svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"เลือกตั้ง66" เปิด"คู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน" กกต. แจงยิบก่อนเข้าคูหา

12 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"กกต."เปิด"คู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน" เตรียมความพร้อมก่อน"เลือกตั้ง66" เช็กสิทธิทั้งผู้สมัครเลือกตั้งส.ส. และผู้ไปใช้สิทธิลงคะแนน กฎเหล็กข้อห้ามต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง โหลดเลยฉบับเต็มที่นี่

12 กุมภาพันธ์  2566  "การเลือกตั้ง 66" กำลังใกล้เข้ามาทุกขณะ  เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทุกแขนงวิชาชีพ ได้รับความรู้ความเข้าใจ ในการเตรียมพร้อมเลือกตั้ง  สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จึงได้จัดทำ"คู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน"(คลิก) 

 

โดย คู่มือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไป พ.ศ.2566 (ฉบับประชาชน) เพื่อให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ศึกษาเป็นข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างถูกต้อง

 

\"เลือกตั้ง66\" เปิด\"คู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน\" กกต. แจงยิบก่อนเข้าคูหา

 

สำหรับ "คู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน" มีจำนวน 22 หน้า ภายในมีเนื้อหา คำอธิบาย แบ่งเป็นหมวดหมู่  ตั้งแต่ความสำคัญของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)  หน้าที่และอำนาจของส.ส.  จำนวนและที่มาของส.ส.  การประกาศผลการเลือกตั้ง  คุณสมบัติของผู้สมัครเป็น ส.ส. 

 

รวมไปถึงการเตรียมพร้อมก่อนไปเลือกตั้ง  การแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะถูกจำกัดสิทธิอะไรบ้าง เป็นต้น  

\"เลือกตั้ง66\" เปิด\"คู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน\" กกต. แจงยิบก่อนเข้าคูหา

 

\"เลือกตั้ง66\" เปิด\"คู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน\" กกต. แจงยิบก่อนเข้าคูหา

\"เลือกตั้ง66\" เปิด\"คู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน\" กกต. แจงยิบก่อนเข้าคูหา

"กกต." ยังได้ ระบุุถึงข้อห้ามและความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งส.ส.  โดยสามารถสอบถามข้อมููลการเลือกตั้งและข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่สายด่วน 1444   

\"เลือกตั้ง66\" เปิด\"คู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน\" กกต. แจงยิบก่อนเข้าคูหา

นอกจากนี้ เนื้อหาท้ายเล่ม ยังได้มีการนำเสนอ ประเด็นสาระน่ารู้  พร้อมกับเปิดใจ "แสวง บุญมี" เลขาธิการ กกต. ถึงข้อสงสัยจากฝ่ายการเมือง สื่อมวลชน ถึงการเตรียม"เลือกตั้ง66" นี้อีกด้วย 

 

สำหรับสาระน่ารู้ในคู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน  อย่างเช่น 

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

1.มีสัญชาติไทย ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

2.มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง

3.เป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง

 

แฟ้มภาพ  บรรยากาศการเลือกตั้งที่ผ่านมา

หลักฐานที่ใช้แสดงตนในการลงคะแนนเลือกตั้ง

1.บัตรประจําตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)

2.บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการ หรือหน่วยงานของรัฐออกให้มีรูปถ่ายและเลขประจําตัวประชาชน (ที่ยังไม่หมดอายุ) เช่น

- บัตรประจําตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ

- ใบขับขี่

- หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) ฯลฯ

 

 

บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

1. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

2. อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่

3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

4. วิกลจริตหรือฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

\"เลือกตั้ง66\" เปิด\"คู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน\" กกต. แจงยิบก่อนเข้าคูหา

การเตรียมความพร้อมก่อนไปเลือกตั้ง

1.เตรียมหลักฐานที่ใช้ในการลงคะแนน

จัดเตรียมบัตรประจําตัวประชาชน (บัตรหมดอายุก็ใช้ได้) บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจําตัวประชาชน(ที่ยังไม่หมดอายุ)ไว้ให้พร้อม

2.ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน ตรวจสอบรายชื่อได้ที่หน่วยเลือกตั้ง หรือที่ใกล้เคียง ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วัน ตรวจสอบรายชื่อ จากเอกสารที่แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปยังเจ้าบ้าน

การเพิ่มชื่อ - ถอนชื่อ

ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน หากพบว่า ตนเองหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตนไม่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือเจ้าบ้านเห็นว่า มีชื่อบุคคลอื่นอยู่ในทะเบียนบ้านของตน โดยไม่ได้อาศัยอยู่จริงให้ยื่นคําร้องต่อนายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น เพื่อขอเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ

\"เลือกตั้ง66\" เปิด\"คู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน\" กกต. แจงยิบก่อนเข้าคูหา

การแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

ถ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้เนื่องจากมีเหตุจําเป็น ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ต่อนายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยทําเป็นหนังสือ ซึ่งต้องระบุเลขประจําตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน สามารถแจ้งด้วยตัวเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทนหรือจัดส่งทางไปรษณีย์หรือแจ้งเหตุทางอิเล็กทรอนิกส์ภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง (ภายใน) หรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง (ภายใน)

หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะถูกจำกัดสิทธิ ดังนี้

1. การยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส.

2. การสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ส.ว. ผถ.

3. สมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้าน

4. ดํารงตําแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง

5. ดํารงตําแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา คณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น

*** ระยะเวลาการจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง *****

\"เลือกตั้ง66\" เปิด\"คู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน\" กกต. แจงยิบก่อนเข้าคูหา


 

การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ล่วงหน้า การลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง

ผู้มีสิทธิยื่นคำขอ ได้แก่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

1. มีถิ่นที่อยู่ซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีอยู่ในทะเบียนบ้าน หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งน้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง หรือ

2. ที่ได้รับคําสั่งแต่งตั้งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง

ผู้มีสิทธิยื่นคำขอ ได้แก่

1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ได้รับคําสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง

หรือ

2. บุคคลที่มีหลักฐานแสดงว่าในวันเลือกตั้งตนมีหน้าที่จะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ ณ ที่อื่นใดนอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้งจนไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งได้

การยื่นคำขอ ยื่นคําขอลงทะเบียนต่อนายอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิหรือเขตเลือกตั้งที่

ประสงค์ขอลงคะแนนพร้อมสําเนาบัตรประชาชนหรือสําเนาบัตรอื่นที่หน่วยงานของรัฐออกให้มีรูปถ่ายและเลขประจําตัวประชาชน โดยชี้แจงเหตุผลความจําเป็นและแสดงหลักฐานว่าไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเลือกตั้งได้สามารถยื่นคําขอได้ด้วยตนเอง มอบหมายผู้อื่นยื่นแทนหรือยื่นทางไปรษณีย์ หรือทางอินเทอร์เน็ต (เฉพาะขอใช้สิทธินอกเขตเลือกตั้ง/นอกราชอาณาจักร) ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน

การอำนวยความสะดวกแก่คนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุในการลงคะแนนเลือกตั้ง

ในการลงคะแนนเลือกตั้ง กกต. ได้จัดให้มีการอํานวยความสะดวกแก่คนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ ดังนี้

1. หน่วยเลือกตั้งปกติ โดยจัดให้มีบัตรทาบสําหรับคนพิการทางสายตา และการอํานวยความสะดวกอื่นๆ โดยมี กปน.เป็นผู้ช่วยในการใช้สิทธิลงคะแนน

2. ที่เลือกตั้งกลางสําหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ โดยผู้จะใช้สิทธิต้องลงทะเบียนขอใช้สิทธิ ณ ที่เลือกตั้งกลางที่กําหนด และเมื่อลงทะเบียนแล้วให้หมดสิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

*** ในการช่วยเหลือในการลงคะแนนต้องให้บุคคลนั้นได้ออกสียงลงคะแนนด้วยตนเองตามเจตนาของบุคคลนั้น เว้นแต่ลักษณะทางกายภาพที่ทําให้ไม่สามารถทําเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งได้ให้บุคคลอื่นหรือ กปน. เป็นผู้กระทําการแทนโดยความยินยอมและเป็นไปตามเจตนา ทั้งนี้ให้ถือว่าเป็นการลงคะแนนโดยตรงและลับ ***

\"เลือกตั้ง66\" เปิด\"คู่มือเลือกตั้งฉบับประชาชน\" กกต. แจงยิบก่อนเข้าคูหา

ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกตั้ง

1. ตรวจสอบรายชื่อ และลําดับที่จากบัญชีรายชื่อที่ประกาศไว้หน้าที่เลือกตั้ง

2. ยื่นหลักฐำนแสดงตน บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรหรือหลักฐานที่ทางราชการหรือ หน่วยงานรัฐออกให้ ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจําตัวประชาชนลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีรายชื่อ

3. รับบัตรเลือกตั้ง ลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือบนขั้วบัตรเลือกตั้งพร้อมรับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต และบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ

