svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"หมอแล็บ" เฉลยให้ ทำไม"ร้อนมาก"เมื่อออกจากบ้าน ทั้งที่อุณหภูมิไม่สูง

07 กุมภาพันธ์ 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ออกบ้านแต่ละครั้ง เหมือนกับว่าเรากำลังทำพิธีลุยไฟ 555555 ทั้งๆที่อุณหภูมิอากาศมันวัดได้แค่ 34 องศาเซลเซียส แต่ร้อนอย่างกับ 50 องศา ต้องมีอะไรผิดพลาดตรงไหน ไม่เข้าใจเลยสักครั้ง

7 กุมภาพันธ์ 2567 "หมอแล็บแพนด้า"  ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก "หมอแล็บแพนด้า" เปิดเผยถึงเหตุผลของอากาศร้อนในช่วงนี้ ที่เราจะรู้สึกร้อนมากกว่าปรกติ มีรายละเอียด ระบุว่าว่า..

ออกบ้านแต่ละครั้ง เหมือนกับว่าเรากำลังทำพิธีลุยไฟ 555555 ทั้งๆที่อุณหภูมิอากาศมันวัดได้แค่ 34 องศาเซลเซียส แต่ร้อนอย่างกับ 50 องศา ต้องมีอะไรผิดพลาดตรงไหน ไม่เข้าใจเลยสักครั้ง

มันเป็นแบบนี้ครับพี่น้อง ปัจจัยที่ทำให้เราร้อนไม่ได้มีแค่อุณหภูมิของอากาศ แต่ "ความชื้นสัมพัทธ์" ก็มีผลต่อความรู้สึกร้อนอย่างมาก

พูดแบบบ้านๆก็คือ ความชื้นในอากาศนั่นแหละครับ มันมีผลโคตรๆทำให้เรารู้สึกร้อนมากกว่าเดิม  เขาเรียกว่า “ดัชนีความร้อน” หรืออุณหภูมิที่มนุษย์รู้สึกได้ (Feels Like)
หมอแล็บแพนด้า

ความชื้นเกี่ยวอะไร
คืองี้ครับ เวลาที่ร่างกายเราร้อน ร่างกายจะมีการขับเหงื่อออกมาทางผิวหนัง เอาไว้ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายลง การระเหยของเหงื่อจะช่วยดึงความร้อนส่วนเกินออกไปจากร่างกาย 

ถ้าระเหยเร็วก็ระบายความร้อนได้ดี ระเหยช้าก็ระบายความร้อนได้ไม่ค่อยดี

ทีนี้ถ้าความชื้นในอากาศต่ำ แสดงว่ามีไอน้ำอยู่ในอากาศน้อย หมายความว่ายังมีพื้นที่ในอากาศว่างสำหรับไอน้ำอยู่มาก เหงื่อก็จะระเหยได้ง่ายและเร็ว ดึงความร้อนออกจากร่างกายได้เร็ว

แต่อย่างเมื่อวานนี้ ความชื้นในอากาศปาเข้าไปถึง 80% แปลว่า มีไอน้ำในอากาศเยอะเต็มไปหมด แทบไม่เหลือพื้นว่างให้ไอน้ำอื่นเลย การระเหยของเหงื่อก็เลยยาก และใช้เวลานานกว่า การระบายความร้อนก็เลยช้า เราก็เลยรู้สึกว่าทำไมมันร้อนจัง

นอกจากความชื้นแล้ว ลมก็มีผล ลองนึกภาพว่าเราเปิดแอร์ 24 องศา แล้วเปิดพัดลมเบอร์ 3 อัดลมใส่ตัวเรา มันก็จะรู้สึกเย็นกว่าปกติยังไงล่ะครับ

แต่ยังไงก็ตาม ช่วงนี้อากาศค่อนข้างชื้นเลยแหละ ไม่ว่าเราจะวัดอุณหภูมิในอากาศได้เท่าไหร่ แสดงว่าาาา

