svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

วันนี้เมื่อปี 2550 หมอศิริราช ผ่าตัด "แฝดสยาม" หัวใจติดกัน รอดชีวิตทั้งคู่ ครั้งแรกของโลก

19 กุมภาพันธ์ 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วันนี้เมื่อปี 2550 คณะแพทย์ โรงพยาบาลศิริราช ประสบความสำเร็จในการผ่าตัด ด.ญ. ปานตะวัน ธิเย็นใจ และ ด.ญ. ปานวาด ธิเย็นใจ ฝาแฝดติดกันที่มีหัวใจและตับติดกัน สามารถแยกร่างรอดชีวิตทั้งคู่เป็นครั้งแรกของโลก

วันนี้เมื่อ 17 ปีที่แล้ว หรือ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 แพทย์ศิริราช ประสบความสำเร็จผ่าตัดแยกแฝดสยาม ที่มีหัวใจติดกันได้สำเร็จ โดยทารกสองคนนั้นคือ ด.ญ.ปานตะวัน และ ด.ญ.ปานวาด ทิเย็นใจ ในวัย 8 เดือน โดย คณะแพทยศิริราชพยาบาล จัดการแถลงข่าว เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2550

ด.ญปานตะวัน หรือ น้องใหญ่ แฝดผู้พี่ ด.ญ.ปานวาด หรือ น้องเล็ก แฝดผู้น้อง เป็นบุตรสาวของ น.ส.อุษา และ นายถาวร เกิดเมื่อเวลา 18.37 น. วันที่ 17 มิถุนายน 2549 โดยการผ่าคลอดเมื่ออายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ ทั้งคู่มีน้ำหนักแรกคลอดรวมกันประมาณ 3,570 กรัม 

หลังจากคลอด  พบว่า ทารกทั้งสองเป็นแฝดสยาม ที่มีบริเวณช่วงหน้าท้องติดกัน ขนาด 17 x 8 ซ.ม. เมื่อตรวจอย่างละเอียดพบว่า มีอวัยวะภายในที่ติดกัน 2 ส่วน 

  • ส่วนแรก มีตับติดกันเป็นบริเวณกว้าง 
  • ส่วนที่สอง มีหัวใจเชื่อมต่อกัน โดยหัวใจห้องบนขวาของแฝดพี่ ปานตะวัน เชื่อมกับหัวใจห้องบนซ้ายของแฝดน้อง ปานวาด และมีเลือดจาก ปานตะวันไหลผ่านมายังปานวาดตลอดเวลา

ฟิล์มเอกซเรย์ พบว่าฝาแฝดมีอวัยวะบางส่วนร่วมกัน

  ขั้นตอนการผ่าตัด "แฝดสยาม" สุดหิน  

ผศ.นพ.มงคล เลาหเพ็ญแสง กุมารศัลยแพทย์ ระบุถึงความพิเศษของเคสนี้ ว่า จากการค้นรายงานทางการแพทย์ เด็กแฝดตัวติดกันจะมีโอกาสเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอดสูง แต่ก็มีโอกาสรอดชีวิตภายหลังคลอด สำหรับแฝดหัวใจติดกัน พบว่าเคยมีการผ่าแยกแต่เสียชีวิต หรือรอดเพียงคนเดียวเท่านั้น 

ดังนั้น ในการผ่าตัดแยกฝาแฝด คณะแพทย์ ต้องใช้ละเอียดและวางแผนอย่างรอบคอบ เริ่มตั้งแต่การตรวจการทำงานของหัวใจ และรายละเอียดทุกส่วนแบบพลาดไม่ได้ กระทั่งนำไปสู่การวางแผนการผ่าตัดในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 ขณะที่ทารกอายุได้ 8 เดือน และมีน้ำหนักตัวรวมกัน 10.9 กิโลกรัม

การผ่าตัดครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่สามารถผ่าแยกและรอดชีวิตทั้งคู่ แต่ยังคงต้องดูแลแฝดน้อง ปานวาด ในเรื่องหัวใจอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะมีปัญหาเรื่องการหายใจและยังมีรูรั่วที่หัวใจห้องบน 

"การตัดสินใจครั้งนั้น ถือว่ายากมาก เพราะหากผ่าตัดแล้วจะเกิดผลกระทบให้แฝดอีกคนเสียชีวิต แพทย์ก็จะไม่อยากทำ เพราะเป็นหลักมนุษยธรรม แถมยังมีบางรายผ่าแยกแล้วเกิดปัญหาการพิการภายหลัง แต่ต้องนับเป็นบุญของน้องปานตะวันและปานวาด ที่สามารถผ่านการผ่าตัดมาได้ มีร่างกายแข็งแรงดี"

วันนี้เมื่อปี 2550 หมอศิริราช ผ่าตัด \"แฝดสยาม\" หัวใจติดกัน รอดชีวิตทั้งคู่ ครั้งแรกของโลก
นิตยสาร ฅ. คน เขียนถึงการผ่าตัดไว้ในตอนหนึ่งว่า แพทย์ใช้เวลาผ่าตัด 12 ชั่วโมง ซึ่งก่อนที่ฝาแฝดจะเข้าห้องผ่านตัด มีคำพูดสั้นๆจากปากของ “อุษา” ผู้เป็นแม่ คือ “สู้ๆ นะลูก ออกมาอย่างปลอดภัยนะ ใหญ่ เล็ก”

