svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดคำสั่ง "ยกเลิกครูเวร" ยกเลิกอะไรบ้างจากมติ ครม.เดิม แล้วใครต้อง "อยู่เวร" แทนครู?

26 มกราคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดหนังสือด่วนที่สุด สั่งการกรณี "ยกเลิกครูเวร" พบไม่ได้ยกเลิกมติ ครม. 6 ก.ค.42 แต่ให้ยกเว้นการปฏิบัติ พร้อมมอบหมายมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดูแลความปลอดภัย

26 มกราคม 2567 จากกรณีครูสาวในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ถูกบุกทำร้ายร่างกายขณะเข้าเวรในโรงเรียน จนกระทั่งเกิดกระแส "ยกเลิกครูเวร" ร้อนแรง เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทั่งรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ ต้องออกมาเคลื่อนไหวแก้ปัญหา

เบื้องต้น ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา นำเรื่องนี้เข้าพิจารณา หลังการกระชุม นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ได้ออกมาระบุว่า ที่ประชุม ครม. มีมติให้ ยกเว้น มติครม. วันที่ 6 ก.ค.2542 ซึ่งเวลาผ่านมากว่า 20 ปีที่แล้ว ปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนไป จึงให้ยกเลิก ยกเว้น โดยสั่งการให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ดูแลความปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม บุคลากรครู ยังคงไม่มีความมั่นใจ ยังคงเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เพื่อขอให้มีการสั่งการ หรือมีหนังสือสั่งการที่ชัดเจน รวมทั้งเสนอให้มีการยกเลิกโดยปราศจากเงื่อนไข พร้อมทั้งได้เปิดเผยถึงความจริงที่ปิดซ่อนไว้ 20 ข้อ ตามข่าวที่เสนอไปก่อนหน้านี้
คนร้ายบุกทำร้ายครูเวร ถึงในโรงเรียนที่จังหวัดเชียงราย

ล่าสุด ช่วงเช้าวันนี้ (26 ม.ค.) นายชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง ได้โพสต์ข้อความ พร้อมหนังสือด่วนที่สุด สำนักนายกรัฐมนตรี ผ่านเพจเฟซบุ๊ก "ชัชวาล อภิรักษ์มั่นคง-Chutchawan Apirukmonkong" มีรายละเอียดระบุว่า..

[ยินดีกับคุณครู  ที่มีการยกเว้น ให้ครูไม่ต้องนอนเวร] 
พรรคก้าวไกล มีนโยบายตั้งแต่ช่วงหาเสียงจนถึงวันนี้ แต่กังวลว่าวาระการประชุมและรายงานการประชุมไม่ปรากฏแต่อย่างใด  

แต่เมื่อวาน มีหนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่เป็นทางการออกแล้ว เป็นที่ชัดเจนว่า ไม่มีวาระพิจารณา แต่นายกรัฐมนตรีเสนอ ให้..ยกเว้น… และ ครม.มีมติเห็นชอบ

ไม่ใช่..ยกเลิก..มติ ครม. เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542  เป็นเพียงยกเว้น และมีผลให้ครูไม่ต้องอยู่เวร …. 

ขอแสดงยินดีด้วยความจริงใจ กับเพื่อนครูทุกคน 
เปิดคำสั่ง \"ยกเลิกครูเวร\" ยกเลิกอะไรบ้างจากมติ ครม.เดิม แล้วใครต้อง \"อยู่เวร\" แทนครู?

สำหรับเนื้อหาและรายละเอียดของเอกสารดังกล่าว นางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ลงนามในหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/6 37 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล กทม. 10300 ลงวันที่ 25 มกราคม 2567 มีรายละเอียด ดังนี้..

เรื่อง การดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ
กราบเรียน/เรียน รอง - นรม., รัฐ - นร. กระทรวง, กรม
อ้างถึง หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0206/ว 107 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2542

ตามที่ได้ยืนยัน/แจ้งมติคณะรัฐมนตรี (6 กรกฎาคม 2542) เกี่ยวกับเรื่อง การปรับปรุง แก้ไขหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ มาเพื่อทราบ ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น

ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 (เรื่อง การปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ) กำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐจัดให้มีเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ หรือหน่วยงานนอกเวลาราชการและในวันหยุดราชการ นั้น พบว่า

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีครูและบุคลากรทางการศึกษาเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากการที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง ประกอบกับปัจจุบันมีบุคคลและเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ช่วยดูแลรักษาความปลอดภัยของสถานที่ราชการหรือหน่วยงานของรัฐแทนได้ เช่น การใช้พนักงานรักษาความปลอดภัย การจ้างเอกชนให้บริการดูแลรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

