svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย "ควีนเอลิซาเบธที่ 2"

29 ธันวาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ประวัติศาสตร์โลกพลิกโฉมหน้าเมื่อสหราชอาณาจักรสูญเสียสมเด็จพระราชินีนาถ ที่ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 70 ปี และได้ชื่อว่าทรงงานมาตลอดพระชนม์ชีพ เพื่อส่งต่อพระราชบัลลังก์ที่มั่นคงให้แก่พระมหากษัตริย์รุ่นต่อ ๆ ไป

หนึ่งในข่าวใหญ่ที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์สมัยใหม่ คือข่าวการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่ทำให้สหราชอาณาจักรที่ปกครองโดย "สตรี" มายาวนานถึง 70 ปี กลับไปอยู่ในความปกครองบุรุษคือ "พระเจ้าชาร์ลสที่ 3" และเป็นไปได้ว่าจะถูกปกครองโดยบุรุษอีกอย่างน้อย 2 เจนเนอเรชั่น เนื่องจากองค์รัชทายาทที่สืบทอดบัลลังก์อีก 2 ลำดับ คือเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ และเจ้าชายจอร์จ

เมื่อหลายสิบปีก่อนไม่เคยมีใครคาดคิดว่าสหราชอาณาจักรจะถูกปกครองโดยสตรี โดยเฉพาะเมื่อตอนที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี วินด์เซอร์ ประสูติเมื่อวันที่ 21 เมษายน ปี ค.ศ.1926 ก็ไม่มีใครคาดว่าจะทรงได้ขึ้นครองราชย์ เพราะทรงเป็นพระธิดาในเจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุกแห่งยอร์ก ซึ่งแม้เป็นพระโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ 5 แต่ก็ยังเป็นรัชทายาทลำดับที่ 2 และมีพระชายาคือ เลดี้ เอลิซาเบธ โบวส์ ไลออน ดัชเชสแห่งยอร์ก 

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

แต่ดูเหมือนชะตาจะถูกลิขิตเอาไว้แล้ว เมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 5 พระอัยกา เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ.1936 เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด มกุฎราชกุมาร เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แต่เพียงไม่ถึงปีก็สละราชสมบัติ เพื่อสมรสกับวอลลิส ซิมป์สัน หญิงม่ายชาวอเมริกัน ทำให้ดยุกแห่งยอร์กต้องเสด็จขึ้นครองราชย์อย่างกะทันหัน และใช้พระนามว่าพระเจ้าจอร์จที่ 6 เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงเขียนบันทึกความทรงจำต่อพระราชพิธีในครั้งนั้นไว้ว่า "ช่างแสนวิเศษเหลือเกิน"

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงได้รับการศึกษาภายในพระตำหนักที่ประทับ และทรงพระปรีชาในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศหลายภาษา ทรงแตกฉานในความรู้ด้านประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญเป็นอย่างยิ่ง เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล รัฐบุรุษ เคยกล่าวไว้ตั้งแต่ยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่า "เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงฉายแววความเป็นผู้นำที่โดดเด่นเกินเด็กทั่วไป"

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"


ในช่วงที่พระบิดาขึ้นครองราชย์ สถานการณ์ทั่วยุโรปในขณะนั้นคุกรุ่นไปด้วยความขัดแย้งตึงเครียด ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยทั้งพระบิดาและพระมารดาต้องทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างแข็งขัน เพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นในสถาบันกษัตริย์หลังการสละราชสมบัติของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

เมื่อปี ค.ศ.1939 เจ้าหญิงเอลิซาเบธเพิ่งทรงมีพระชนมายุ 13 ชันษา ได้ตามเสด็จพระบิดาและพระมารดาเยือนวิทยาลัยราชนาวีที่เมืองดาร์ตมัธ โดยมีเจ้าชายฟิลิปแห่งกรีซนักเรียนนายเรือ เป็นผู้นำเสด็จขณะทอดพระเนตรบริเวณวิทยาลัยโดยรอบ แม้เจ้าหญิงเอลิซาเบธจะทรงเคยพบปะเจ้าชายฟิลิปมาก่อนในฐานะพระญาติ แต่ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ทรงสนพระทัยในตัวของเจ้าชายฟิลิปพระราชสวามีในอนาคต ที่ตอนนั้นทรงติดต่อกันทางจดหมายและสานสัมพันธ์กันเรื่อยมานับแต่นั้น

