svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ป.ป.ช. ร่อนหนังสือแจงยิบ คุณสมบัติการเป็นกรรมการ ป.ป.ช. หลัง "ชูวิทย์" แฉ

15 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ป.ป.ช. ร่อนหนังสือแจงยิบ กรณี คุณสมบัติการเป็นกรรมการ ป.ป.ช. หลัง "ชูวิทย์" แฉ กก. ป.ป.ช. รายหนึ่งขาดคุณสมบัติ

15 มีนาคม 2566 นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงชี้แจงกรณีที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรรมการ ป.ป.ช. คนหนึ่งขาดคุณสมบัติการเป็นกรรมการ ป.ป.ช. และการดูแลรับผิดชอบคดีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อช่วยเคลียร์คดี ดังนี้

ป.ป.ช. ร่อนหนังสือแจงยิบ คุณสมบัติการเป็นกรรมการ ป.ป.ช. หลัง \"ชูวิทย์\" แฉ

     1.การสรรหากรรมการ ป.ป.ช. ได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการสรรหา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลปกครองสูงสุด และผู้ทรงคุณวุฒิอื่น ทำหน้าที่สรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม เป็นกรรมการ ป.ป.ช. โดยมีกระบวนการในการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครเป็นกรรมการ ป.ป.ช. อย่างเข้มข้น

จากนั้นผู้ได้รับการสรรหา เป็นกรรมการ ป.ป.ช. ยังต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้เป็นกรรมการ ป.ป.ช. อันเป็นการผ่านกระบวนการขั้นตอนการรับตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. อย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ

     2. การดูแลรับผิดชอบคดีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อช่วยเหลือคดีที่เกี่ยวข้องกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ขอแจ้งข้อเท็จจริงให้ทราบว่า ในการแบ่งหน้าที่และอำนาจให้กรรมการ ป.ป.ช. แต่ละท่านกำกับดูแลสำนักต่าง ๆ ในสำนักงาน ป.ป.ช. นั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะใช้วิธีการสุ่มเลือกเพื่อมอบหมาย โดยประธานกรรมการ ป.ป.ช. และกรรมการ ป.ป.ช. แต่ละท่านมิได้เป็นผู้เลือกเอง

และจะมีการสลับหมุนเวียนกันทำหน้าที่เมื่อครบระยะเวลา1 - 2 ปี ซึ่งท่านดังกล่าวได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้กำกับดูแลสำนักไต่สวนการทุจริตภาคการเมืองและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 นับเป็นเวลาเพียง 1 ปีเศษ

ป.ป.ช. ร่อนหนังสือแจงยิบ คุณสมบัติการเป็นกรรมการ ป.ป.ช. หลัง \"ชูวิทย์\" แฉ

อีกทั้ง ในการพิจารณาสำนวน หรือคดีต่างๆ นั้น การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะมีมติเพื่อ มีความเห็นว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ส่วนการพิจารณาสำนวนในชั้นตรวจสอบ โดยเฉพาะเรื่องกล่าวหาร้องเรียนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง เป็นอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะในการพิจารณา มิใช่อำนาจของกรรมการ ป.ป.ช. ที่กำกับดูแลเพียงท่านเดียว ที่จะรับเรื่องหรือไม่รับเรื่องกล่าวหาไว้ดำเนินการ

สำหรับกรณีการมีมติให้ไต่สวนบุคคลใด ก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะที่จะพิจารณา มิใช่อำนาจของกรรมการ ป.ป.ช. ที่กำกับดูแลเช่นกัน

จึงแถลงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

ป.ป.ช. ร่อนหนังสือแจงยิบ คุณสมบัติการเป็นกรรมการ ป.ป.ช. หลัง \"ชูวิทย์\" แฉ

logoline