svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

บทเรียนเอเวอร์แกรนด์ อย่าลงทุนจนเกินตัว

24 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วิกฤตบริษัทอสังหาริมทรัพย์ เอเวอร์แกรนด์ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการลงทุนที่เกินตัวของจีน คล้ายๆ กับวิกฤตต้มยำกุ้งที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย แม้ว่าจีนจะมีกฎหมายควบคุมการลงทุนที่เข้มงวด ก็ยังมีช่องโหว่จนเกิดวิกฤตครั้งนี้

เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 มีโครงการกว่า 1,300 แห่ง อยู่ใน 280 เมืองทั่วประเทศจีน และยังมีธุรกิจในเครืออีกหลายอย่าง ด้วยขนาดของธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้ เอเวอร์แกรนด์ เป็นบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่มีหนี้มากที่สุดในโลกบริษัทหนึ่ง โดยมีภาระหนี้ราว 1,970,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 10 ล้านล้านบาท

 

วิบากกรรมของเอเวอร์แกรนด์ เริ่มต้นจากความเฟื่องฟูของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในยุค 90 ของจีน ซึ่งส่งผลให้กิจการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งในสถานการณ์ปกติก็คงไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนกระทั่งรัฐบาลออกนโยบาย "เส้นสีแดง 3 เส้น" เมื่อปีที่แล้ว เพื่อควบคุมการเติบโตภาคอสังหาริมทรัพย์ บวกกับการชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจีน ทำให้เอเวอร์แกรนด์ ได้รับผลกระทบอย่างจัง หุ้นบริษัทร่วงลงกว่า 70% และเริ่มผิดนัดชำระหนี้ ทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักลงทุน และสถาบันการเงินจนเกิดเป็นวิกฤต

ความผิดพลาดของ เอเวอร์แกรนด์ อาจแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจอสังหาริมทรัพย์ของจีนอาจจะกำลังเดินซ้ำรอยวิกฤติต้มยำกุ้งที่เคยเกิดขึ้นในไทยเมื่อ 22 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตแบบฟองสบู่ การลงทุนเพื่อเก็งกำไรแบบเกินตัว แต่โชคดีที่จีนมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งช่วยให้วิกฤตครั้งนี้ไม่ลุกลาม รุนแรงเท่ากับวิกฤตต้มยำกุ้งของไทย โดยจีนได้อัดฉีดเงินเข้ามาในระบบมากกว่า 90,000 ล้านหยวนแล้ว เพื่อไม่ให้วิกฤตครั้งนี้ ลุกลามเข้าสู่ระบบการเงิน

บทเรียนที่เราควรเรียนรู้จากกรณีนี้ คือรัฐบาลจำเป็นต้องติดตามการประกอบธุรกิจของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ เพราะมีความเสี่ยงว่า หากเกิดความผิดพลาดจะส่งผลกระทบมาสู่ระบบการเงินได้ รัฐบาลต้องติดตามและวิเคราะห์ความเสี่ยงของบริษัทเหล่านี้ หากบริษัทไหนมีความเสี่ยง ก็จะสามารถตัดไฟแต่ต้นลม เพื่อไม่ให้ความเสียหายกระจายไปในวงกว้าง

logoline