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

เจ้าหญิงเอลิซาเบธยังได้ทรงสัมผัสกับชีวิตนอกรั้ววังและความยากลำบากของเหล่าพลเรือนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการที่ทรงอาสาเข้าร่วมกับหน่วยรับใช้ดินแดนพิเศษ (ATS) ทรงเรียนรู้การขับรถและการเป็นช่างยนต์ โดยต้องทรงทำหน้าที่เป็นช่างซ่อมบำรุงรถบรรทุกด้วย พระองค์ทรงรำลึกถึงวันสิ้นสุดสงครามในสมรภูมิยุโรปด้วยว่า

 

"ผู้คนจำนวนมากมาร่วมกันฉลองที่หน้าวังบักกิงแฮม ข้าพเจ้ากับน้องสาวขอพ่อแม่ออกไปดูด้วยตาตนเอง และก็ได้ไปอยู่ท่ามกลางคนแปลกหน้ามากมายที่คล้องแขนกันเป็นแถวเดินไปตามท้องถนน ตอนแรกเรากลัวว่าจะมีคนจำได้แต่ท้ายที่สุดเราก็ถูกกลืนหายไปกับกระแสของฝูงชนที่พากันปิติยินดีและโล่งใจที่สงครามสงบ"


ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

ตอนที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธมีพระประสงค์จะอภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟิลิปหลังสงคราม มันไม่ได้ราบรื่นเหมือนเทพนิยาย ด้วยเพราะเจ้าชายฟิลิปเป็นชาวต่างชาติทั้งยังทรงมีอุปนิสัยที่โผงผางทำให้ถูกคัดค้าน แต่ในที่สุดพระเจ้าจอร์จที่ 6 ก็ทรงมีพระบรมราชานุญาต พระราชพิธีอภิเษกสมรสจึงถูกจัดขึ้นที่วิหารเวสต์มินสเตอร์ เมื่อ 20 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.1947 หลังอภิเษกสมรส เจ้าชายฟิลิปทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นดยุคแห่งเอดินบะระ แต่ก็ยังทรงใช้ชีวิตครอบครัวเยี่ยงสามัญชน ก่อนที่ในปี ค.ศ. 1948 ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระโอรสองค์แรกคือเจ้าชายชาร์ลสตามด้วยเจ้าหญิงแอนน์ในปีถัดมา แต่ลางร้ายก็เริ่มส่อเค้าเมื่อพระพลานามัยของพระเจ้าจอร์จที่ 6 เสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว เนื่องจากประชวรด้วยโรคมะเร็งในพระปับผาสะ (ปอด) ทำให้เจ้าหญิงเอลิซาเบธในฐานะองค์รัชทายาทลำดับที่ 1 ต้องทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ส่วนพระสวามีทรงลาออกจากการรับราชการทหารเรือ เพื่อทรงเคียงข้างเป็นกำลังใจให้พระชายา รวมทั้งการเสด็จเยือนประเทศในเครือจักรภพด้วย 

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

ปี ค.ศ. 1952 ขณะที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธและพระสวามีประทับอยู่ที่เคนยา ก็ทรงได้รับข่าวร้ายว่าพระเจ้าจอร์จที่ 6 เสด็จสวรรคต และสถานะของพระองค์คือ "สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร" โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมีขึ้นในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1953 และมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก แม้จะถูกคัดค้านจากเซอร์วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น อาจเป็นเพราะชาวสหราชอาณาจักรยังประสบความยากลำบากและภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองหลังสงคราม 

แต่การขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระราชินีนาถ เปรียบได้กับแสงสว่างยามรุ่งอรุณซึ่งเป็นความหวังแก่พวกเขาว่า ยุคแห่งความรุ่งเรืองเช่นเดียวกับรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 เมื่อหลายร้อยปีก่อนอาจกำลังเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง ทำให้ในวันนั้นมีผู้ชมการถ่ายทอดพระราชพิธีหลายล้านคน 

