svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"เครือข่ายเสียงปชช." แถลงผลโหวต หนุน ส.ว."โหวตเลือกนายกฯ"ตามเสียงข้างมาก

18 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"เครือข่ายเสียงประชาชน" แถลงผลการโหวตเสียงประชาชน แห่หนุน" ส.ว." โหวตเลือกนายกฯตามเสียงข้างมาก เผยจากจำนวนโหวตทั้งสิ้น 3,487,313 ครั้ง เห็นด้วย 85% เปอร์เซ็นต์ และไม่เห็นด้วย 15% เปอร์เซ็นต์ (มีคลิป)

18 พฤษภาคม 2566 ที่ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  "เครือข่ายนักวิชาการเสียงประชาชน"  ประกอบด้วย "นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , "นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) "นายโอฬาร ถิ่นบางเตียว" มหาวิทยาลัยบูรพา "นายวันวิชิต บุญโปร่ง" มหาวิทยาลัยรังสิต "นายธนพร ศรียากูล" นายกสมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมกันแถลงผลการโหวตเสียงประชาชน และข้อเสนอแนะต่อการจัดตั้งรัฐบาลและการเลือกนายกรัฐมนตรี

"นายปริญญา"   กล่าวว่า  ตามที่เครือข่ายนักวิชาการเสียงประชาชนจาก 10 มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับสื่อมวลชน 10 สำนัก เปิดโหวต "เสียงประชาชน" มาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม เครือข่ายนักวิชาการเสียงประชาชนจึงขอแถลงผลการโหวต พร้อมกับข้อเสนอแนะต่อการจัดตั้งรัฐบาลและการเลือกนายกรัฐมนตรีตามระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ดังต่อไปนี้

1.ผลการโหวตเสียงประชาชน: คำถามคือ "ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ที่ ส.ว.ควรเคารพเสียงประชาชน โดยโหวตเลือกนากยกรัฐมนตรีตามเสียงข้างมากของ ส.ส." ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 15 พฤษภาคม ถึงเวลา 12.00 น. ของวันนี้คือ 18 พฤษภาคม 2566 มีการโหวตทั้งสิ้น 3,487,313 ครั้ง เห็นด้วย 85% เปอร์เซ็นต์ และไม่เห็นด้วย 15% เปอร์เซ็นต์

\"เครือข่ายเสียงปชช.\" แถลงผลโหวต หนุน ส.ว.\"โหวตเลือกนายกฯ\"ตามเสียงข้างมาก

การโหวตเสียงประชาชน โดยยึดถือหลักการ คือ การเปิดให้ประชาชนไม่ว่าฝ่ายใดได้ออกเสียงในประเด็นที่จะต้องมีการตัดสินใจโดยผู้มีอำนาจหน้าที่ ซึ่งก็คือ การออกเสียงประชามติตามหลักการของ "ประชาธิปไตยโดยตรง" นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถทำได้โดยสะดวก ไม่สิ้นเปลือง และรู้ผลโดยรวดเร็ว ซึ่งรัฐบาลที่จะตั้งขึ้นมาบริหารประเทศนับจากนี้ไปควรพิจารณานำไปพัฒนาต่อไปในการให้ประชาชนเจ้าของประเทศได้มีส่วนร่วมตัดสินใจในเรื่องราวต่างๆ ให้มากขึ้นและบ่อยขึ้น

2.ข้อเสนอแนะต่อ ส.ว.: การโหวตเสียงประชาชนที่ทำมาทั้ง 3 ครั้ง มีเป้าหมายประการเดียวคือ ให้ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจในเรื่องสาธารณะของประเทศ ได้รับฟังเสียงของประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศและเจ้าของงบประมาณของประเทศ สำหรับการโหวตเสียงประชาชนในครั้งนี้ ประเด็นคือเรื่องของการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของ ส.ว.

ทั้งนี้เนื่องจาก ส.ว.มีอำนาจเท่ากับ ส.ส.ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และได้เงินเดือนและค่าตอบแทนเท่ากับ ส.ส. แต่ไม่ได้ถูกเลือกมาจากประชาชน และไม่ได้มีสัญญาประชาคมกับประชาชนว่าจะเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรี ดังเช่น ส.ส.ที่ได้กระทำในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง 