นอกจากนี้ การให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่เวรรักษาการณ์ในสถานศึกษา ยังอาจเป็นการกำหนดหน้าที่ที่เพิ่มความเสี่ยงให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยไม่จำเป็น ดังนั้น จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้

1. ให้กระทรวงศึกษาธิการ (สถานศึกษาในสังกัด) รวมทั้งกระทรวงอื่น ๆ ที่มีสถานศึกษาในสังกัด เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย ตลอดจนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2562 (เรื่อง การปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ)

และมอบหมายกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (หน่วยงานในสังกัดในแต่ละพื้นที่) ประสานกับสถานศึกษาในพื้นที่แต่ละแห่ง เพื่อจัดเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของสถาศึกษาดังกล่าว ทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ตามความจำเป็นและเหมาะสม

2. ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐทุกแห่งที่มีระบบรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันอยู่แล้ว ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 (เรื่อง การปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ ประจำสถานที่ราชการ) นอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้แล้วในข้อ 9 ของมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวด้วย

ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ

จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดทราบ / จึงเรียนยืนยันมา / จึงเรียนยืนยันมาและถือปฏิบัติต่อไป / จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ / จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติต่อไป

ขอแสดงความนับถือ (อย่างยิ่ง)
นางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
เปิดคำสั่ง \"ยกเลิกครูเวร\" ยกเลิกอะไรบ้างจากมติ ครม.เดิม แล้วใครต้อง \"อยู่เวร\" แทนครู?
ทำไมต้องมี "ครูเวร" ?
การเป็นครูในประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากหน้าที่สอนหนังสือ ให้ความรู้นักเรียนแล้ว ยังต้องทำอีกสารพัดหน้าที่ หนึ่งในนั้นคือหน้าที่ “อยู่เวร” ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ บางครั้งยังต้องมาเข้าเวรกลางคืน ในช่วงเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดพิเศษต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งช่วงปิดเทอม ที่ไม่มีการเรียนการสอน

ทั้งที่ในปัจจุบัน โรงเรียนและสถานศึกษาส่วนใหญ่ มีการจ้าง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) และติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอื่น ๆ เช่น กล้องวงจรปิด สัญญาณกันขโมย ประตูรั้วเหล็กสูงใหญ่ ฯลฯ แต่ท้ายที่สุดภาระก็ต้องตกเป็นของครู ที่ต้องมาเฝ้าเวรอยู่ดี

คนที่เข้ามาทำหน้าที่ครู จะรู้เข้าใจว่า เป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันว่า ครูเวร มีหน้าที่การเข้าเวร หรือ นอนเวรกลางคืนที่โรงเรียน เพื่อเฝ้าทรัพย์สินทางราชการ ตลอดจนดูแลความปลอดภัยอื่น ๆ ซึ่งโรงเรียนจะมีที่พักให้ ตามศักยภาพของโรงเรียนนั้น ๆ เช่น โรงเรียนขนาดใหญ่ในเมือง ที่มีศักยภาพสูง ที่พักครูเวร ก็อาจจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ แต่หากเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ในพื้นที่่ต่างจังหวัด หรูหน่อยก็อาจจะเป็นบ้านพักครู หรือเป็นเพียงห้องในอาคารเรียนที่ถูกดัดแปลงเป็นที่พักครูเวรเท่านั้น 

"ครูเวร" มีหน้าที่อะไร
เหตุผลที่ต้องมีการทำหน้าที่ครูเวร เป็นไปตาม มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2542 ซึ่งเป็นการแก้ไขมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 เม.ย. 36 เรื่องการจัดเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ ที่ระบุให้สถานที่ราชการทุกแห่ง ต้องจัดให้มีเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ หรือหน่วยงานนอกเวลา และในวันหยุดราชการตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อดูแลป้องกันความเสียหาย อันจะบังเกิดแก่สถานที่ราชการหรือหน่วยงานจากกรณีต่าง ๆ  มีหลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการณ์ ดังต่อไปนี้
เปิดคำสั่ง \"ยกเลิกครูเวร\" ยกเลิกอะไรบ้างจากมติ ครม.เดิม แล้วใครต้อง \"อยู่เวร\" แทนครู? เปิดคำสั่ง \"ยกเลิกครูเวร\" ยกเลิกอะไรบ้างจากมติ ครม.เดิม แล้วใครต้อง \"อยู่เวร\" แทนครู? เปิดคำสั่ง \"ยกเลิกครูเวร\" ยกเลิกอะไรบ้างจากมติ ครม.เดิม แล้วใครต้อง \"อยู่เวร\" แทนครู?

logoline