svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เที่ยงคืนวันนี้ หากเห็นลูกไฟเคลื่อนที่ช้าๆ บนท้องฟ้า ให้สันนิษฐานว่าเป็น "ขยะอวกาศ"

08 มีนาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สมาคมดาราศาสตร์ไทย เผย เที่ยงคืนวันนี้ หากเห็นลูกไฟเคลื่อนที่ช้าๆ บนท้องฟ้า ให้สันนิษฐานว่าเป็น "ขยะอวกาศ" น้ำหนักครึ่งตัน จากสถานีอวกาศนานาชาติ ISS และอาจมองเห็นได้ทั่วไทย

8 มีนาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเพจ "สมาคมดาราศาสตร์ไทย" โพสต์ข้อความระบุว่า เที่ยงคืนวันนี้ (00:00-00:30 น.) หากมีลูกไฟสว่างไสวเคลื่อนไปช้าๆ จากฟ้าตะวันตก ยังตะวันออก ให้สันนิษฐานเลยว่า เป็นขยะอวกาศจากสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) น้ำหนักครึ่งตันตกลงมา และหากตกลงมาตามเวลาที่คำนวณ จะสามารถเห็นได้ทั่วไทย 

ทั้งนี้ สมาคมดาราศาสตร์ไทย แจ้งว่าผู้เชี่ยวชาญกำลังติดตามวงโคจร และประเมินจุดตกที่แม่นยำ หากมีความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบตลอดทั้งวัน

เที่ยงคืนวันนี้ หากเห็นลูกไฟเคลื่อนที่ช้าๆ บนท้องฟ้า ให้สันนิษฐานว่าเป็น \"ขยะอวกาศ\"

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ที่ผ่านมา มีผู้พบเห็นแสงเขียวสว่างวาบกลางท้องฟ้าราวสามทุ่มเศษ หลายพื้นที่ในจังหวัดแถบภาคกลาง และภาคตะวันออกของไทย ซึ่งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.)สันนิษฐานว่าเป็นดาวตกชนิด #ลูกไฟ (Fireball) ต่อเนื่องช่วงค่ำวันที่ 6 มีนาคม ปรากฏลูกไฟขนาดใหญ่อีกครั้ง แตกเป็นหลายชิ้นส่วน เหนือท้องฟ้าหลายจังหวัดของไทย ครั้งนี้ สดร. คาดว่าอาจเป็นดาวตกชนิดระเบิด

เที่ยงคืนวันนี้ หากเห็นลูกไฟเคลื่อนที่ช้าๆ บนท้องฟ้า ให้สันนิษฐานว่าเป็น \"ขยะอวกาศ\"

ต่อมาเวลา 19.00 น. สมาคมดาราศาสตร์ไทย แจ้งวิถีโคจร (ไม่ใช่จุดตก) ของขยะอวกาศขนาดครึ่งตันจากสถานีอวกาศนานาชาติ ขณะเคลื่อนผ่านน่านฟ้าไทยคืนนี้ 00:04-00:13 น.

เที่ยงคืนวันนี้ หากเห็นลูกไฟเคลื่อนที่ช้าๆ บนท้องฟ้า ให้สันนิษฐานว่าเป็น \"ขยะอวกาศ\" เที่ยงคืนวันนี้ หากเห็นลูกไฟเคลื่อนที่ช้าๆ บนท้องฟ้า ให้สันนิษฐานว่าเป็น \"ขยะอวกาศ\"

สำหรับขยะอวกาศ สิ่งที่มนุษย์สร้างในวงโคจรรอบโลกที่บางทีอาจตกลงมาในชั้นบรรยากาศของโลก และเผาไหม้ไป แต่กลไกของขยะอวกาศนั้นแท้จริงแล้วไม่ได้แตกต่างอะไรกับดาวตก จึงมีลักษณะแทบจะเหมือนกันทุกประการ จนบางครั้งก็แยกไม่ออก

วิธีสังเกต เนื่องจากวัตถุทั้งหมดนี้มีที่มาที่แตกต่างกัน จึงมีลักษณะสำคัญที่สังเกตได้และนำไปใช้วิเคราะห์เบื้องต้นได้ว่าวัตถุดังกล่าวน่าจะเป็นอะไร

หน้าตาขยะอวกาศ เครดิตภาพจาก : NASA

logoline