svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

TSB ประกาศยกเลิก "รถเมล์ NGV" ทั้งหมดใน ม.ค. นี้ ปิดตำนานมหากาพย์รถเมล์

02 มกราคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

TSB ประกาศยกเลิก "รถเมล์ NGV" ทั้งหมดในเดือน ม.ค. นี้ เดินหน้าใช้รถพลังงาน EV100% ปิดตำนานโครงการรถเมล์พลังงานทางเลือก ที่มาพร้อมศึกธุรกิจและศึกการเมือง

อยู่คู่กับชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล มาหลายปี สำหรับรถโดยสารสาธารณะ หรือ รถเมล์ ที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นก๊าซ NGV หรือ รถเมล์ NGV ซึ่งเคยเป็นความหวังของคนกรุง แต่หลังจากนี้ไป รถเมล์ NGV จะกลายเป็นเพียงเรื่องเล่าเท่านั้น

เมื่อ น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย สมายล์ กรุ๊ป ผู้นำการให้บริการรถเมล์ และเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า เปิดเผยว่า ปี 2567 จะเป็นก้าวสำคัญของบริษัท ที่จะพัฒนาการให้บริการ รถเมล์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า 100% ด้วยการปลดประจำการรถเมล์ NGV คงเหลือมาจากบริษัทในเครือ ที่ไทย สมายล์ กรุ๊ปได้เข้าซื้อกิจการจำนวน 350 คัน และบริษัทได้ยกเลิกไปแล้วกว่า 95%  
TSB ประกาศยกเลิก \"รถเมล์ NGV\" ทั้งหมดใน ม.ค. นี้ ปิดตำนานมหากาพย์รถเมล์
 

โดยวานนี้ (1 ม.ค. 67) บริษัทได้ยกเลิกการใช้งานรถไป NGV ไปอีกกว่า 57 คัน จากอู่สาขาปากเกร็ด จึงเหลือรถที่ยังรอเปลี่ยนผ่านอีกเพียง 16 คันเท่านั้น และจะถูกยกเลิกทั้งหมด ภายในเดือนมกราคมนี้ เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) 

นอกจากนี้ ไทย สมายล์ บัส ยังได้เตรียมแผนการเสริมรถเมล์โดยสารพลังงานไฟฟ้าใหม่ ทั้งตัวรถเมล์ไฟฟ้าขนาด 8 เมตร แบบปรับอากาศที่มีความคล่องตัวขึ้น และ 12 เมตร (ใช้อยู่ในปัจจุบัน) เพื่อเข้ามาเสริมเพิ่มความถี่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ ตามแนวทางกรมการขนส่งทางบก และนโยบาย Quick Win “คมนาคม เพื่อความอุดมสุขของประชาชน” ของกระทรวงคมนาคม
TSB ประกาศยกเลิก \"รถเมล์ NGV\" ทั้งหมดใน ม.ค. นี้ ปิดตำนานมหากาพย์รถเมล์
TSB ประกาศยกเลิก \"รถเมล์ NGV\" ทั้งหมดใน ม.ค. นี้ ปิดตำนานมหากาพย์รถเมล์  

รวมถึง ไทย สมายล์ โบ้ท เตรียมจะกลับมาให้บริการเรือโดยสาร สายสีน้ำเงิน Metro Line ภายในไตรมาส 1 ปี 2567 พร้อมเติมฟลีทเรือ เรือท่องเที่ยวพลังงานไฟฟ้า 100% เข้ามาพัฒนาบริการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ ด้วยพลังงานสะอาดของไทย กับกิจกรรมใหม่ ๆ ตลอดปี อาทิ จดทะเบียนสมรสบนเรือในวันวาเลนไทน์, กิจกรรมล่องเรือไหว้พระ 9 วัด และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คุ้งบางกระเจ้า เป็นต้น
TSB ประกาศยกเลิก \"รถเมล์ NGV\" ทั้งหมดใน ม.ค. นี้ ปิดตำนานมหากาพย์รถเมล์
 

ย้อนดูประวัติโครงการรถเมล์ NGV 

สำหรับโครงการรถเมล์ NGV นั้น เริ่มขึ้นในช่วงปลายรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ของ “ทักษิณ ชินวัตร” ที่ ครม. มีมติเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 48 ให้จัดหารถใหม่ และนำรถเดิมมาปรับปรุงเป็นรถปรับอากาศ และใช้ก๊าซ NGV แทนน้ำมัน โดยกำหนดวงเงินไว้ 23,500 ล้านบาท 