4. ทำเครื่องหมายกากบาท เข้าคูหาลงคะแนนทําเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในช่อง ทําเครื่องหมายดังนี้ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เลือกผู้สมัครได้หนึ่งคน บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเลือกได้ไม่เกินหนึ่งพรรคการเมือง หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครผู้ใดหรือพรรคการเมืองใด ให้ทําเครื่องหมายกากบาท (X) ในช่อง ไม่เลือกผู้สมัครใดหรือไม่เลือกพรรคการเมืองใด แล้วพับบัตรเลือกตั้ง

5. ใส่บัตรเลือกตั้งลงในหีบบัตร นําบัตรเลือกตั้งที่พับเรียบร้อยแล้วใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้ง ด้วยตนเอง สำนักประชาสัมพันธ์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สายด่วน 1444 การอำนวยความสะดวกแก่คนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุในการลงคะแนนเลือกตั้ง ในการลงคะแนนเลือกตั้ง กกต. ได้จัดให้มีการอํานวยความสะดวกแก่คนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ ดังนี้

1. หน่วยเลือกตั้งปกติ โดยจัดให้มีบัตรทาบสําหรับคนพิการทางสายตา และการอํานวยความสะดวกอื่นๆ โดยมี กปน.เป็นผู้ช่วยในการใช้สิทธิลงคะแนน

2. ที่เลือกตั้งกลางสําหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ โดยผู้จะใช้สิทธิต้องลงทะเบียนขอใช้สิทธิ ณ ที่เลือกตั้งกลางที่กําหนด และเมื่อลงทะเบียนแล้วให้หมดสิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

*** ในการช่วยเหลือในการลงคะแนนต้องให้บุคคลนั้นได้ออกสียงลงคะแนนด้วยตนเองตามเจตนาของบุคคลนั้น เว้นแต่ลักษณะทางกายภาพที่ทําให้ไม่สามารถทําเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งได้ให้บุคคลอื่นหรือ กปน. เป็นผู้กระทําการแทนโดยความยินยอมและเป็นไปตามเจตนา ทั้งนี้ให้ถือว่าเป็นการลงคะแนนโดยตรงและลับ ***

ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกตั้ง


1. ตรวจสอบรายชื่อ และลําดับที่จากบัญชีรายชื่อที่ประกาศไว้หน้าที่เลือกตั้ง

2. ยื่นหลักฐานแสดงตน บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรหรือหลักฐานที่ทางราชการหรือ หน่วยงานรัฐออกให้ ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจําตัวประชาชนลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีรายชื่อ

3. รับบัตรเลือกตั้ง ลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือบนขั้วบัตรเลือกตั้งพร้อมรับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต และบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ

4. ทำเครื่องหมายกากบท เข้าคูหาลงคะแนนทําเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในช่อง ทําเครื่องหมายดังนี้ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เลือกผู้สมัครได้หนึ่งคน บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเลือกได้ไม่เกินหนึ่งพรรคการเมือง หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครผู้ใดหรือพรรคการเมืองใด ให้ทําเครื่องหมายกากบาท (X) ในช่อง ไม่เลือกผู้สมัครใดหรือไม่เลือกพรรคการเมืองใด แล้วพับบัตรเลือกตั้ง

5. ใส่บัตรเลือกตั้งลงในหีบบัตร นําบัตรเลือกตั้งที่พับเรียบร้อยแล้วใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง 

*** ในการช่วยเหลือในการลงคะแนนต้องให้บุคคลนั้นได้ออกเสียงลงคะแนนด้วยตนเองตามเจตนาของ *** 

1. ตรวจสอบรายชื่อ และลำดับที่จากบัญชีรายชื่อที่ประกาศไว้หน้าที่เลือกตั้ง

2. ยื่นหลักฐานแสดงตน บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรหรือหลักฐานที่ทางราชการหรือหน่วยงานรัฐ ออกให้ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชนลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีรายชื่อ

3. รับบัตรเลือกตั้ง ลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือบนขั้วบัตรเลือกตั้งพร้อมรับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต และบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ

4. ทำเครื่องหมายกากบาท เข้าคูหาลงคะแนนทำ เครื่องหมายกากบาท (X) ลงในช่องทำ เครื่องหมาย ดังนี้ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เลือกผู้สมัครได้หนึ่งคน บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเลือกได้ ไม่เกินหนึ่งบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครผู้ใดหรือบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด ให้ทำ เครื่องหมายกากบาท (X) ในช่องไม่เลือกผู้สมัครใดหรือไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด แล้วพับบัตรเลือกตั้ง

5. ใส่บัตรเลือกตั้งลงในหีบบัตร นำบัตรเลือกตั้งที่พับเรียบร้อยแล้วใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเองการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ห้ามมิให้

1. ผู้ใดซึ่งรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนพยายามออกเสียงลงคะแนน หรือออกเสียงลงคะแนนโดยแสดงหลักฐานที่ไม่ใช่ตนเอง