ขบวนการผ่าตัด เริ่มตั้งแต่การดมยาสลบ จนเสร็จประสบความสำเร็จ ใช้ทีมงานทั้งสิ้น 61 คน เป็นวิสัญญีแพทย์ 14 คน ศัลยแพทย์หัวใจ 5 คน ศัลยแพทย์ตกแต่ง 7 คน กุมารศัลยแพทย์ 5 คน และพยาบาลห้องผ่าตัด 30 คน ถือเป็นครั้งแรกของโลก กับความสำเร็จของคณะแพทย์โรงพยาบาลศิริราช ในการผ่าตัดแยกแฝดสยาม ที่มีหัวใจและตับติดกัน แล้วมีชีวิตรอดทั้งคู่
วันแถลงความสำเร็จ ในการผ่าตัดแยก ปานตะวัน และ ปานวาด ภาพรายการคนค้นฅน

  “ฝาแฝด” คืออะไร?  
“ฝาแฝด” คือ ทารกที่คลอดมาในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์ตามปรกติของมนุษย์ ที่จะคลอดบุตรหรือ ทารก คราวละ 1 คน เมื่อเกิดการตั้งครรภ์แล้วคลอดทารกครั้งละมากกว่า 1 คน เรียกว่า “ฝาแฝด” ซึ่งมี 2 ประเภท

  • 1. แฝดแท้ หรือ แฝดร่วมไข่ เป็นทางรกที่เกิดจากไข่ 1 ฟองผสมกับตัวอสุจิ 1 เซลล์ แต่เมื่อผสมกันขณะเจริญเติบโตในช่วงเอ็มบริโอ เกิดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน แยกขาดออกจากกัน เจริญเติบโตเป็นทารกและคลอดในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งฝาแฝดประเภทนี้จะมีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน 
  • 2. แฝดเทียม หรือ แฝดต่างไข่ เป็นทารกเกิดจากไข่คนละฟอง ผสมกับตัวอสุจิคนละเซลล์ ทำให้เอ็มบริโอเติบโตแยกกัน มากกว่า 1  สาเหตุ

เกิดจากไข่สุกพร้อมกันมากกว่า 1 ฟองจากรังไข่ ทารกที่คลอดจะอยู่ในเวลาใกล้เคียงกัน อาจจะมีเพศเดียวกันหรือต่างเพศก็ได้ 
ฝาแฝด
  ที่มาของ “ฝาแฝดสยาม”  
สำหรับ แฝนสยาม หรือ Siamese Twin เป็น แฝดแท้ เกิดจากไข่ 1 ฟองผสมกับตัวอสุจิ 1 เซลล์ แต่ระหว่างการแบ่งตัวช่วงเอ็มบริโอออกเป็น 2 ส่วน ไม่ได้แยกออกจากกันโดยเด็ดขาด ทำให้ทารกที่คลอดออกมามีอวัยวะบางส่วนติดกัน ซึ่งแฝดสยามคู่แรกที่มีชื่อคือ แฝดอินจัน มีส่วนอกติดกันและมีตับเป็นเนื้อเดียวกัน 

อิน กับ จัน เป็นฝาแฝดสยาม ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เกิดเมื่อ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 2 เกิดในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน ที่จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีบิดาเป็นชาวจีนอพยพมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 ชื่อ นายที มารดาเป็นคนไทยชื่อ นางนาก

เมื่อ อิน กับ จัน อายุได้ 8 ขวบ บิดาเสียชีวิตลงจากอหิวาตกโรค ทั้งคู่ต้องช่วยแม่ทำงานเลี้ยงเป็ดขายไข่ ทำไข่เค็มขายและหาปลา เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ อิน กับ จัน เข้าเฝ้า และใน พ.ศ. 2370 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตให้ร่วมเดินทางไปกับคณะทูตสยาม ในการไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศโคจินจีน หรือเวียดนามในปัจจุบัน
วันนี้เมื่อปี 2550 หมอศิริราช ผ่าตัด \"แฝดสยาม\" หัวใจติดกัน รอดชีวิตทั้งคู่ ครั้งแรกของโลก
ต่อมา ปีพ.ศ. 2367 นายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ (Robert Hunter) พ่อค้าชาวอังกฤษ หรือ “นายหันแตร” เข้ามาตั้งห้างอยู่หน้าวัดประยูรวงศ์ทราบเรื่องฝาแฝดอินจัน จึงได้นั่งเรือตามแม่น้ำแม่กลองเพื่อมาดู เห็นทั้งสองคนกำลังว่ายน้ำเล่นอยู่ ทำให้เกิดความคิดที่จะนำอิน-จันไปแสดงโชว์ตัวที่สหรัฐอเมริกา จึงได้เข้ามาสร้างความสนิทสนมกับครอบครัวของอิน-จัน จนแม่ของทั้งคู่เกิดความไว้วางใจ และได้อ้างกับแม่ของอิน-จันว่าจะนำทั้งคู่ไปเปิดการแสดงที่สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นการแนะนำให้ชาวโลกได้รู้จักประเทศสยาม

แม่ของแฝดอิน-จัน ยินยอม รับเงินจำนวน 1,600 บาท เป็นค่าตอบแทน ซึ่งทางการสยามได้อนุญาตให้แฝดอิน-จัน เดินทางออกนอกราชอาณาจักรไปแสดงตามที่ต่างๆโดยมีกำหนด 3 ปี ตามคำขอร้องของนายฮันเตอร์

ขณะที่อิน-จัน มีอายุได้ 18 ปี ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 138 วัน จึงถึงเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ และได้ทำการแสดงเปิดตัวเป็นครั้งแรก และคำว่า “Siamese Twins” จึงได้เกิดขึ้น ก่อนที่จะออกเดินทางแสดงทั่วอเมริกาและยุโรปเป็นเวลานานถึง 10 ปี 
แฝด อิน-จัน
ขอบคุณภาพและข้อมูล


 

logoline