svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ผู้นำกว่า 100 ประเทศทั่วโลกจะตกลงเลิกตัดไม้ทำลายป่าปี 2573

02 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เรื่องนี้เป็นข้อตกลงจากที่ประชุม COP26 ว่าด้วยเรื่องโลกร้อนของสหประชาชาติที่สกอตแลนด์ แต่จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และข้อตกลงของเดิม ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาตัดไม้ทำลายป่าอะไรได้

ผู้นำมากกว่า 100 ประเทศจะให้คำสัญญาว่าจะยุติการตัดไม้ทำลายป่า และฟื้นฟูป่าไม้ภายในปี 2573 ในสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อตกลงสำคัญข้อตกลงแรกของการประชุมสุดยอดว่าเรื่องสภาพภูมิอากาศของ สหประชาติ หรือ COP26

 

บราซิล ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของ ป่าฝนอเมซอนได้ถูกโค่นไปแล้ว ก็จะเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมลงนามในวันอังคารนี้

 

คำมั่นสัญญาในเรื่องนี้ ก็รวมถึงเรื่องกองทุนของ ภาครัฐ และ เอกชน เกือบ  1 หมื่น 9 พัน 200 ล้านดอลลาร์ 

 

ในส่วนของผู้เชี่ยวชาญ แม้ว่าจะยินดีกับการเคลื่อนไหวดังกล่าว แต่ก็เตือนว่าข้อตกลงก่อนหน้านี้ในปี 2557 ยัง “ไม่สามารถชะลอการตัดไม้ทำลายป่าได้เลย” ดังนั้นความมุ่งมั่น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องถูกนำมาปฏิบัติ

 

ต้นไม้ที่ถูกตัดโค่น มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะทำให้ป่าไม้ที่ดูดซับก๊าซโลกร้อนอย่างคาร์บอนไดออกไซด์หมดไป

 

การประชุมสุดยอดเป็นเวลา 2 สัปดาห์ที่กลาสโกว์ถูกมองว่ามีความสำคัญ หากต้องการควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

ประเทศที่บอกว่าจะลงนามในคำปฏิญาณ ก็รวมถึงแคนาดา บราซิล รัสเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งพื้นที่ของประเทศครอบคลุมพื้นที่ป่าประมาณ 85% ของโลก

 

เงินทุนบางส่วนจะถูกส่งไปยังประเทศกำลังพัฒนาเพื่อฟื้นฟูที่ดินที่เสียหาย แก้ไขปัญหาไฟป่า และสนับสนุนชุมชนคนพื้นเมือง

 

ขณะที่รัฐบาล 28 ประเทศมุ่งมั่นที่จะขจัดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ออกจากการค้าโลกในส่วนของอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ  เช่น น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง และโกโก้

 

อุตสาหกรรมเหล่านี้ผลักดันเรื่องการสูญเสียป่าไม้โดยการตัดต้นไม้เพื่อให้มีที่ว่างสำหรับสัตว์ที่กินหญ้า หรือการปลูกพืชผล

ผู้นำกว่า 100 ประเทศทั่วโลกจะตกลงเลิกตัดไม้ทำลายป่าปี 2573

 

บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกมากกว่า 30 แห่ง มุ่งมั่นที่จะยุติการลงทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า

 

และจะมีการจัดตั้งกองทุน 1 พัน 100 ล้านปอนด์ เพื่อปกป้องป่าฝนเขตร้อนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกในเขตลุ่มน้ำคองโก

 

นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับโลกในเมืองกลาสโกว์ คาดว่าจะเรียกสิ่งนี้ว่า "ข้อตกลงสำคัญในการปกป้องและฟื้นฟูผืนป่าของโลก"

 

คาดกันว่า เขาจะพูดถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า  "ระบบนิเวศขนาดใหญ่เหล่านี้ - วิหารแห่งธรรมชาติ - เป็นปอดของโลกของเรา" 

 

ศาสตราจารย์ ไซมอน ลูอิส ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศและป่าไม้แห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนบอกว่า "นับเป็นข่าวดีที่มีความมุ่งมั่นทางการเมืองในการยุติการตัดไม้ทำลายป่าจากหลายประเทศ และเงินทุนจำนวนมากเพื่อก้าวไปข้างหน้าในการเดินทางนั้น"

 

แต่เขาก็บอกว่า โลก "เคยมาที่นี่มาก่อน" ด้วยคำประกาศในปี 2557 ที่นิวยอร์ก "ซึ่งไม่สามารถชะลอการตัดไม้ทำลายป่าได้เลย"