2. ผู้ใดจงใจกระทําด้วยประการใดๆ ให้บัตรเลือกตั้งชํารุด หรือเสียหายหรือให้บัตรเสีย หรือกระทําด้วยการใดๆ แก่บัตรเสียเพื่อให้เป็นบัตรที่ใช้ได้

3. ผู้ใดซึ่งมิได้มีสัญชาติไทยเข้ามีส่วนช่วยเหลือในการหาเสียง

4. ผู้ใดเล่นหรือจัดให้มีการเล่นการพนันขั้นต่อใดๆ เกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง

5. ผู้ใดหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการใดไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง นับตั้งแต่เวลา 18:00 น.ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง

6. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ตนได้ลงคะแนนเลือกตั้งแล้ว

7. ผู้ใดขาย จําหน่าย จ่ายแจก หรือจัดเลี้ยงสุราทุกชนิดในเขตเลือกตั้งในระหว่างเวลา 18:00 น.ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนถึงเวลา 18:00 น. ของวันเลือกตั้ง

8. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเรียก รับ หรือยอมที่จะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อลงคะแนนหรืองดเว้นไม่ลงคะแนน

9. ผู้ใดกระทําการอันเป็นเท็จเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่า ผู้สมัครผู้ใดกระทําการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้ง หรือเพื่อจะแกล้งให้ผู้สมัครผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

10. ผู้ใดจงใจทําเครื่องหมายเพื่อเป็นที่สังเกตโดยวิธีใดไว้ที่บัตรเลือกตั้ง

11. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนําบัตรเลือกตั้งออกไปจากที่เลือกตั้ง

การดำเนินการกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ถ้ากกต. สืบสวนหรือไต่สวนแล้วเห็นว่า มีหลักฐานอันควร เชื่อได้ว่า ผู้สมัครกระทําการหรือก่อให้ผู้อื่นกระทํา สนับสนุนหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลอื่นกระทําการดังกล่าว หรือรู้ว่ามีการกระทําแล้ว แต่ไม่ดําเนินการระงับการกระทํานั้น ให้ กกต. สั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครนั้นเป็นการชั่วคราว เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และในกรณีที่ผู้นั้นได้คะแนนอยู่ในลําดับที่จะได้รับเลือกตั้งให้สั่งยกเลิกการเลือกตั้งและ ให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ใบส้ม)

ก่อนหรือในวันเลือกตั้ง เมื่อ กกต. สืบสวนหรือไต่สวนแล้วหรือพบเห็นการกระทําที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรมหรือเป็นไปมิชอบด้วยกฎหมาย กกต. มีอํานาจสั่งยกเลิกการเลือกตั้งและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ (ใบเหลือง)

หลังประกาศผลการเลือกตั้ง เมื่อประกาศผลการเลือกตั้งแล้วปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดมิได้เป็นไป โดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม แต่ไม่ได้ความชัดว่า เป็นการกระทําของผู้ได้รับเลือกตั้ง ให้ กกต. ยื่นคําร้องต่อศาลฎีกา เพื่อพิจารณา ในกรณีที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งนั้นมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรมให้ศาลสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่สําหรับเขตเลือกตั้งนั้น (ใบเหลือง) 

เมื่อ กกต. สั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัคร (ใบส้ม) หรือภายหลังประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครหรือผู้ใดกระทําการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง หรือรู้เห็นกับการกระทําของบุคคลอื่น ให้ กกต. ยื่นคําร้องต่อศาลฎีกา เพื่อสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (ใบดํา) หรือเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้ง (ใบแดง) ของผู้นั้น

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนการเลือกตั้ง - ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ /จัดเตรียมบัตรประชาชนหรือบัตรตามที่กฎหมายกําหนด

- ศึกษาระบบ/วิธีการเลือกตั้ง/ขั้นตอนลงคะแนนเลือกตั้ง

- ร่วมรณรงค์/เชิญชวนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

- ติดตามการหาเสียง/ศึกษาข้อมูลผู้สมัคร นโยบายพรรคการเมือง

- สอดส่องดูแล เฝ้าระวังการทุจริตการเลือกตั้ง ในวันเลือกตั้ง

- ใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างมีคุณภาพ รู้เท่าทัน

- สังเกตการณ์การทําหน้าที่ กปน.

- สังเกตการณ์การลงคะแนน/นับคะแนน

หลังการเลือกตั้ง - ติดตาม ตรวจสอบการทํางานของผู้แทน - ศึกษาหาข้อมูล เพื่อรู้เท่าทันการเมือง (Active Citizen)

 

คลิกอ่าน  >>>

คู่มือเลือกตั้งประชาชนฉบับเต็ม

logoline