ดังนั้น ส.ว.จึงยิ่งต้องฟัง "เสียงประชาชน" ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และไม่ควรทุ่มเถียงหรือเกี่ยงงอนกับประชาชน หรือบอกประชาชนไม่ให้กดดัน เพราะตำแหน่ง ส.ว.ไม่ได้ทำหน้าที่แบบให้เปล่าหรืออาสาสมัคร แต่มีเงินเดือนและค่าตอบแทนจากภาษีอากรของประชาชน และการเลือกนายกรัฐมนตรีก็มิใช่เรื่องส่วนบุคคล หรือกิจการส่วนตัวของ ส.ว. หากเป็นเรื่องส่วนรวม ที่ประชาชนเจ้าของประเทศย่อมมีสิทธิส่งเสียงได้ ทั้งนี้ในวิถีทางภายใต้กฎหมายและวิธีการที่เหมาะสมด้วย

3.การจัดตั้งรัฐบาลและการเลือกนายกรัฐมนตรีตามระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา: ระบบรัฐสภาคือการให้ประชาชนเลือกนายกรัฐมนตรีผ่านการเลือก ส.ส.และพรรคการเมือง พรรคใดได้เสียงข้างมากย่อมได้จัดตั้งรัฐบาล เพราะได้ฉันทานุมัติมาจากประชาชนจากการเลือกตั้ง ในกรณีที่ไม่มีพรรคใดได้ ส.ส.เกินครึ่ง ก็ต้องตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคอื่นที่มีแนวนโยบายไปในทางเดียวกัน โดยพรรคที่ได้ ส.ส.มากที่สุดจะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล

\"เครือข่ายเสียงปชช.\" แถลงผลโหวต หนุน ส.ว.\"โหวตเลือกนายกฯ\"ตามเสียงข้างมาก

การตั้งรัฐบาลผสมซึ่งเป็นกรณีปกติของระบบรัฐสภา สิ่งที่พรรคที่จัดตั้งรัฐบาลพึงกระทำไม่ใช่เพียงแค่ตกลงหรือต่อรองกันในเรื่องการจัดสรรหรือแบ่งกระทรวง แต่ต้องเป็นการตกลงกันในเรื่องนโยบายที่หาเสียงไว้กับประชาชน นโยบายที่เหมือนกันก็นำมาเป็นนโยบายรัฐบาล นโยบายที่แตกต่างก็ต้องตกลงกันว่าจะปรับเข้าหากันให้เป็นนโยบายรัฐบาลได้อย่างไร

หากมีนโยบายใดตกลงกันไม่ได้ก็ให้ไปหารือกันในสภาต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีนโยบายที่เห็นต่างกันมากหรืออาจจะสร้างความขัดแย้งแตกแยกได้มาก ก็อาจจะให้เป็นเรื่องการสร้างพื้นที่และเวทีในการหารือร่วมกันของสังคมก่อนดำเนินการ

4."การหาเสียงครั้งที่สอง" ของพรรคที่ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล: การหาเสียงกับประชาชนได้เสร็จสิ้นไปแล้วโดยปรากฏเป็นผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยพรรคฝ่ายค้านเดิมหรือที่เรียกกันว่า "พรรคฝ่ายประชาธิปไตย" ได้เสียงข้างมากรวมกันเกิน 300 เสียง

โดยพรรคก้าวไกลที่ได้เสียงอันดับหนึ่งเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งจากจำนวนเสียง 313 เสียงในขณะนี้นั้นมากเพียงพอในการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้ ส.ว.ชุดแรกเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. ทำให้จำนวนเสียงที่ต้องใช้ในการเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้งสองสภาซึ่งก็คือ 376 เสียง ซึ่งยังขาดอีก 63 เสียงจึงจะเป็นรัฐบาลได้

จากนี้ไปอีกประมาณ 60 วันที่จะมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี จึงถือได้ว่าเป็น "การหาเสียงครั้งที่สอง" พรรคที่กำลังจะเป็นรัฐบาลจะต้องไปหาเสียงต่อกับผู้เลือกนายกรัฐมนตรี ขณะนี้มี 313 เสียงแล้ว จึงขาดอีก 63 เสียง ซึ่งสามารถหาเสียงหรือขอเสียงได้ทั้งจาก ส.ส.ที่เหลือ และ ส.ว.อีก 250 คน โดยใช้นโยบายที่ตกลงกันได้ตามข้อ 3 เป็น "นโยบายว่าที่รัฐบาล" ไปหาเสียงว่าเป็นรัฐบาลแล้วจะทำอะไร ส่วนจะหาเสียงอย่างไรก็เป็นเรื่องวิธีการของพรรคที่กำลังจัดตั้งรัฐบาล

5.บทบาทหน้าที่ กกต.: ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนมีความรู้สึกคลางแคลงใจต่อการทำหน้าทึ่ของ กกต.ยิ่งกว่าการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา กกต.จึงต้องยิ่งแสดงออกในการทำหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้งรัฐบาลและการเลือกนายกรัฐมนตรี กกต.ต้องประกาศผลการเลือกตั้งและรับรอง ส.ส. ให้คนเชื่อมั่นได้ในความเที่ยงธรรม คือเป็นไปโดยไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกับพรรคหนึ่งพรรคใด