 

เขาเสริมว่าข้อตกลงใหม่นี้ไม่ได้จัดการกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ เช่น เนื้อสัตว์ที่ปลูกในพื้นที่ป่าฝน ซึ่งใช้สำหรับการบริโภคในระดับสูงในประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร

 

แอนนา หยาง กรรมการบริหารของ Chatham House Sustainability Accelerator ผู้ร่วมเขียนรายงาน Rethinking the Brazilian Amazon บอกว่า “ข้อตกลงนี้เกี่ยวข้องกับประเทศต่าง ๆ จำนวนผู้เล่นที่มากขึ้น และเงินที่มากขึ้น แต่มารก็อยู่ในรายละเอียดที่เรายังต้องดู .

ผู้นำกว่า 100 ประเทศทั่วโลกจะตกลงเลิกตัดไม้ทำลายป่าปี 2573

 

 

“นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญจริง ๆ ในการประชุม COP26 การประชุมครั้งนี้เป็นการเพิ่มระดับความทะเยอทะยาน และรักษาอุณหภูมิโลกให้สูงขึ้นต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ” 

 

ส่วน ตุนเทียก กาตัน จากกลุ่ม " การประสานงานของชุมชนพื้นเมืองในลุ่มน้ำอเมซอน " ยินดีกับข้อตกลงนี้ โดยบอกว่าชุมชนพื้นเมืองอยู่แนวหน้าของการหยุดการตัดไม้ทำลายป่า

 

ชาวชูอาร์ ชาวพื้นเมืองจากเอกวาดอร์รายนี้บอกว่าชุมชนพื้นเมืองทั่วโลกปกป้อง 80% ของความหลากหลายทางชีวภาพของโลก แต่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามและความรุนแรง

"เป็นเวลาหลายปีที่เราปกป้องวิถีชีวิตของเรา และได้ปกป้องระบบนิเวศและป่าไม้ ถ้าไม่มีเรา เงินหรือนโยบายไม่สามารถหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้" 

 

อินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลก มันเป็นผลิตภัณฑ์ที่พบในทุกอย่าง ตั้งแต่แชมพูไปจนถึงบิสกิต การผลิตได้ผลักดันให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า และการสูญเสียดินแดนสำหรับชนเผ่าพื้นเมือง

 

ในขณะเดียวกัน ป่าธรรมชาติขนาดใหญ่ของรัสเซียซึ่งมีต้นไม้มากกว่า 1 ใน 5 ของโลก ก็ทำหน้าที่ดักจับคาร์บอนได้มากกว่า 1 พัน 500 ล้านตันต่อปี

 

ผู้นำกว่า 100 ประเทศทั่วโลกจะตกลงเลิกตัดไม้ทำลายป่าปี 2573

ในป่าฝนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่างอเมซอน การตัดไม้ทำลายป่าเร่งตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 12 ปีในปี 2563 ในสมัยของประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารู 

 

“การให้บราซิลลงนามในข้อตกลงมีความสำคัญจริง ๆ เพราะมีป่าเขตร้อนจำนวนมาก แต่เงินจะต้องถูกส่งไปยังผู้ที่สามารถทำงานนี้มรพิ้นที่ ” นางหยางบอก

 

ผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในอเมซอน รวมทั้งในเขตเมือง ต้องพึ่งพาป่าเพื่อการดำรงชีวิต และพวกเขาต้องการความช่วยเหลือในการหารายได้ใหม่ 

 

ต้นไม้เป็นหนึ่งในการป้องกันที่สำคัญของเราในโลกที่ร้อนขึ้น พวกมันดูดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศ ทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน พวกมันดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 1 ใน 3 ของโลกที่ปล่อยออกมาในแต่ละปี

 

ปัจจุบันพื้นที่ป่าขนาด 27 สนามฟุตบอลหายไปทุกนาที

 

ป่าไม้ที่หมดไป ก็ยังสามารถเริ่มปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ หากมีการตัดต้นไม้มากเกินไป นักวิทยาศาสตร์ก็กังวลว่าโลกจะถึงจุดเปลี่ยนซึ่งจะทำให้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเกิดขึ้นอย่างกะทันหันและคาดเดาไม่ได้
 

ผู้นำกว่า 100 ประเทศทั่วโลกจะตกลงเลิกตัดไม้ทำลายป่าปี 2573

logoline