- 05 ต.ค. 2564
- 203
ธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับประเด็น “ลูกหนี้ไม่ได้รับความช่วยเหลือ เพราะกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด” ลบความเข้าใจผิดเกี่ยวกับแบงก์ชาติ พร้อมแจงมาตรการช่วยเหลือ
4 ตุลาคม 2564 จากกรณีที่ประชาชนสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก เกี่ยวกับมาตรการการช่วยเหลือ "ลูกหนี้" ที่มีกฏเกณฑ์เข้มงวด ทำให้ลูกหนี้ไม่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ
ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ ได้ไขข้อข้องใจของ “ลูกหนี้” ดังต่อไปนี้
จริงหรือที่ "ลูกหนี้ไม่ได้รับความช่วยเหลือ เพราะแบงก์ชาติกำหนดเกณฑ์ที่เข้มงวด" ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาทของแบงก์ชาติในเรื่องนี้มีคำตอบ
ความจริงแล้วการออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ผ่านมา แบงก์ชาติได้ผ่อนปรนเกณฑ์กำกับสถาบันการเงินหลายอย่างเพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินต่างๆ สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ได้มากขึ้น
ทั้งนี้ประเด็นที่ประชาชนสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมากคือ “พักชำระหนี้ แต่ดอกเบี้ยเดินตลอด”
ทางแบงก์ชาติ ชี้แจงว่า “มาตรการพักชำระหนี้ที่ผ่านมา เป็นการพักการจ่ายหนี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้สามารถนำเงินที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นไปใช้จ่ายในด้านอื่นๆ ที่จำเป็น โดยมีการชี้แจงชัดเจนว่าเป็นการพักการจ่ายหนี้ แต่ยังมีดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม และไม่ถือเป็นการขาดจ่ายหนี้ หรือเสียประวัติการจ่ายชำระ”
มาตราการช่วยเหลือลูกหนี้ มีกฎเกณฑ์อย่างไรบ้าง
มาตรการเสริมสภาพคล่อง
- ปรับเงื่อนไขสินเชื่อฟื้นฟูให้ยืดหยุ่นมากขึ้น
- จากเดิมที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อ soft Ioan
- ลดข้อจำกัดการเข้าถึงสินเชื่อโดยเฉพาะลูกหนี้
- กลุ่มเปราะบางจากสถานการณ์โควิด 19
- ที่รุนแรงและยึดเยื้อมากขึ้น
ขยายวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูเพิ่มเติม เพื่อให้ลูกหนี้เข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น
กฎเกณฑ์เดิม
- ลูกหนี้รายใหม่ วงเงินสินเชื่อ ไม่เกิน 20 ล้านบาท (รวมวงเงินทุกสถาบันการเงิน)
- ลูกหนี้รายเก่า วงเงินสินเชื่อ 30% ของวงเงิน แต่ละสถาบันการเงิน* (ไม่เกิน 150 ล้านบาท)
กฎเกณฑ์ใหม่
- ลูกหนี้รายใหม่ วงเงินสินเชื่อ ไม่เกิน 50 ล้านบาท (รวมวงเงินทุกสถาบันการเงิน)
- ลูกหนี้รายเก่า วงเงินสินเชื่อ 30% ของวงเงินแต่ละสถาบันการเงิน* (ไม่เกิน 150 ล้านบาท) หรือสูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้ที่ 30% ของวงเงินเดิมไม่ถึง 50 ล้านบาท
*เลือกยอดที่สูงที่สุด : วงเงินของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ณ 31 ธ.ค. 2562 หรือ 28 ก.พ. 2564
มาตรการแก้หนี้เดิม
- กำหนดคุณสมบัติให้ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 เข้ามาตรการได้
- การช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย : ไม่เป็น NPL ณ วันที่ 1 มี.ค. 63
- การแก้หนี้ระยะยาว : ลูกหนี้ทุกประเภทที่ได้รับผลกระทบ
ผ่อนปรนเกณฑ์เพื่อให้สถาบันการเงินช่วยลูกหนี้มากขึ้น
- เป็นการส่งผ่านต้นทุนทางการเงินที่ลดลง ไปช่วยลูกหนี้ได้อย่างต่อเนื่อง
- คงความยืดหยุ่นการใช้หลักเกณฑ์การจัดชั้น และกันเงินสำรอง รวมทั้งขยายระยะเวลาปรับลด
- FIDF Fee เหลือ 0.23% ต่อปีถึงสิ้นปี 2565
หากธนาคารพาณิชย์แจ้งเกณฑ์ที่ต่างไปจากนี้ หรือ ต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์การช่วยเหลือในแต่ละสามารถติดต่อเข้ามาที่แบงก์ชาติได้ที่
- มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูและพักทรัพย์พักหนี้ : โทs 0-2283-6112
- มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อื่น ๆ : โทร 1213 (ศคง. 1213)
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย