svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

โลกซื้อเวลา กว่าร้อยชาติตกลงลดการปล่อยก๊าซมีเทน

02 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในชั้นบรรยากาศ "ก๊าซมีเทน" มีน้อย และมีอายุน้อยกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ แต่มีพลังในการทำให้โลกร้อนได้มากกว่า ในหลายระเทศจึงมองกันว่า การแก้ปัญหาโลกร้อนด้วยการลดการปล่อยก๊าซมีเทน น่าจะช่วยซื้อเวลาให้กับโลกได้อย่างมาก

สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปได้ประกาศความร่วมมือระดับโลก ในการลดการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจก ภายในปี 2573

 

ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป เออร์ซูลา ฟอน เดอ เลเยน และประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐได้ประกาศเรื่องนี้ในการประชุมสุดยอด COP26 เมื่อวันอังคาร ( 2 ตุลาคม ) 

 

ภายใต้แนวคิดริเริ่ม " Global Methane Pledge " มีการตั้งเป้าที่จะจำกัดการปล่อยก๊าซมีเทนที่ 30% เมื่อเทียบกับระดับในปี 2563

 

มีเทน เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพมากที่สุดและมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้นถึง 1 ใน 3 จากกิจกรรมของมนุษย์

 

มากกว่า 100 ประเทศได้ร่วมลงนามในแนวคิดริเริ่มนี้ ซึ่งเสนอครั้งแรกโดยสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปเมื่อเดือนกันยายน

 

จุดสนใจหลักในความพยายามควบคุมภาวะโลกร้อนอยู่ที่ก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ ซึ่งปล่อยออกมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การผลิตไฟฟ้า และการเคลียร์พื้นที่ป่า

 

แต่ก็มีการให้ความสนใจกับก๊าซมีเทนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในฐานะเป็นหนทางในการซื้อเวลา เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศมากกว่าและเกาะติดอยู่เป็นเวลานานกว่ามาก แต่โมเลกุลของมีเทนแต่ละโมเลกุล ก็มีผลต่อภาวะโลกร้อนอย่างมีอานุภาพมากกว่าโมเลกุลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

 

และในขณะที่เป้าหมายหลักของ COP26 คือการให้ประเทศต่าง ๆ มุ่งมั่นที่จะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ซึ่งหมายความว่าจะไม่เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ผู้นำทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำว่าพวกเขาจำเป็นต้องลงมือทันที

โลกซื้อเวลา กว่าร้อยชาติตกลงลดการปล่อยก๊าซมีเทน

 

ฟอน เดอ เลเยน บอกกับที่ประชุมสุดยอด“เราไม่สามารถรอถึงปี 2593 ได้ เราต้องลดการปล่อยมลพิษอย่างรวดเร็ว"

 

เธอบอกว่าการตัดก๊าซมีเทนออกไป เป็น "หนึ่งในสิ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่เราสามารถทำได้เพื่อลดภาวะโลกร้อนในระยะสั้น" โดยเธอเรียกมันว่า "ผลไม้ที่ห้อยต่ำที่สุด"

โลกซื้อเวลา กว่าร้อยชาติตกลงลดการปล่อยก๊าซมีเทน

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ย้ำคำพูดของเธอ โดยเรียกมีเทนว่า "หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพมากที่สุดที่มีอยู่"

 

คำมั่นสัญญานี้ครอบคลุมประเทศที่ปล่อยก๊าซมีเทนเกือบครึ่งหนึ่ง และมี GDP คิดเป็น 70% ของโลก

 

ประมาณ 40% ของก๊าซมีเทน มาจากแหล่งธรรมชาติเช่นพื้นที่ชุ่มน้ำ แต่ส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมของมนุษย์หลากหลายประเภท ตั้งแต่เกษตรกรรม เช่น การผลิตปศุสัตว์ และข้าว ไปจนถึงการทิ้งขยะ

 

หนึ่งในแหล่งที่มาที่ใหญ่ที่สุดของมีเทนมาจากการผลิต การขนส่ง และการใช้ก๊าซธรรมชาติ และตั้งแต่ปี 2551 การปล่อยก๊าซมีเทนก็พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่ามีความเชื่อมโยงกับความเฟื่องฟูของกรรมวิธีการผลิตก๊าซในบางส่วนของสหรัฐฯ

 

ในปี 2562 ระดับของมีเทนในชั้นบรรยากาศ ขยับขึ้นถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยสูงกว่าระดับก่อนอุตสาหกรรมประมาณ 2 เท่าครึ่ง

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กังวลคือมีเธนมีพลัง เมื่อมันทำให้โลกร้อน โดยในช่วงเวลา 100 ปี มันทำให้โลกร้อนขึ้น 28-34 เท่า เมื่อเทียบกับคาร์บอนได ออกไซด์

 

และในช่วงระยะเวลา 20 ปี  มันมีกำลังในส่วนนี้มากกว่า 84 เท่า เมื่อเทียบต่อหน่วยกับคาร์บอนไดออกไซด์ 

 

แต่มีคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่าก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศมาก และแต่ละโมเลกุลของมัน ก็สามารถคงอยู่ได้นานหลายร้อยปี

โลกซื้อเวลา กว่าร้อยชาติตกลงลดการปล่อยก๊าซมีเทน โลกซื้อเวลา กว่าร้อยชาติตกลงลดการปล่อยก๊าซมีเทน

logoline