svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

UN เตือน ภูมิอากาศโลกจ่อวิกฤต ด้าน ทส.ชูเพิ่มพื้นที่ป่า ลดก๊าซเรือนกระจก

20 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

UN ชี้โลกร้อนขึ้นและกำลังเดินไปสู่หายนะ วอนผู้นำโลกขยับเป้าลดก๊าซเรือนกระจกด่วน ด้านประเทศไทย ทส.ชูเพิ่มพื้นที่สีเขียว เร่งปลูกไม้ยืนต้น ดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

20 กันยายน 2564 รายงานจากสหประชาชาติชี้ให้เห็นว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกำลังจะเพิ่มขึ้นซึ่งนำไปสู่เส้นทางที่จะทำให้โลกร้อนเกิน 2.7 องศาเซลเซียส จากอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยขณะนี้โลกร้อนขึ้นแล้วราว 1 องศาเซลเซียส ตัวเลขอุณหภูมิคาดการณ์นี้ทำให้เป้าหมายที่จะลดโลกร้อน จากความตกลงปารีสนั้นล้มเหลว โดยความตกลงดังกล่าวตั้งเป้าไม่ให้โลกร้อนเกิน 1.5 - 2 องศาเซียส โดยนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส กล่าวว่า ...

"ความล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายนี้จะนำมาสู่การสูญเสียชีวิตและความเป็นอยู่อย่างมหาศาล"

  UN เตือน ภูมิอากาศโลกจ่อวิกฤต ด้าน ทส.ชูเพิ่มพื้นที่ป่า ลดก๊าซเรือนกระจก

ในส่วนของประเทศไทย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e) ในปี 2558 โดยมาจากแหล่งกำเนิด 4 แห่ง ได้แก่ ภาคพลังงาน ร้อยละ 71.65 ภาคเกษตร ร้อยละ 14.72 ภาคกระบวนการอุตสาหกรรม ร้อยละ 8.90 และภาคของเสีย ร้อยละ 4.73

นายจตุพร ยังกล่าวอีกว่า ประเทศไทยตระหนักถึงภาวะโลกร้อน โดย ทส. จะส่งเสริมมาตรการเพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียว เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ภาคเอกชน ประชาชน และชุมชน ปลูกไม้ยืนต้นให้มากขึ้นเพื่อเพิ่ศักยภาพในการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยจาก 90 เป็น 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เที่ยบเท่า ภายในปี 2579

UN เตือน ภูมิอากาศโลกจ่อวิกฤต ด้าน ทส.ชูเพิ่มพื้นที่ป่า ลดก๊าซเรือนกระจก

นายจตุพรกล่าวอีกว่า ทส.จึงส่งเสริมมาตรการเพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียว เพื่อลดภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ภาคเอกชน ประชาชน และชุมชน ปลูกไม้ยืนต้นให้มากขึ้น ทั้งนี้ ทส.ได้วางเป้าหมายในการเพิ่่มพื้นที่ป่าธรรมชาติ ร้อยละ 35 พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ร้อยละ 15 และพื้นที่สีเขียวในเมืองและชนบท ร้อยละ 5 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยจาก 90 เป็น 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซ์

ปลัด ทส. ยังกล่าวอีกว่า หากประเทศไทยสามารถเพิ่มพื้นทีสีเขียวได้ตามแผนที่วางไว้ จะสามารถเพิ่มปริมาณการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 178.04 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ทำให้เป้าหมายการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกของภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดินอยู่ที่ 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ดังนั้น การดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้ จึงเป็นอีกมาตรการเสริมที่สำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของประเทศไทย ที่มุ่งดำเนินการตามความตกลงปารีส เพื่อลดโลกร้อน

แฟ้มภาพ : ทส.ชวนคนไทยปลูกต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียว

 

เดือนที่ผ่านมารายงานของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ IPCC ได้รายงานว่าโลกร้อนขึ้น และกำลังอยู่ในสัญญาณสีแดง Code red และโลกจะร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียสราวปี 2030 ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้เป็นอย่างมาก 

หนึ่งในความหวังของโลกต่อเรื่องสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงคือการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP 26 ที่จะจัดขึ้นในสหราชอาณาจักรในปลายเดือนตุลาคมนี้ โดย IPCC เตือนว่าโลกจำเป็นต้องลดก๊าซเรือนกระจกลง 45% (จากระดับปี 2010) ภายในปี 2030 เพื่อบรรลุเป้าหมายอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าก๊าซเรือนกระจกจะถูกปล่อยเพิ่มขึ้น 16% ในช่วงเวลาดังกล่าว และทำให้โลกร้อนแตะ 2.7 องศาเซลเซียส

UN เตือน ภูมิอากาศโลกจ่อวิกฤต ด้าน ทส.ชูเพิ่มพื้นที่ป่า ลดก๊าซเรือนกระจก

สำหรับความตกลงปารีสมีเป้าหมายให้มีการลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 อย่างไรก็ตาม การลงมือมาตรการที่ล่าช้าของนานาประเทศ จะทำให้เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกนี้ดูห่างไกลออกไป

logoline