สำหรับในเรื่องคุณสมบัติต่างๆ ของผู้สมัคร ส.ส.นั้น หากมีผู้สมัครคนใดมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนหรือมีคุณสมบัติต้องห้าม กกต.ควรต้องประกาศว่าขาดคุณสมบัติมาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง หากเลือกตั้งเสร็จแล้วค่อยประกาศว่าขาดคุณสมบัติ ย่อมเป็นความบกพร่องของ กกต.และย่อมถูกมองได้ว่าอาจมีเจตนาให้คุณให้โทษกับผู้หนึ่งผู้ใด หรือพรรคหนึ่งพรรคใดได้

\"เครือข่ายเสียงปชช.\" แถลงผลโหวต หนุน ส.ว.\"โหวตเลือกนายกฯ\"ตามเสียงข้างมาก

สิ่งที่ กกต. พึงกระทำคือหากมิใช่กรณีการทุจริตหรือคดโกงการเลือกตั้งแล้ว กกต.ควรต้องประกาศรับรองผลการเลือกตั้งให้เป็น ส.ส. และหากผู้ใดมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ หรือต้องตีความ ก็ควรให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญต่อไป ไม่พึงตัดสินเองในเรื่องที่เป็นอำนาจฝ่ายตุลาการเพราะจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย

พร้อมกันนี้ นายปริญญา กล่าวถึงข้อสังเกตุในการโหวตเรื่องเห็นด้วยหรือไม่ที่ส.ว. ควรเคารพเสียงของประชาชนในการโหวตเลือกในยุครัฐมนตรีตามเสียงข้างมากของส.ส.ดังกล่าว ว่า ใน 12 ชั่วโมงสุดท้าย พบว่ามีตัวเลขการเห็นด้วยมากถึง  93% แต่กลับมีการโหวตไม่เห็นด้วยในช่วงเวลามากถึง 3 แสนครั้ง ทำไมผลเห็นด้วยจาก 93% เหลือ 85% ถ้าข้อกังวลเป็นเรื่องจริงอาจจะมีการพยายามทำอะไรบางอย่างหรือไม่ เพื่อทำให้ผลโหวตเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยมีความใกล้เคียงกัน

\"เครือข่ายเสียงปชช.\" แถลงผลโหวต หนุน ส.ว.\"โหวตเลือกนายกฯ\"ตามเสียงข้างมาก

ด้าย"นายพิชาย" กล่าวว่า ที่ผ่านมากกต.ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง หลังจากนั้นกกต.ก็ได้มีการแก้ไขและสร้างความชัดเจนมากขึ้น ในวันเลือกตั้งไม่ค่อยมีข่าวในเรื่องของการโกงการลงคะแนน ถือว่ากกต.ปฏิบัติหน้าที่ที่ดีพอสมควร ในแง่ของการซื้อขายเสียงก็มีบ้างหนาหูในภาคพื้นที่ ส่วนในเรื่องของการรับรองผู้สมัครส.ส.ต้องใช้เวลามากถึง 2 เดือน ทำให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องยึดเยื้อออกไป และสร้างความไม่แน่นอนให้เกิดขึ้นในประเทศ เช่น ความผันผวนในตลาดหุ้น ซึ่งกกต.สามารถแก้ไขได้เพื่อให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้นโดยการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไปเร่งประกาศรับรองผลการเลือกตั้งให้รวดเร็วและเที่ยงธรรม ถ้ากกต.สามารถทำได้ชื่อเสียงที่เสียหายไปก่อนหน้านี้ก็จะได้รับการกอบกู้กลับมาบ้าง แล้วจะทำให้การเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึ้นการจัดตั้งรัฐบาลก็เป็นไปได้โดยเร็ว

\"เครือข่ายเสียงปชช.\" แถลงผลโหวต หนุน ส.ว.\"โหวตเลือกนายกฯ\"ตามเสียงข้างมาก

ขณะที่"นายโอฬาร" กล่าวว่ากรณีเรื่องของส.ว. แม้การทำงานไม่ค่อยตอบสนองความต้องการของประชาชนมากเท่าไหร่ แต่หลังการเลือกตั้งตนเห็นสัญญาณที่ดีจากส.ว.จำนวนไม่น้อย ที่ออกมาแสดงจุดยืนเคารพมติเสียงข้างมากเคารพเจตนารมณ์ของประชาชน และคิดว่าส.ว. ที่เหลือจะมีจุดยืนในลักษณะนี้ เช่นเดียวกัน การตัดสินใจเลือกรัฐบาลที่รวบรวมเสียงส.สหรือเสียงก็มากได้ก็ถือว่าเป็นการที่ดีและส.ว.ชุดนี้ก็จะกอบกู้ภาพลักษณ์คืนมาได้ไม่มากก็น้อย แล้วหวังว่าในช่วง 1-2 เดือนนี้จะเห็นภาพทุกฝ่ายช่วยกันทำปกครองประชาธิปไตยให้เดินไปตามครรลอง และอยากให้ส.ว.รับเรื่องนี้ไปพิจารณาเพื่อเลือกรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

