svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

นักวิชาการหวั่นดีล 'ทรู-ดีแทค' ผู้บริโภคเสียประโยชน์

07 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผลกระทบจากการควบรวมกิจการของทรูและดีแทคโดยเฉพาะอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ที่มีน้อยรายอยู่แล้ว หากเหลือเพียง 2 ราย จะทำให้การแข่งขันน้อยลง อาจทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์

นักวิชาการเศรษฐศาสตร์อิสระ ดร.สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล ระบุ ผลกระทบจากการควบรวมกิจการของทรูและดีแทคโดยเฉพาะอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ที่มีน้อยรายอยู่แล้ว หากเหลือเพียง 2 ราย จะทำให้การแข่งขันน้อยลง โดยผลศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ระบุว่า ถ้ามีการควบรวมแล้วทำให้อุตสาหกรรมกระจุกตัวและผูกขาดมากขึ้น ทำให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภคอย่างน้อย 4- 5 เรื่อง คือ มีแนวโน้มที่คุณภาพบริการจะแย่ลง ราคาจะพุ่งสูงขึ้น การใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่าไม่มีประสิทธิภาพ ผู้ผลิตขาดแรงจูงใจที่จะพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะไม่จำเป็นต้องแข่งขันกัน แรงงานในอุตสาหกรรมขาดแรงจูงใจที่จะพัฒนาตัวเอง เสียโอกาสที่จะได้ค่าจ้างที่ดีขึ้น เพราะธุรกิจไม่ได้แข่งขันกัน

นักวิชาการหวั่นดีล 'ทรู-ดีแทค' ผู้บริโภคเสียประโยชน์

ดังนั้น การควบรวมของทรูและดีแทค จึงเกิดผลเสียกับทั้งผู้บริโภค ผู้ผลิต ยังไม่รวมคู่ค้ากับค่ายมือถือก็มีโอกาสที่จะถูกบีบมากขึ้น เพราะมีอำนาจต่อรองต่ำลง เรียกว่าการควบรวมเกิดผลกระทบกับทั้งผู้บริโภคสังคมส่วนรวมคู่ค้าที่เกี่ยวข้องกระทบทั้งอุตสาหกรรม

นักวิชาการหวั่นดีล 'ทรู-ดีแทค' ผู้บริโภคเสียประโยชน์

ส่วนผลกระทบในระยะยาวคือในอนาคตจะมีการประมูลคลื่นความถี่ เช่น 6G ก็มีแนวโน้มสูงที่ภาครัฐจะได้ค่าประมูลที่ต่ำลง เพราะเอกชนไม่มีแรงจูงใจที่จะต้องแข่งขันกัน ขณะเดียวกันไทยกำลังก้าวสู่อุตสาหกรรมดิจิทัล ทุกธุรกิจต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมและคลื่นความถี่ การที่ผู้แข่งขันมีแนวโน้มแข่งขันกันน้อยลงค่าบริการแพงขึ้น ทำให้ทุกธุรกิจทุกอุตสาหกรรมมีต้นทุนสูงขึ้นในการเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่สำคัญเราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสารใครมีข้อมูลมากคนนั้นได้เปรียบที่มีแต้มต่อในการแข่งขันการผูกขาดที่มากขึ้นและเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับข้อมูล เมื่อข้อมูลของผู้บริโภคอยู่กับผู้ให้บริการน้อยเจ้าก็มีแนวโน้มสูงที่ผู้ให้บริการจะผูกขาดได้มากผู้บริโภคมีอำนาจต่อรองต่อรองได้น้อยและการผูกขาดในเชิงข้อมูลก็ทำให้เกิดการผูกขาดในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปอีกไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมมือถือเท่านั้น

นักวิชาการหวั่นดีล 'ทรู-ดีแทค' ผู้บริโภคเสียประโยชน์

 เมื่อ 10 ปีก่อนสหรัฐเคยระงับคำขอควบรวมระหว่างบริษัท AT&T และ T-Mobile เพราะเห็นว่าการควบรวมมีแนวโน้มสูงที่ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบราคาจะแพงขึ้น เทคโนโลยีจะไม่ได้รับการแข่งขันหรือพัฒนา

อย่างไรก็ตาม ในแง่ธุรกิจการควบรวมสามารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้นได้ หรือแข่งขันมากขึ้นเกิดประโยชน์กับผู้บริโภคได้ แต่การควบรวมในลักษณะที่มีคู่แข่งน้อยราย จะทำให้คู่แข่งรายใหม่เข้าสู่อุตสาหกรรมลำบากจาก 3 เหลือ 2 ราย ในธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่เข้ามาสู่ตลาดยากอยู่แล้ว สำหรับผู้แข่งรายใหม่การผูกขาดยิ่งมีโอกาสต่ำมาก ที่ผู้แข่งรายใหม่เข้าสู่ตลาด

 

การควบรวมถ้าเกิดจากการทำให้เทคโนโลยีดีขึ้นเราก็สนับสนุนให้เกิดขึ้น แต่ในแง่ของการกำกับดูแลถ้าจำเป็นต้องมีการควบรวมกติกาชัดเจน

นักวิชาการหวั่นดีล 'ทรู-ดีแทค' ผู้บริโภคเสียประโยชน์

รัฐบาลหรือ กสทช.ที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแล ต้องทำให้เกิดความมั่นใจว่าผู้บริโภคไม่ได้รับผลกระทบ ทั้งในเชิงราคาในเชิงคุณภาพ ในเชิงเทคโนโลยี และในเชิงสังคมส่วนรวม ภาครัฐต้องรับประกันว่าถ้ามีการประมูลในยุคถัดไปจะได้เงินนำส่งรัฐไม่ต่ำกว่าเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่ กสทช.ต้องกำกับดูแล

 

ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ก็ควรมีบทบาทเข้ามาดูว่าการควบรวมนี้มีโอกาสที่จะส่งผลลบต่อผู้บริโภคหรือไม่

logoline