svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เลือกตั้ง 66 : "โพล"เครื่องมือเช็กเรตติ้ง-แต่ไม่ใช่ตัววัดชัยชนะ (คลิป)

15 เมษายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แน่นอนว่าผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่พรรคการเมือง ใช้นำมาพัฒนาตัวเองในการเรียกกระแสนิยมและปรับกลยุทธ์หาเสียง ให้โดนใจประชาชนก่อนเข้าคูหา "เลือกคนที่รัก-เลือกพรรคที่ชอบ" แต่จะเป็นคำตอบสู่การชนะเลือกตั้งได้หรือไม่นั้น

โดย "ดร.สติธร ธนานิธิโชติ" ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า ได้อธิบายถึงเรื่องนี้ผ่านรายการพิเศษ "สแกนบ้านใหญ่" ทาง "เนชั่นทีวี" ว่า โพลที่ซื้อได้ คือ โพลที่การเมืองตั้งใจจ้างทำเพื่อสร้างกระแส โดยการเมืองที่จ้างโพลอาจจะดูว่า จริงหรือไม่จริง หรือสวนทางกับความรู้สึกมากๆ แต่เชื่อว่า คนเท่าทันโพลแบบนี้มากขึ้น เพราะจะเห็นว่าคนที่ติดตามสื่อมีข้อมูลดี

ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า

ดร.สติธร ยกตัวอย่างเลือกตั้งกรุงเทพฯ โพลบางสำนักสวนความรู้สึกประชาชนมาก แต่สักพักต้องหยุดทำ เพราะคนไม่สนใจ สื่อไม่นำเสนอ เพราะไม่ใช่ ต้องเป็นโพลที่ถูกซื้อมาแน่ๆ โพลแบบนี้สวนความรู้สึกคนมากๆ จะค่อยๆ ตายไป

"วันนี้ความไม่แน่นอนการเลือกตั้งเกิดขึ้น ไม่แบเบอร์นอนมาเหมือนสมัยก่อน ภาคนั้น พรรคนั้น เขาจองตระกูลนั้น ตระกูลนี้ ถ้าลงชนะแน่ วันนี้ทุกคนรู้สึกว่ามีลุ้นมีโอกาสหมด แม้แต่พรรคใหญ่ บ้านใหญ่ ส่งผู้สมัครลงไปแต่ละเขต แม้ว่าจะมั่นใจ ได้ผู้สมัครเบอร์ดี นามสกุลดัง โปรไฟล์ดี แถมมีแบรนด์พรรคเข้าไปเติม แม้จะรู้สึกว่าจะชนะ ก็ไม่แน่มีโอกาสพลิกล็อก"

 

ดร.สติธร อรรถาธิบายต่อว่า เครื่องมืออะไรจะมีความแน่นอนในการวัด แน่นอนการเดินเข้าหาประชาชนเขาก็ต้องยิ้มแย้มต้อนรับบอกว่าเชียร์ เชียร์ ถึงเวลาเลือกหรือเปล่าไม่รู้ เพราะฉะนั้น ต้องเอาเครื่องมือที่พอคาดการณ์ เดาอนาคตได้ โดยการนำโพลเอามาใช้

ชมคลิป >>> สแกนบ้านใหญ่ 

 

สำหรับการเลือกตั้ง 66 รอบนี้ ดร.สติธร มองว่า สนามเปิดกว้าง พรรคการเมืองมีเป้าหมาย จะเป็นพรรคระดับไหน เป็นพรรคระดับ 40 พรรคระดับ 50 พรรคระดับ 100 หรือพรรคแลนด์สไลด์ เพื่อบรรลุเป้าหมาย ก็จะต้องไปดึงคนเข้ามาร่วม คนที่มั่นใจลงมาแล้วมีคะแนน มีภาพลักษณ์ โพลจึงถูกนำมาใช้เช็กเรตติ้ง

ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า

ทั้งนี้ เพราะไม่มั่นใจว่า เมื่อย้ายพรรคแล้ว แม้เคยชนะเลือกตั้งปี 62 แต่ไม่มั่นใจปี 66 จะลงสมัครอยู่พรรคไหน ไม่มั่นใจถ้าย้ายพรรคแล้วความนิยมจะมีเท่าปี 62 หรือไม่ ดังนั้น โพลจะถูกนำมาใช้ตรงนี้ ถามว่าถ้าคนนี้ลงจะเลือกไหม ประชาชนบอกเลือก ถ้าคนนี้ลงแล้วเปลี่ยนพรรค ประชาชนอาจลังเลบอกขอคิดดูก่อน

 

"โพลจะมีส่วนต่อการตัดสินใจจะย้ายหรือไม่ย้ายดี หรืออยู่ที่เดิมก็ดีอยู่แล้ว จะไปเสี่ยงทำไม แล้วช่วงเลือกตั้งแน่นอนว่า โพลน่าจะถูกใช้อย่าเอาจริง เอาจัง โดยมีการทำเป็นระยะๆ คะแนนมาหรือยังไปต่อได้ไหม ถ้าไปไม่ไหว คงต้องหยุด"

 

logoline