svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

นวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. “SMART FARMING” ยุคใหม่ สู้โควิด

18 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในยุควิกฤติสถานการณ์จากปัญหาโควิด-19 เช่นนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า มีหลายกลุ่มคนได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ โดยเฉพาะกลุ่มคนในพื้นที่ชุมชน ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจที่ดูจะมีรายได้ที่ลดลง บางครอบครัวก็ไม่สามารถหมุนเงินได้ เนื่องจากภาระและรายจ่ายที่มากขึ้นหรือเท่าเดิม แต่รายรับน้อยลง ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน จึงเป็นที่มาของ “โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท.”

อีกหนึ่งโครงการที่สำคัญของ ปตท. คือ “โครงการ Restart Thailand” โครงการนี้สนับสนุนการจ้างงาน เปิดโอกาสให้นักศึกษาจบใหม่ หรือผู้ที่มีความสนใจต้องการหารายได้ในช่วงวิกฤตินี้ ให้มาร่วมงานกับโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. เพื่อส่งเสริมผลักดันงานกิจการเพื่อสังคมด้าน Smart Farming จนเกิดผลสัมฤทธิ์ โดยงาน Smart Farming จะเป็นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีของกลุ่ม ปตท. เข้าไปพัฒนาพื้นที่เกษตร เพื่อช่วยยกระดับกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรสู่วิถีใหม่ ช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชน

 

วันนี้ เราจึงจะมาติดตามความคืบหน้าของโครงการฯ ในเรื่องของ “Smart Farming” มีที่ไหนบ้าง? และมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง? โดยเราจะมาพูดถึงชุมชนที่ร่วมโครงการนี้กัน


ผ่านมา ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี มีปัญหาด้านค่าใช้จ่าย ด้านพลังงานของชาวบ้าน ปตท. จึงได้เข้ามาส่งเสริมให้ใช้พลังงานทดแทน เช่น โครงการระบบผลิตและส่งจ่ายก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรระดับชุมชน (Biogas) ทำให้ชาวบ้านลดค่าใช้จ่ายไปได้จำนวนมาก และต่อมาในปี 2564 นี้ ได้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนการบริหารจัดการ เข้ามาเพิ่มศักยภาพเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการเกษตร ที่ไม่สามารถปลูกพืชผักสวนครัวได้ตลอดทั้งปี โดยการนำระบบโซลาเซลล์ มาใช้ประโยชน์ในการสูบน้ำ และเพื่อจ่ายไฟ ให้กับระบบ IoT หรือ Internet of Things ภายในโรงเรือนอัจฉริยะ อีกทั้งมีการนำนวัตกรรมโดรนมาใช้ เพื่อการเกษตรใช้ในการให้ปุ๋ย โดย ชุมชนได้ตั้งเป้าหมายในปี 2564 จะเป็นศูนย์กลางของการรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร และจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรด้วย

ชุมชนถัดมาก็น่าสนใจ “Smart Farming” ของอำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยก่อนหน้านี้ ชุมชนได้เพาะปลูกฝักทองในพื้นที่โล่งแจ้ง ทำให้เพาะปลูกได้ 1 รอบต่อครั้งในฤดูกาล ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แต่เมื่อได้นำมาเพาะปลูกในโรงเรือน ใช้ระบบ IoT หรือ Internet of Things เพื่อควบคุมปัจจัยการเจริญเติบโต ของต้นฟักทอง ทำให้สามารถปลูกได้ 3 รอบต่อปี ที่สำคัญเมล็ดพันธุ์ที่ปลูกจากโรงเรือน สามารถนำไปขอรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้อีกด้วย โรงเรือนที่นี่สามารถปลูกได้ถึงจำนวน 100 ต้น ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากต่อความต้องการ  และเมื่อเข้าร่วมโครงการนี้ ทำให้สามารถกระจายสินค้าได้ทั่วถึง ผลผลิตของสินค้าดีขึ้น และชุมชนได้ใช้ช่องทางออนไลน์กระจายสินค้าอีกด้วย

 

นวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. “SMART FARMING” ยุคใหม่ สู้โควิด

 

นวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. “SMART FARMING” ยุคใหม่ สู้โควิด

 

มาถึงอีกหนึ่งจังหวัดที่น่าสนใจไม่แพ้กัน อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ชุมชนที่นี่ทำฟาร์มเพื่อส่งเสริมการเกษตรให้คนพิการ แต่ปัญหาที่พบคือ ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้จำนวนมาก จึงได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการทำการเกษตร โดยปีนี้ได้วางแผน จัดทำโซลาเซลล์ ระบบการจัดการน้ำที่แม่นยำ โรงเรือนปลูกผักมูลค่าสูง และขุดลอกบ่อกักเก็บน้ำ ปริมาตร 28,000 ลบ.ม.เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำในฤดูฝน และใช้เป็นแหล่งน้ำหลักทำการเกษตร โดยใช้โซลาเซลล์ในการผันน้ำทำการเกษตร ที่สำคัญเลยคือ ชุมชนแห่งนี้ได้พัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ “Smart Farming” สำหรับคนพิการ อีกทั้งยังสร้างรายได้ให้คนในชุมชนและคนพิการอีกด้วย

นวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. “SMART FARMING” ยุคใหม่ สู้โควิด

 

สำหรับตำบลลำสินธุ์ จังหวัดพัทลุง โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาแปลงผัก เป็นพืชเศรษฐกิจ พัฒนาสมุนไพรให้เป็นอาหารและยา พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตำบลลำสินธุ์ โดยชุมชนมีการแบ่งการปลูกสมุนไพรแบบแบ่งโซน มีระบบการให้น้ำ มีการศึกษางานวิจัยเพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดอยู่เสมอ ทำให้ผลผลิตออกมาเพียงพอ มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพที่ดี

 

นวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. “SMART FARMING” ยุคใหม่ สู้โควิด

 

นวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. “SMART FARMING” ยุคใหม่ สู้โควิด

 

จากที่ได้เห็นภาพรวมของโครงการนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าทุกชุมชนมีการปรับตัว ทั้งทางด้านการทำเกษตรกร สภาพแวดล้อม เพิ่มรายได้เข้าชุมชนโดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ มาเป็นตัวช่วยที่จะทำให้การเกษตรในชุมชนเติบโตไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยได้รับการส่งเสริมจาก กลุ่ม ปตท. ผ่าน “โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท.” และในเรื่องของ “Smart Farming” จะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเกิดระบบการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ ที่จะทำให้สังคมหรือชุมชนมีคุณภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญมีผลผลิตที่ดี นำมาสู่การกระจายรายได้สู่ชุมชน 

 

logoline