svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เช็กชัวร์ อาการตุ่มแบบใด เข้าข่าย "ฝีดาษลิง" ขณะ WHO ชี้แนวโน้มทวีความรุนแรง

04 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอธีระวัฒน์ เผยภาพตุ่มผื่น ที่เข้าข่ายติดเชื้อ"ฝีดาษลิง" พร้อมอาการที่ต้องดูประกอบนอกจากการดูผื่น ขณะ WHO ระบุสถานการณ์ฝีดาษลิงมีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้น

4 มิถุนายน 2565 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ “หมอธีระวัฒน์” ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” เตือนโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) พร้อมระบุการดูผื่นบนร่างกายแบบใดที่เข้าข่ายฝีดาษลิง มีรายละเอียดดังนี้..

 

 ฝีดาษลิง อาจมีความยากลำบากในการดูที่ผื่นอย่างเดียว 

ทั้งนี้ ตุ่มฝีดาษลิง เริ่มจาก macule papule vesicle. Pustule scaps จากผื่นราบ ผื่นนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนองและกลายเป็นสะเก็ด

แต่ในบริเวณของร่างกายอาจมี ผื่นหลายระยะอยู่ด้วยกัน poly-stage เกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย ใบหน้า
ลำตัว แขนขามือและฝ่าเท้า รวมทั้งในที่ลับ และที่ริมฝีปาก เยี่อบุปาก ลิ้น ทำให้ลักษณะคล้าย อีสุกอีใส เริม
งูสวัด ซิฟิลิส และจากไวรัสอื่นได้

วันที่ 2 มิถุนายน อังกฤษและสกอตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือและเวลส์ พบ 225 ทั้งโลก 796 ราย

อ้างอิง : The UK Health Security Agency (UKHSA)และ our world in data และ US CDC
 

เช็กชัวร์ อาการตุ่มแบบใด เข้าข่าย "ฝีดาษลิง" ขณะ WHO ชี้แนวโน้มทวีความรุนแรง

ก่อนหน้านี้ หมอธีระวัฒน์ ห่วงสถานการณ์โรคฝีดาษลิง เตือนประชาชนอย่าประมาท "แม้ไม่ตาย ก็เสียโฉมได้" พร้อมแนะวิธีป้องกัน  เตือนโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) พร้อมแนะนำการป้องกันและแนวปฏิบัติตัวหากสงสัยติดเชื้อ ฝีดาษลิง มีรายละเอียดดังนี้..

ระวังตัวกันหน่อยก็ดีนะครับ ถ้าไม่สบาย กักตัว แยกตัวเพราะอาจติดเชื้อที่แพร่ไปหาคนอื่นได้ไม่ว่าจะเป็นโควิดเดิม ไข้หวัดใหญ่และฝีดาษลิง และอื่นๆ


ยังดีที่ฝีดาษลิงจะปล่อยเชื้อ ตอนที่เริ่มมีอาการแล้วคือ ไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อย ปวดตัว ผื่นอาจจะมาตามหลังและอาจปรากฏในที่ลับ ไม่รู้ตัว ดังนั้นไม่สบายอย่าเอาตัวเข้าไปหาคนอื่น ใส่หน้ากาก อย่าปล่อยเชื้อ วินัยแบบโควิดเป๋ะ

 

เช็กชัวร์ อาการตุ่มแบบใด เข้าข่าย "ฝีดาษลิง" ขณะ WHO ชี้แนวโน้มทวีความรุนแรง

 

อ่านข่าวเพิ่มเติม หมอธีระวัฒน์ ห่วงฝีดาษลิง "แม้ไม่ตาย แต่เสียโฉม" ย้ำวิธีป้องกันตัว

 

 

ขณะเดียวกัน ในวันนี้ (4 มิ.ย.) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” เปิดภาพลักษณะตุ่มของฝีดาษลิง พร้อมข้อความระบุว่า..

 

เผื่อเราสามารถสังเกตลักษณะตุ่มของฝีดาษลิง ตามผิวหนังของผู้ที่เราพบปะ

ผื่นหรือตุ่ม มักจะขึ้นภายใน 5 วันหลังจากเริ่มมีอาการอื่นๆ มาก่อน เช่น ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ฯลฯ

จะได้ระมัดระวังกันครับ

อ้างอิง: MMWR. 3 June 2022.

 

เช็กชัวร์ อาการตุ่มแบบใด เข้าข่าย "ฝีดาษลิง" ขณะ WHO ชี้แนวโน้มทวีความรุนแรง

 องค์การอนามัยโลก เตือน "ฝีดาษลิง" แนวโน้มทวีความรุนแรง 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำภูมิภาคยุโรป ออกมาเตือนว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้ทรพิษวานร หรือ ฝีดาษลิง ในประเทศต่างๆ นอกทวีปแอฟริกาหลังจากนี้ มีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยมีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อนอกทวีปแอฟริกามากกว่า 550 คนแล้ว นับตั้งแต่เริ่มพบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา 

 

ในจำนวนนี้ เป็นผู้ป่วยติดเชื้อใน 12 ประเทศของสหภาพยุโรป ถึง 321 คน ส่วนจำนวนที่เหลือพบในสหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆ

 

เช็กชัวร์ อาการตุ่มแบบใด เข้าข่าย "ฝีดาษลิง" ขณะ WHO ชี้แนวโน้มทวีความรุนแรง

 

ก่อนหน้านี้ องค์การอนามัยโลก แสดงความวิตกกังวลว่า ในช่วงฤดูร้อนนี้ ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยุโรป มีงานเทศกาล และกิจกรรมใหญ่ๆ อาจส่งผลทำให้โรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดมากขึ้น พร้อมแจ้งเตือนให้ประเทศต่างๆ เตรียมมาตรการความพร้อมเพื่อรับมือ

 

ทั้งนี้บรรดาบริษัทยาต่างๆได้เร่งพัฒนาชุดตรวจเชื้อ ซึ่งการแข่งขันเพื่อผลิตชุดตรวจหาเชื้อฝีดาษลิงเริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งคล้ายกับบรรยากาศ เมื่อช่วงต้นปี 2020 ที่มีการแข่งขักันผลิตชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19  แม้ว่าความต้องการชุดตรวจโรคฝีดาษลิง ยังมีปริมาณน้อยและยังเทียบไม่ได้กับความต้องการชุดตรวจไวรัสโควิด-19 

 

เช็กชัวร์ อาการตุ่มแบบใด เข้าข่าย "ฝีดาษลิง" ขณะ WHO ชี้แนวโน้มทวีความรุนแรง เช็กชัวร์ อาการตุ่มแบบใด เข้าข่าย "ฝีดาษลิง" ขณะ WHO ชี้แนวโน้มทวีความรุนแรง เช็กชัวร์ อาการตุ่มแบบใด เข้าข่าย "ฝีดาษลิง" ขณะ WHO ชี้แนวโน้มทวีความรุนแรง

ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

logoline