“เราจะรู้สึกร้อนกว่านั้นแน่ๆ ร้อนของแทร่จ้า” 5555555

อยู่ในไทยแลนด์ร้อนยังกับไฟเออร์ !!!
อากาศร้อนมาก

“ดัชนีความร้อน” คืออะไร?
ดัชนีความร้อน หรือ Heat Index  คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ว่าขณะนั้นอากาศร้อนเป็นอย่างไร หรืออุณหภูมิที่ปรากฎในขณะนั้นเป็นเช่นไร  โfยการนำเอาค่าอุณหภูมิของอากาสที่ตรวจวัดได้จริงและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น

ดัชนีความร้อน ได้มีการศึกษาและพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2521 โดย George Winterling ซึ่งมีข้อสมมุติฐานว่า ดัชนีความร้อนมีส่วนเกี่ยวข้องกับร่างกายของมนุษย์ มวล และความสูง ชนิดของเสื้อผ้าที่คนเราใช้สวมใส่ จำนวนและชนิดของกิจกรรมที่คนเราได้กระทำ ความหนาของผนังหลอดเลือด พลังงานแสงอาทิตย์และรังสีอุลตราไวโอเร็ต รังสีดวงอาทิตย์ที่สัมผัสกับร่างกายคนเรา และความเร็วลม

จากสิ่งที่กล่าวมานี้มีความสำคัญต่อความคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์ที่เป็นค่าดัชนีความร้อนที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนและความเข้าใจเกี่ยวกับอุณหภูมิ
\"หมอแล็บ\" เฉลยให้ ทำไม\"ร้อนมาก\"เมื่อออกจากบ้าน ทั้งที่อุณหภูมิไม่สูง
ระดับของ ดังชนีความร้อน
อุณหภูมิความร้อน อาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือเป็นโรคประจำตัว อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากความร้อน  กรมอุตุนิยมวิทยา จึงได้มีประกาศเตือนในทุกๆ ครั้ง ที่มีการพยากรณ์ว่าช่วงเวลาดังกล่าวจะมีอากาศร้อนสูงเป็นอันตราย

สำหรับค่าดัชนีความร้อน ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แบ่งได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้

  1. ดัชนีความร้อนสีเขียว ระดับเฝ้าระวัง 27-32 องศาเซลเซียส ระดับนี้ทำให้อ่อนเพลียวิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความ ออกกำลังกาย หรือการใช้แรงงานกลางแจ้งท่ามกลางอากาศร้อน
  2. ดัชนีความร้อนสีเหลือง ระดับเตือนภัย 32-41 องศาเซลเซียส ระดับนี้ร่างกายจะเกิดภาวะตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
  3. ดัชนีความร้อนสีส้ม ระดับอันตราย 41-54 องศาเซลเซียส ร่างกายจะมีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
  4. ดัชนีความร้อนสีแดง ระดับอันตรายมาก อุณหภูมิมากกว่า 54 องศาเซลเซียส ในระดับนี้จะทำให้เกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก ที่อาจทำให้บางคนมีอันตรายถึงชีวิตได้

\"หมอแล็บ\" เฉลยให้ ทำไม\"ร้อนมาก\"เมื่อออกจากบ้าน ทั้งที่อุณหภูมิไม่สูง
ตารางเปรียบเทียบดัชนีความร้อน กับ อุณหภูมิ
สำหรับ ค่าความร้อนที่เรารู้สึก ความชื้นสูงจะระบายความร้อนยาก ทำให้มีความรู้สึกอึดอัด ซึ่งเมื่อร่างกายระบายความร้อนไม่ได้ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดฮีทสโตรก หรือลมแดด ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้อสร้างความร้อนมากจนร่างกายรับไม่ไหว เกิดปฏิกิริยาการตอบสนอง อาจจะทำให้ระบบหายใจล้มเหลว และอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้

logoline