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

รัชสมัยของพระองค์มาพร้อมกับความผันผวนอย่างรวดเร็วของสถานการณ์โลก ทำให้จักรวรรดิอังกฤษดำเนินไปสู่จุดจบ โดยขณะที่เสด็จเยือนประเทศเครือจักรภพเมื่อราวปี ค.ศ. 1953 หลายประเทศรวมทั้งอินเดียต่างได้รับเอกราชและแยกตัวเป็นอิสระ แต่สิ่งที่ยังเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างสหราชอาณาจักรกับอดีตอาณานิคมคือการเป็นสมาชิกเครือจักรภพ ยังมีปัญหาเรื่องวิกฤตการเมืองในประเทศ ที่รวมทั้งการที่ทรงต้องเชิญนายฮาโรลด์ แม็กมิลแลน ให้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ หลังอังกฤษเผชิญวิกฤตเรื่องที่อียิปต์อ้างกรรมสิทธิ์ในคลองสุเอซเมื่อปี 1956 นอกจากนี้ยังถูกโจมตีด้วยเรื่องส่วนพระองค์ กรณีมีความเป็นชนชั้นสูงมากเกินไป ทำให้พระองค์ซึ่งทรงได้รับการสนับสนุนจากพระราชสวามี เริ่มปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสังคมสมัยใหม่ โดยเฉพาะการเปลี่ยนคำว่า "สถาบันกษัตริย์" (The Monarchy) เป็นคำว่า "พระราชวงศ์" (Royal Family) 

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

สิ่งที่เด่นชัดอีกประการหนึ่งก็คือ การที่ BBC ได้เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี ซึ่งถ่ายทอดกิจกรรมในชีวิตประจำวันของพระราชวงศ์ที่คนทั่วไปไม่เคยได้เห็นกันมาก่อน เช่น ดยุคแห่งเอดินบะระทรงย่างไส้กรอกบนเตาบาร์บีคิวกลางแจ้ง ตกแต่งต้นคริสต์มาส หรือพาพระราชโอรสและพระราชธิดาไปขับรถเล่น

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

ในรัชสมัยของพระองค์แม้จะทรงเผชิญศึกสงครามหลายครั้งรวมทั้งสงครามแย่งชิงเกาะฟอล์คแลนด์ แต่ก็ไม่กระทบกระเทือนภาพลักษณ์ของราชวงศ์เท่ากับศึกภายในที่เกิดจากสมาชิกในราชวงศ์ โดยเฉพาะเรื่องอื้อฉาว ทั้งเรื่องการหย่าร้างของเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก รักสามเศร้าระหว่างเจ้าชายชาร์ลสกับเจ้าหญิงไดอานาและคามิลลา จนถึงอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่กรุงปารีสในปี 1997 ซึ่งทำให้เจ้าหญิงไดอานาสิ้นพระชนม์ และส่งแรงกระเพื่อมไปถึงสมเด็จพระราชินีนาถ และสำนักพระราชวังที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่านิ่งเฉยเย็นชาต่อเหตุการณ์ที่นำความเศร้าและความรู้สึกสูญเสียให้แก่ประชาชนจำนวนมาก

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

แม้ภายนอกจะถูกมองว่าไร้ความรู้สึก แต่คนที่เข้าใจราชวงศ์จะรู้ดีว่าสมเด็จพระราชินีนาถทรงเป็นคนรุ่นเก่าที่มักเก็บงำอารมณ์และหลีกเลี่ยงการแสดงออกอย่างฟูมฟาย และพระองค์คือผู้ที่คอยปลอบโยนและมอบความรักความใส่ใจให้แก่เจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี พระโอรสของเจ้าหญิงผู้ล่วงลับ และเชื่อด้วยว่าเหตุการณ์ "Megxit" หรือการถอยออกจากการเป็นสมาชิกพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง หลีกเลี่ยงการแบ่งเบาพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระราชินีนาถ เพื่อไปหาอิสระทางการเงินและย้ายไปอยู่สหรัฐฯ ของเจ้าชายแฮร์รีและชายาเมแกน ดยุกและดัชเชสแห่งซัสเซ็กซ์ รวมถึงการให้สัมภาษณ์โอปราห์ วินฟรีย์ โจมตีพระราชวงศ์ คือสิ่งที่บั่นทอนพระพลานามัยของพระองค์ให้ทรุดลงเรื่อย ๆ

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

ในรัชสมัยที่ยาวนานถึง 70 ปี สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะทรงอุทิศพระชนมชีพเพื่อการปฏิบัติพระราชภารกิจ ทั้งต่อราชบัลลังก์และต่อพสกนิกรของพระองค์ทั้งในสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ สิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการทรงงานอย่างไม่หยุดหย่อนแม้พระวรกายและพระพลานามัยจะไม่เอื้ออำนวย ก็คือการเสด็จออกให้ลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 ก่อนจะเสด็จสวรรคตที่ปราสาทบัลมอรัลในสกอตแลนด์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ขณะมีพระชนมพรรษา 96 พรรษา

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

ที่สุดแห่งปี สหราชอาณาจักรสูญเสีย \"ควีนเอลิซาเบธที่ 2\"

logoline