svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"อ.ปริญญา" ชี้ การทำ MOU นโยบาย เป็นบรรทัดฐานใหม่การจัดตั้งรัฐบาล

18 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"อ.ปริญญา" มองการทำ MOU นโยบาย เป็นบรรทัดฐานใหม่ของการจัดตั้งรัฐบาล สำคัญยิ่งกว่าแบ่งกระทรวง ระบุ ขอส.ว.อย่าปิดประตูรับฟัง

18 พฤษภาคม 2566 นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการทำ MOU นโยบายของรัฐบาลก้าวไกลว่านับว่าเป็นเรื่องใหม่ ที่ผ่านมาการตั้งรัฐบาลผสมจะมีการเจรจาต่อรอง ในเรื่องของตำแหน่งและกระทรวง แต่ขณะนี้จะเกิดมิติใหม่และจะเป็นบรรทัดฐานใหม่ของการตั้งรัฐบาล ซึ่งเมื่อมีพรรคอื่นมาร่วมด้วยนโยบายที่หาเสียงจะมีความแตกต่างกัน ที่ผ่านมาไม่เคยมีการมาตกลงกันให้เป็นนโยบายรัฐบาล

\"อ.ปริญญา\" ชี้ การทำ MOU นโยบาย เป็นบรรทัดฐานใหม่การจัดตั้งรัฐบาล

 

สิ่งที่ควรจะทำคือ ข้อที่เหมือนกัน ก็จดเป็นนโยบายรัฐบาลไปเลย ส่วนข้อที่ต่างก็มาตกลงกันว่าทำประมาณไหน ก็จัดทำเป็นนโยบายรัฐบาลต่อไปได้ ส่วนอันที่ต่างกันและตกลงกันไม่ได้ หรือยังไม่สามารถตกลงกันได้ ก็เป็นข้อที่ต้องหารือกันต่อในสภาฯ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจกันได้ เพราะถ้าหากพรรคการเมืองใดมีเสียงเกินครึ่ง ก็ทำนโยบายได้เลย แต่ถ้าหากมีพรรคการเมืองอื่นร่วมด้วยก็ต้องฟังเสียงพรรคร่วมรัฐบาลด้วย ซึ่งตนเข้าใจว่าในการตกลงกันในขณะนี้ ก็ต้องใช้หลักการตามที่ได้กล่าวไป ซึ่งจะกลายเป็นมิติใหม่และสำคัญมาก

\"อ.ปริญญา\" ชี้ การทำ MOU นโยบาย เป็นบรรทัดฐานใหม่การจัดตั้งรัฐบาล

เพราะที่ผ่านมาเมื่อพรรคการเมืองไม่ได้ทำตามนโยบายหาเสียงไว้ และเมื่อเลือกตั้งใหม่ก็บอกกับประชาชนว่า เป็นเพียงพรรคร่วมรัฐบาล มีเสียงไม่มากพอ สุดท้ายที่หาเสียงไว้ ก็ไม่สามารถเป็นนโยบายรัฐบาลได้สักข้อ ดังนั้น การมาตกลงนโยบายรัฐบาลร่วมกัน จะเป็นกระบวนการที่การสำคัญยิ่งกว่าการแบ่งกระทรวง

ส่วนการขอเสียงสมาชิกรัฐสภาที่เหลือ ขณะนี้รัฐสภามี 750 คน ฝั่งที่กำลังจะตั้งรัฐบาลมี 313 คน ตัวเลขมากกว่ากึ่งหนึ่งคือ 376 คน ขาดอีก 63 เสียง จึงต้องใช้นโยบายที่ตกลงกันได้ไปหาเสียงจากสมาชิกรัฐสภา

ทั้งนี้ ส.ว.มีสิทธิ์ ในการที่จะโหวต ซึ่งโดยระบบไม่ถูกต้อง ที่ส.ว.มีสิทธิ์ตรงนี้ เพราะส.ว.ชุดนี้ไม่ได้มาจากประชาชน ไม่ได้ลงเลือกตั้งจากประชาชน เพราะฉะนั้นจะต้องฟังเสียงของประชาชน เพราะส.ว.มีอำนาจเท่ากับส.ส. ดังนั้นจึงควรที่จะต้องฟังเสียงของประชาชน ซึ่งข้อสังเกตที่ส.ว.บอกว่า จะปิดสวิตช์ตนเองโดยการงดออกเสียงนั้น ต้องเข้าใจว่า การงดออกเสียงไม่ใช่การงดออกเสียงโดยแท้จริง เพราะการงดออกเสียงความหมายคือไม่ตัดสินใจ ไม่ขอให้เสียงของตัวเอง มีผลในการตัดสินใจ แต่ถ้าหากส.ว.งดออกเสียงกันทั้งหมด รัฐบาลที่มาจากเสียงการเลือกตั้งของประชาชนก็จะไม่เกิดขึ้นมา

\"อ.ปริญญา\" ชี้ การทำ MOU นโยบาย เป็นบรรทัดฐานใหม่การจัดตั้งรัฐบาล

เพราะรัฐธรรมนูญเขียนให้ส.ว.มีอำนาจ ผลคือการที่ส.ว.ไม่รับรองรัฐบาลที่มาจากกติกาของระบอบประชาธิปไตยโดยรัฐสภา ที่พรรคอันดับ 1 ได้สิทธิในการตั้งรัฐบาล เมื่อรวมเสียงได้เกินครึ่งจากส.ส.ก็เป็นฉันทามติในการตั้งรัฐบาล นี่คือหลักการที่ส.ว.พึงพิจารณา ขณะนี้ขอให้ส.ว.อย่าเพิ่งปิดประตู รอฟังพรรคร่วมรัฐบาลที่ตั้งขึ้นมา ที่จะเข้าไปขอเสียงจากส.ว. มีข้อสงสัยส่วนใดก็ซักถาม ซึ่งยังมีเวลาพิจารณาจนกว่าจะมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

logoline