svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เคทีซีเปิด 4 แนวทาง 'รับมือ' มิจฉาชีพออนไลน์

27 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

KTC รับมือความเสี่ยงภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ เพื่อให้คนไทยพร้อมรับมือความเสี่ยง และภัยคุกคามต่างๆ บนโลกไซเบอร์ที่กำลังทวีความรุนแรง ตอกย้ำผู้นำธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค ควบคู่การบริหารเพื่อป้องกันการทุจริตด้านดิจิทัล

เคทีซีเปิด 4 แนวทาง 'รับมือ' มิจฉาชีพออนไลน์

ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร - ควบคุมงานปฏิบัติการและงานปฏิบัติการร้านค้า เคทีซี ไรวินทร์ วรวงษ์สถิตย์ ระบุ ลักษณะการทุจริตบนระบบการชำระออนไลน์ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ เช่น การทุจริตจากคนแวดล้อมใกล้ตัว เว็บไซต์ปลอม การสุ่มเลขบัตร และโดยเฉพาะการหลอกโอนขอ OTP และหลอกโอนเงิน จากแกงค์คอลเซ็นเตอร์ หรือแอบอ้างเป็นหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น ตำรวจหรือไปรษณีย์ เป็นต้น  โดยตัวอย่างเหตุการณ์ที่พบได้แก่ ผู้ทุจริตส่ง QR Code ปลอมหลอกให้ลูกค้าสแกนทำรายการ / ลูกค้าได้รับอีเมลหลอกลวงหรือหน้าเว็บไซต์ปลอมจากมิจฉาชีพ หลอกให้ทำการอัพเดทข้อมูลบัตรเครดิตและถูกนำไปใช้เข้าระบบและทำรายการธุรกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต

เคทีซีเปิด 4 แนวทาง 'รับมือ' มิจฉาชีพออนไลน์

เคทีซีเปิด 4 แนวทาง 'รับมือ' มิจฉาชีพออนไลน์

ทั้งนี้ เคทีซีได้พัฒนาระบบการป้องกันภัยทุจริตที่มีประสิทธิภาพผ่าน 4 องค์ประกอบหลักคือ สร้างทีมงานที่มีศักยภาพในการป้องกันและตรวจสอบการทุจริตทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง กระบวนการปฏิบัติงาน มีมาตรฐานและยืดหยุ่นสูง เพื่อให้สามารถตรวจจับและป้องกันเหตุทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปรับปรุงกระบวนการงานให้มีความทันสมัย ใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบและป้องกันการทุจริต ติดตามและอัพเดทข้อมูลสถานการณ์ที่มีแนวโน้มการทุจริตทั้งจากภายในและต่างประเทศ รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบภายใต้หลักเกณฑ์

เคทีซีเปิด 4 แนวทาง 'รับมือ' มิจฉาชีพออนไลน์

สำหรับการรับมือภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ ผู้บริโภคสามารถร่วมป้องกันตนเองเบื้องต้นได้โดย 1.ระมัดระวังไม่หลงเชื่ออีเมลลวง ทุกธนาคารและสถาบันการเงินไม่มีนโยบายแจ้งให้ลูกค้าเข้าใช้บัญชีผ่านทางอีเมล 2.ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสที่น่าเชื่อถือ 3.ตั้งการแจ้งเตือนเมื่อมีการทำธุรกรรมผ่าน SMS หรือให้อีเมลกับธนาคารและสถาบันการเงิน 4.ล็อคเอาต์ออกจากระบบทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน

เคทีซีเปิด 4 แนวทาง 'รับมือ' มิจฉาชีพออนไลน์

ปัจจุบันธุรกรรมการชำระเงินออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตรวดเร็วโดยเฉพาะการชำระค่าสินค้าและบริการบนอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมสูงต่อเนื่อง มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม 9.79% ต่อปี ในช่วงปี 2560-2564 ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA พบว่าผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าผ่านอี-มาร์เก็ตเพลซมากที่สุดในขณะที่ผู้ขายนิยมขายสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซมากที่สุด

เคทีซีเปิด 4 แนวทาง 'รับมือ' มิจฉาชีพออนไลน์

สำหรับช่องทางการชำระค่าสินค้าและบริการออนไลน์ที่ได้รับความนิยม 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. แอปพลิเคชันของธนาคาร 2. ชำระเงินปลายทาง 3. ชำระด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต 4. โอนหรือชำระเงินผ่านบัญชีธนาคาร และ 5. ชำระด้วยวอลเล็ตของแพลทฟอร์ม นอกเหนือจากการชำระค่าสินค้าและบริการเพื่อการอุปโภคบริโภคผ่านออนไลน์แล้ว นับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 และบริการที่มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นคือ การซื้อขายสินทรัพย์เพื่อการลงทุนออนไลน์ อาทิ บิทคอยน์ หุ้นและกองทุนรวม

logoline