svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

“พายุฤดูร้อน” กำลังมา อันตรายแค่ไหน มหาดไทยสั่งผู้ว่าฯทั่วไทย เตรียมรับมือ

07 กุมภาพันธ์ 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“พายุฤดูร้อน” อันตรายแค่ไหน? ทำมหาดไทยสั่ง “ผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ” เตรียมแผนเผชิญเหตุรับมือ ลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

กระทรวงมหาดไทย ตามติดสถานการณ์ “พายุฤดูร้อน” ล่าสุด (7 ก.พ.67) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ  ได้มีข้อสั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ และ กรุงเทพมหานคร  ให้เตรียมความพร้อมและจัดให้มีแผนเผชิญเหตุ สำหรับสถานการณ์พายุฤดูร้อน ปี 2567

ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าในช่วงกลางเดือน ก.พ. และ มี.ค.นี้ จะมีอากาศร้อนอบอ้าวและแห้ง ร้อนจัดเป็นบางวัน ขณะที่บางช่วงมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน แผ่ลงมาปะทะกับมวลความร้อนที่ปกคลุมประเทศไทย ทำให้เกิดอายุฤดูร้อนได้

โดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยตอนบน จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางแห่งจะมีลูกเห็บตก ซึ่งภาวะดังกล่าว อาจก่อให้เกิดอันตราย ความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินประชาชนได้

“พายุฤดูร้อน” กำลังมา อันตรายแค่ไหน มหาดไทยสั่งผู้ว่าฯทั่วไทย เตรียมรับมือ
ดังนั้น ทุกจังหวัดต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เตือนประชาชนให้ทราบสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมเร่งตรวจสอบอาคาร สถานที่ ป้ายโฆษณา สิ่งก่อสร้าง รวมถึงไม้ยืนต้นตามที่สาธารณะ หากพบว่าไม่อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงต้องเร่งซ่อมแซม และ เตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยอย่างรวดเร็วและทันท่วงที
ความเสียหายจาก พายุฝนฟ้าคะนอง
 

กรมอุตุฯ แจ้งฤดูร้อนไทย ปี 2567
กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งประเทศไทยไทยเข้าสู่ฤดูร้อนปลายเดือน ก.พ.–พ.ค. 67 อุณหภูมิสูงสุด 44.5 องศา ซึ่งปีนี้ฤดูร้อนของประเทศไทย ช้ากว่าปกติประมาณ 1-2 สัปดาห์ และจะสิ้นสุดในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 

ลักษณะอากาศจะร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยอุณหภูมิสูงที่สุด 43.0-44.5 องศาเซลเซียส ส่วนมากช่วงตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม แต่จะมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ในบางช่วง ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้ 

สำหรับอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบน 36.0-37.0 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสูงกว่าค่าปกติ 1.0-1.5 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 35.4 องศาเซลเซียส) และจะสูงกว่าปีที่ผ่านมา (ช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ.2566 อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35.8 องศาเซลเซียส) ส่วนปริมาณฝนรวมเฉลี่ยจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 30

ในช่วงฤดูร้อนของทุกปี มักจะเกิด "พายุฤดูร้อน" ในหลายพื้นที่ โดยจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโซกแรงและอาจมีลูกเห็บตกบางแห่ง ซึ่งสภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรได้

ส่วนปริมาณฝนที่ตกนั้น มีไม่เพียงพอกับความต้องการในหลายพื้นที่ ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค รวมทั้งด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน
“พายุฤดูร้อน” กำลังมา อันตรายแค่ไหน มหาดไทยสั่งผู้ว่าฯทั่วไทย เตรียมรับมือ

ทำความรู้จัก "พายุฤดูร้อน"
พายุฤดูร้อน หรือ Thunderstorms เกิดขึ้นในฤดูร้อน ช่วงเดือนเมษายน หรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ขณะที่อุณหภูมิในภูมิภาคต่าง ๆ เริ่มสูงขึ้น เนื่องจากแกนของโลกเริ่มเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จึงเคลื่อนมาอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวและชื้น

ในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยตอนบน จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุม ทำให้มีอุณหภูมิสูงและได้รับความชื้นจากลมตะวันออกเฉียงใต้ หรือลมใต้ซึ่งพัดจากอ่าวไทย

ขณะเดียวกันหากมีความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ซึ่งเป็นมวลอากาศเย็น หรือมีคลื่นกระแสลมตะวันตกจากประเทศพม่าเคลื่อนมาเสริม จะก่อให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน และมวลอากาศร้อนชื้นที่ปกคลุมประเทศไทย ทำให้เกิดความแปรปรวนของอากาศอย่างรวดเร็วและฉับพลัน

จากการยกตัวขึ้นของอากาศอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ รวมทั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างแรงและรวดเร็ว ลมกระโชกแรง ฝนตกหนัก ฟ้าแลบ (Lightning) ฟ้าร้อง (Thunder) และลูกเห็บ
“พายุฤดูร้อน” กำลังมา อันตรายแค่ไหน มหาดไทยสั่งผู้ว่าฯทั่วไทย เตรียมรับมือ
สาเหตุการเกิด พายุฤดูร้อน
พายุฤดูร้อน จะเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีมวลอากาศเย็น หรือที่เรียกว่าความกดอากาศสูงพัดมาปะทะกับมวลอากาศร้อน หรือความกดอากาศต่ำ การที่อากาศสองกระแสมากระทบกัน จะส่งผลให้อากาศในบริเวณนั้นแปรปรวนเกิดความรุนแรงจนกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองขึ้น

สำหรับประเทศไทย พายุฤดูร้อนเกิดจากการที่ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคุลมประเทศไทย จึงทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทยและอากาศที่แห้งและเย็นจากประเทศจีน อากาศเย็นจะผลักให้อากาศร้อนชื้นลอยตัวขึ้นสู่ข้างบนอย่างรวดเร็ว

จนเมื่อไอความชื้นขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จนก่อตัวเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นก้อนสีเทาเข้มสูงมากกว่า 10 กิโลเมตร หรือที่เรียกว่า "เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)" ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ และฟ้าผ่าตามมา และหากอุณหภูมิบนยอดเมฆต่ำกว่า -60 ถึง -80 องศาเซลเซียส ก็สามารถทำให้เกิด
ลูกเห็บตกได้

ในขณะที่ภาคพื้นดินนั้น อากาศที่ยกตัวขึ้นอย่างฉับพลัน จะทำให้อากาศในบริเวณใกล้เคียงไหลเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นลมพายุ ทำให้เมื่อเกิดพายุฤดูร้อนจะมีลมพายุพัดแรงตามไปด้วยนั่นเอง
“พายุฤดูร้อน” กำลังมา อันตรายแค่ไหน มหาดไทยสั่งผู้ว่าฯทั่วไทย เตรียมรับมือ
ลักษณะอากาศ ก่อนและหลังเกิดพายุฤดูร้อน
สัญญาณที่จะบ่งบอกว่าพายุฤดูร้อนกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว ก็คือ สภาพอากาศในช่วงนั้นจะร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลาย ๆ วัน มีความชื้นในอากาศสูงจนรู้สึกเหนียวตัว ลมค่อนข้างสงบ ท้องฟ้าขมุกขมัว และมีเมฆมาก เมฆจะสูงและมีสีเทาเข้ม ต่อมาลมจะพัดแรงขึ้นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ก่อนที่เมฆจะก่อตัวหนาแน่นอย่างรวดเร็ว จนเกิดฟ้าแลบ และฝนฟ้าคะนองในระยะไกล

สุดท้ายแล้วจะกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองตามมาประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อพายุสลายไปแล้ว อากาศจะเย็นลง รู้สึกสดชื่นขึ้น ท้องฟ้าแจ่มใส ทัศนวิสัยชัดเจน

พื้นที่ที่เสี่ยงเกิดพายุฤดูร้อน
เนื่องจากมักมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน จึงเกิดการปะทะกันของมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ทำให้พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ใกล้ประเทศจีนมากกว่าภาคอื่น ๆ เสี่ยงต่อการเกิดพายุฤดูร้อนมากที่สุด หรือบางครั้งอาจได้รับอิทธิพลจากคลื่นกระแสลมตะวันตกจากประเทศพม่าเข้ามาเสริม จึงยิ่งทำให้เกิดพายุ ลมกระโชกแรงมากขึ้น

ขณะที่ภาคกลางและภาคตะวันออก มีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อนได้น้อยกว่า เช่นเดียวกับภาคใต้ที่สามารถเกิดพายุฤดูร้อนได้เช่นกัน แต่ไม่บ่อยนัก
“พายุฤดูร้อน” กำลังมา อันตรายแค่ไหน มหาดไทยสั่งผู้ว่าฯทั่วไทย เตรียมรับมือ

logoline