ขออย่ากังวลใจเพราะส.ว.ยังมีวาระอีก 1 ปี ที่จะคอยตรวจสอบถ่วงดุลให้รัฐบาลอยู่ในครรลอง เพื่อให้รัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้งและแสดงฝีไม้ลายมือในการทำงานในการผลักดันนโยบาย ที่สัญญากับประชาชนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามภายใน 2 เดือนนี้อะไรที่กังวลใจไม่สบายใจก็ควรเปิดตัวเจรจาพูดคุยกัน

ทั้งตัวแทน พรรคการเมืองที่จัดตั้งรัฐบาลและส.ว.สร้างบรรยากาศที่เรียกว่าประชาธิป ไตย แบบปรึกษาหารือ เพื่อเติมเต็มประชาธิป ไตยแบบตัวแทน

\"เครือข่ายเสียงปชช.\" แถลงผลโหวต หนุน ส.ว.\"โหวตเลือกนายกฯ\"ตามเสียงข้างมาก

ส่วน"นายธนพร" กล่าวว่า ความพยายามที่จะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยแทบจะไม่มีแล้ว ส่วนพรรคที่กำลังจัดตั้งรัฐบาลเคยเป็นฝ่ายค้าน กลับมาเป็นผู้บริหารประเทศซึ่งต้องระดมความร่วมมือความคิดเห็นที่ต่างมาเป็นความเข้าใจและขับเคลื่อนประเทศใด และในวันที่ 23 พฤษภาคมที่ส.ว.จะมีการประชุมวิสามัญ คิดว่าการพรรคที่จะจัดตั้งรัฐบาล มีความคิดที่จะไปพบฟังส.ว.ซึ่งเป็นความคิดที่ดี

ด้าน"นายวันวิชิต" กล่าวว่า การเปิดโหวตดังกล่าว ทำใหัเห็นว่าการเมืองภาคประชาชนเกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นโอกาสดีที่ให้วุฒิสภาชิก เป็นพี่เลี้ยงและให้คำแนะนำกับรัฐบาลชุดใหม่และจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะประคับประคอง ระวังการเปลี่ยนผ่านท้ายโอนอำนาจเป็นไปด้วยความราบรื่น ซึ่งในวันเลือกตั้งประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ต่อไปเราต้องมีการแก้ไขการเลือกตั้งให้สู่สากลมากยิ่งขึ้น และเป็นที่เคารพยอมรับนับถือมากขึ้น

ช่วงท้าย"นายปริญญา" กล่าวย้ำถึงการปิดสวิชต์ ส.ว. ว่าไม่ใช่การงดออกเสียง แต่คือไม่รับรอง รัฐบาลที่ได้เสียงมาจากประชาชน  และอย่าให้เขารวมเสียงถึง 376 เสียงเลย เพราะจะทำให้ถูกมองเป็นเผด็จการรัฐสภาได้ ส่วน"พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" ในการส่งสัญญาณไปถึงส.ว. นั้นย้ำว่า ในการขอเสียง ส.ว.  ให้เป็นเรื่องของพรรคแกนนำรัฐบาล 

ขณะที่ "นายพิชาย" ย้ำส่า ส.ว. คนใด ที่จะปิดสวิชต์ แนะนำให้ลาออก จะได้ไม่เป็นภาระในการหาร  เพราะหากพ้นตำแหน่ง จำนวนก็จะหักออก ตามกฎหมาย 

ส่วน"นายโอฬาร" กล่าวว่า เราเคยเห็นพฤษภาทมิฬประวัติศาสตร์ได้บอกไว้แล้วว่า ถ้าไม่ทำตามเจตจำนงของประชาชนท่ามกลางความครุกกุ่น ของแรงกดดันที่มีการตื่นตัวทางการเมืองที่เห็นเด่นชัดมาตั้งแต่การเลือกตั้งแสดงว่าประชาชนเฝ้าติดตามให้ส.ว.ทำตามเจตจำนง ส.ว.จึงต้องตระหนัก และกลับไปพิจารณา บทเรียนทั้งหมด

ชมคลิป>>>>

 

 

logoline