svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

ครูยุ่นถอดใจคุ้มครองเด็ก กฎหมายชัด แต่ไม่จริงจัง

10 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ครูยุ่น ตำหนิ การคุ้มครองเยาวชนในโรงเรียน กฎหมายระบุชัด ต้องมีคุณภาพ เป็นระบบ แต่ในทางปฏิบัติ ไร้ประสิทธิภาพ เมื่อเกิดปัญหา เด็กต้องเผชิญกับประสบการณ์เลวร้าย คำถาม ครูพละผ่านกระบวนการใด จึงรับอุปการะไว้ถึง 8 ปี แย่ที่ต้องถึงขั้นทำแท้ง ความจริงจึงเปิดเผย

นายมนตรี สินทวิชัย เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก กล่าวว่า ในประเด็นการรับอุปการะของครูพละ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม  อย่างน้อยจะต้องมี 2 เรื่องที่ต้องพิจารณา คือ เด็กเหลือใครที่อยู่ในฐานะเป็นผู้ปกครอง กับ การรับรองเป็นเอกสารจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ทั้ง 2 สิ่งนี้จะร่วมกันคัดกรอง  ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า ครูพละ ได้รับการยกให้เป็นผู้อุปการะได้อย่างไร  เพราะความเป็นเยาวชน กับคนที่แสดงตัวของครูพล เด็กไม่มีทางรู้เลยว่า คนที่แสดงตัวเป็นผู้รับเป็นผู้อุปการะจะมีเจตนาแฝงอะไรได้  

 

กรณีนี้ เมื่อคุณแม่เสียชีวิต / มีญาติของฝ่ายแม่หรือไม่ อย่างไร เขารับรู้หรือไม่ และยังมีฝ่ายพ่ออีกคน ญาติพี่น้อง จะตัดสินใจอย่างไร ซึ่งครูจะเป็นสะพาน แจ้งให้ญาติพี่น้อง 

 

“ประเด็น คือ ทำไม เหยื่อรายนี้จึงอยู่กับครูพละ ซึ่งเรื่องนี้ กระทรวง พม.อาจเข้าถึงยากซักหน่อย แต่โรงเรียน น่าจะเป็นด่านแรกในการคุ้มครองเด็ก

โดยทั่วไป เมื่อเด็กนักเรียนไม่มีผู้อุปการะ อย่างน้อย ครูที่ปรึกษาจะเป็นบุคคลแรกที่น่าจะทราบเรื่อง เป็นธุระให้ อาจหารือกันหมู่ครู คณาจารย์ โดยเฉพาะครูแนะแนว ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ระบุชัดให้ทุกโรงเรียน จะต้องมีแผนกแนะแนว ที่ไม่ใช่แค่ให้คำปรึกษาเรื่องการเรียนต่อเท่านั้น แต่จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของงานคุ้มครองนักเรียน ที่มีคุณภาพและเป็นระบบ 

เมื่อเด็กมีปัญหา อย่าปล่อยให้ตัดสินใจกันง่ายๆ / ครูที่ปรึกษา ควรสืบหาข้อเท็จจริง เด็กยังมีญาติ ทั้งฝ่ายพ่อ ฝ่ายแม่ หรือไม่ อย่างไร ใครบ้างที่พร้อมรับไปดูแล หรือ ครูที่ปรึกษาอาจปรึกษาผู้อำนวยการให้ช่วยประสาน พัฒนาสังคม, มูลนิธิ, หรือหน่วยงานเอกชน ซึ่งทั้งหมด ในแต่ละเคส หากมีการติดตาม เด็กก็จะได้รับการคุ้มครอง แล้วไม่ว่าปัญหาความยากจน การไม่มีผู้อุปการะ การหาทุน ทุกอย่างก็จะได้รับการแก้ไขอย่างมีขั้นตอน 

 

ปัญหา คือ ระบบคุ้มครองที่กล่าวมา ความเป็นจริง ไม่ค่อยเน้นกัน มีแต่ในตัวอักษร เพราะไม่เช่นนั้น ข่าวที่มีเด็กตกเป็นเหยื่อ จะมีน้อยลงกว่าที่เป็นอยู่ แต่กับเคสนี้ สิ่งที่เลวร้ายมากๆ ก็คือ เด็กคนนี้  ถูกกดทับ 3 สิ่ง 1. ความเหนือชั้นด้านประสบการณ์ของครูพละ บังคับเด็กไม่ให้บอกใคร 2.ความเป็นเด็กที่ไม่มีผู้อุปการะที่แท้จริง และ 3.ความทนทุกข์ ที่ต้องตกเป็นเหยื่อถึง 8 ปี 

 

นี่ ถ้าไม่ถึงขั้นต้องทำแท้ง ก็ไม่รู้ ความจริงจะถูกเปิดเผยหรือไม่

ครูมนตรี กล่าวด้วยความห่วงใยว่า แน่นอนว่า กระทรวงยุติธรรม มีเงินชดเชยให้กับบุคคลที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมอยู่แล้ว แต่จากนี้ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องต้องเข้าไป ช่วยเหลือ ยื่นมือบรรเทาความทุกข์ จะระดับกลางหรือระดับปลายก็ช่าง โรงเรียนจะทดแทนกับเด็กที่โดนกระทำนี้อย่างไร ในฐานะที่เคยเป็นสถานที่ศึกษาของเด็กแล้วปล่อยให้เกิดเรื่องแบบนี้ หรือ กระทรวง พม. ควรเป็นหน่วยงานหนึ่ง ที่ต้องยืนเคียงข้างเหยื่อ อีกทั้งกระทรวงพม. ก็ไม่ได้มีแค่หน่วยงานที่ดูแลเด็ก

logoline