ต่อมาวันที่ 14 ก.พ. 49 ครม. ได้อนุมติหลักการ กำหนดไว้ที่ 2,000 คันมีการกำหนดให้เป็นการลงทุนพิเศษ เพื่อการพัฒนาประเทศ แต่ถูกทักท้วงถึงวงเงิน และความเหมาะสมจำเป็น และถูกระงับไป หลังนายทักษิณถูกรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย. 2549

ต่อมาในปี 51 พรรคพลังประชาชน หรืออดีตคนของพรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้งกลับมาเป็นรัฐบาล ที่มี “สมัคร สุนทรเวช” เป็นนายกรัฐมนตรี ได้หยิบโครงการนี้มาปัดฝุ่น และเล่นใหญ่กว่าเก่า โดยกำหนดให้เช่ารถเมล์ NGV ถึง 6,000 คัน แต่ต่อมาได้ปรับลดขนาดโครงการลงเหลือ 4,000 คัน และมีกลิ่นว่า โครงการรถเมล์ NGV ในรอบนี้ มีความเชื่อมโยงพรรคภูมิใจไทยอีกด้วย 
TSB ประกาศยกเลิก \"รถเมล์ NGV\" ทั้งหมดใน ม.ค. นี้ ปิดตำนานมหากาพย์รถเมล์

แต่วิบากกรรมของโครงการรถเมล์ NGV ก็ยังไม่จบสิ้น เมื่อรัฐบาลพรรคพลังประชาชน ต้องเจออุบัติเหตุทางการเมือง นายสมัคร หล่นจากเก้าอี้ ตำแหน่งนายกฯ ตกไปอยู่ในมือง “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” แต่ก็ไม่สามารถบริหารประเทศได้ จากปัญหาชุมนุมประท้วง กระทั่งเกิดการสลับขั้ว พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” แต่จนแล้วจนรอด โครงการนี้ก็ยังไม่สำเร็จ เพราะติดคำถามตัวโตโต เรื่องความเหมาะสมและความโปร่งใส โดยเฉพาะวงเงินที่สูงถึง 69,000 ล้านบาท แม้ต่อมาจะลดลงเหลือ 64,000 ล้านบาท ก็ตาม   

จนเมื่อเข้าสู่รัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” มีการขุดผีโครงการนี้ มาดำเนินการอีกครั้ง โดย 8 พ.ค. 2555  กระทรวงคมนาคม เสนอให้ ครม. มติอนุมัติให้ ขสมก. ซื้อรถเมล์ NGV จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162 ล้านบาท และวันที่  9 เม.ย. 2556 ครม. ได้อนุมัติให้ ขสมก. กู้เงิน 13,162 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว 

ต่อมาในปี 2557 รัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” ถูกรัฐประหาร อำนาจมาอยู่ใน “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” และ คสช. แต่หนนี้โครงการนี้กลับไม่ถูกปิดจ๊อบตามไปด้วย โดยเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 57 คสช. มีมติให้กระทรวงคมนาคม ไปศึกษาและเปรียบเทียบระหว่างการซื้อและการเช่า จวบจน 2 ธ.ค. 57 ครม. จึงเห็นชอบในโครงการจัดซื้อ
TSB ประกาศยกเลิก \"รถเมล์ NGV\" ทั้งหมดใน ม.ค. นี้ ปิดตำนานมหากาพย์รถเมล์

จากนั้นวันที่ 20 ม.ค. 58 ครม. ได้รับทราบและใช้ระบบข้อตกลงคุณธรรม มาใช้บังคับโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ล็อตแรก 489 คัน โดยถือเป็นโครงการนำร่อง หากสำเร็จจะมีล็อตที่สองอีก 2,694 คัน 

ตามมาด้วยวันที่ 13 - 21 ม.ค. 58 ครม.ประกาศขายซองประกวดราคาการจัดซื้อรถเมล์ NGV ครั้งที่ 1 จำนวน 489 คัน วงเงิน 1,784.85 ล้านบาท แต่อีกหนึ่งสัปดาห์ถัดมา คือวันที่ 29 ม.ค. 2558  ขสมก.ก็สั่งยกเลิกการประกวดราคาเนื่องจากระบุว่า ผู้เสนอราคามีรายละเอียดต่างไปจากทีโออาร์

วันที่ 19 - 27 ก.พ 58 มีการขายซองประกวดราคาครั้งที่สอง มีผู้ยื่นสามรายคือ บริษัทเบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด , บริษัท ซีเอ็ท แมเนจเมนท์ และ บริษัท บ้านโป่งบัสบอดี้ จำกัด แต่สุดท้ายก็ต้องยกเลิกอีกครั้ง เนื่องจากผู้เสนอราคาคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ข้อเสนอด้านเทคนิคไม่เป็นไปตามเงื่อนไข 

นำมาสู่เปิดการขายซองประมูลครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 23 - 26 มี.ค. และกำหนดยื่นซองในวันที่ 3 เม.ย. 58 ซึ่งมีผู้ผ่านคุณสมบัติสองรายคือ  1.กลุ่มบริษัทร่วมค้า JVVC ที่มีบริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 50%  และบริษัท เบทส์ริน กรุ๊ป จำกัด 

3  เม.ย. 58 ขสมก. ประกาศราคากลาง ที่จำนวน 489 คันที่วงเงิน 2,446.35 ล้านบาท โดยให้จัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ 

27 ก.ค. 58 ประกาศผู้ชนะคือ กิจการร่วมค้า JVVC หรือ ช.ทวี  โดยเสนอที่ 1,850 บาท ต่อวัน ต่อคัน ต่ำกว่าราคากลาง 1,636 บาท  รวมวงเงิน 1,735.55 ล้านบาท  โดย ขสมก. ได้เจรจาค่าซ่อมบำรุงรวมทั้งสิ้น 2,286.1 ล้านบาท แต่ในวันที่ 18 พ.ย. 58  ขสมก. ได้ยกเลิกการประกวดราคา โดยอ้างเรื่องความไม่ชัดเจนของ TOR 

8 มิ.ย. 59 จึงมีการประกวดราคาอีกเป็นครั้งที่ 4  คราวนี้ในวงเงิน 4,021.71 ล้านบาท มีผู้ซื้อซอง 11 ราย แต่มาประกวดราคาสามรายคือ กลุ่มบริษัทร่วมค้า JVCC ที่มีบริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทย เทคโนโลยี แอนด์ เดเวลลอปเมนท์ จํากัด และบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด   

23 มิ.ย. 59 ขสมก ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติสองบริษัท คือ ช.ทวีฯ และ เบสท์ริน   

8 ส.ค. 59 เบสท์รินชนะการประมูลที่ราคา 3,389.71 ล้านบาท และให้ส่งมอบในวันที่ 29 ธ.ค. 59 จากนั้น 1 ธ.ค. 59 รถเมล์ NGV ล็อตแรกก็มาถึงไทย แต่ก็ปรากฏว่า กรมศุลกากรกักรถเมล์เอ็นจีวี 100 คัน ที่เบสท์รินนำเข้าจากมาเลเซียเพื่อส่งมอบให้ ขสมก. เพราะตรวจพบว่า สำแดงเท็จเพื่อเลี่ยงภาษี โดยระบุว่าเป็นการอ้างว่าเป็นรถที่ผลิตจากมาเลเซียซึ่งได้รับการยกเว้นตามกฎอาเซียน แต่จริง ๆ แล้วเป็นรถที่นำเข้ามาจากประเทศจีน ทำให้วันที่ 13 เม.ย.  60 ขสมก. มีมติยกเลิกสัญญากับ เบสท์รินกรุ๊ป จนนำมาสู่การฟ้องร้องกัน
TSB ประกาศยกเลิก \"รถเมล์ NGV\" ทั้งหมดใน ม.ค. นี้ ปิดตำนานมหากาพย์รถเมล์

ต่อมา 7 พ.ย. 60 ขสมก. จึงมีการประกวดราคาอีกครั้ง โดยตั้งราคากลางที่วงเงิน 4,020 ล้านบาท คราวนี้มีผู้เสนอราคารายเดียวคือ กลุ่มกิจการร่วมค้า SCN-CHO หรือ บริษัท ช.ทวี และ บริษัทแสกนอินเตอร์ จำกัด (มหาชน) โดย ขสมก. มีมติเลือกเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 60 โดยอยู่ในวงเงิน 4,261 ล้านบาท จำนวน 489 คัน และ ช.ทวี ก็ได้นำเข้ารถเมล์ NGV ล็อตแรกเข้ามาและเริ่มใช้ในเดือน มี.ค. ปีดังกล่าว

ก่อนที่จะมีการทยอยส่งมอบรถ ในโครงการนี้เรื่อยมา จนถึงวันที่ 12 มี.ค. 62 กลุ่มกิจการร่วมค้า SCN-CHO จะได้ส่งมอบ รถเมล์ NGV จำนวน 89 คัน ล็อตสุดท้าย ของงวดที่ 4 ให้กับทาง ขสมก. รวมทั้ง 4 งวด ใช้เวลากว่า 1 ปี จนครบที่ 489 คัน ตามสัญญาการจัดซื้อจัดจ้าง
TSB ประกาศยกเลิก \"รถเมล์ NGV\" ทั้งหมดใน ม.ค. นี้ ปิดตำนานมหากาพย์รถเมล์  

ขอบคุณข้อมูลจาก workpointtoday 
 

logoline