่ เพราะทุกคนต้องดิ้นรนเอาตัวรอด

     รัฐต้องหาสถาบันการเงินช่วยเหลือ

ส่วนการแก้ปัญหาระยะสั้น ควรจะมีการอนุโลม ให้รถบรรทุกทุกขนาด บรรทุกน้ำหนักได้เต็มพิกัด แต่ไม่กระทบต่อระบบโครงสร้างของถนนและสะพาน ซึ่งเคยทำมาแล้วในช่วงปี 2555 ที่กรมทางหลวงเคยผ่อนผันและยกเลิกประกาศในปี 2557

นอกจากนี้ รัฐควรคุยกับสถาบันการเงิน ในการพักชำระหนี้ให้กับผู้ประกอบการรถขนส่งและรถบรรทุกรายย่อยได้หรือไม่ เช่นเดียวกับช่วงโควิด

อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหา เรื่องการรับส่วย จากการบรรทุกน้ำหนักเกินมามานานแล้ว แต่ทำไม่สำเร็จสักครั้ง แต่ระบบเศรษฐกิจของคนชั้นล่างพังไปแล้ว เสียไปแล้ว ถ้าครั้งนี้ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ก็จะกลับเข้าไปสู่ระบบเดิมอีก เพราะทุกคนต้องดิ้นรนเอาตัวรอด

     ปัญหาที่แก้ไขได้เลย 

ทั้งนี้กรมทางหลวง เคยออกประกาศผู้อำนวยการทางหลวงพิเศษ ผู้อำนวยการทางหลวงแผ่นดิน และผู้อำนวยการทางหลวงสัมปทาน เรื่อง ห้ามให้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้น อาจทำให้ทางหลวงเสียหาย เดินบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2556 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2557 โดยให้รถพ่วง 6 เพลา 20 ล้อ ให้มีน้ำหนักรถบรรทุกไม่เกิน 52 ตัน รถพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ให้มีน้ำหนักรถบรรทุกไม่เกิน 53 ตัน และรถพ่วง 7 เพลา 24 ล้อ ให้มีน้ำหนักรถบรรทุกไม่เกิน 58 ตันนั้น ตั้งแต่ 1 ก.ค. 57 รถบรรทุกตั้งแต่ 6 เพลา 20 ล้อขึ้นไปต้องบรรทุกไม่เกิน 50.5 ตัน หลังจากผ่อนผันให้

รัฐอย่าโยนรถบรรทุกเป็น \"แพะรับบาป\" ทำถนนพัง แนะ ออกตั๋วซื้อน้ำหนักเพิ่ม

รัฐอย่าโยนรถบรรทุกเป็น \"แพะรับบาป\" ทำถนนพัง แนะ ออกตั๋วซื้อน้ำหนักเพิ่ม

logoline