svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก  

27 เมษายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลังเทศกาลสงกรานต์ 2566 กลับมามีกิจกรรมรวมตัวโดยไม่สวมหน้ากากอนามัย “อันเป็นความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโควิด XBB.1.16” ที่จะเข้ามาแทนสายพันธุ์อื่นในไทยได้หรือไม่ แต่สิ่งที่มาช่วยส่งเสริมให้ “โควิดดุร้าย” กลายเป็นอาการรุนแรงขึ้นคือฝุ่นพิษ PM2.5

เป็นอีกชุดบทความ ที่คอข่าวเนชั่นออนไลน์ ให้ความสนใจมากๆเลยทีเดียว ดูจากยอดวิวที่เข้ามาอ่าน ล่าสุดทีมข่าวจึงได้เปิดหมวดสุขภาพ เอาใจเทรนด์โลกในปี 2023 ดูจากจำนวนผู้อ่านและยอดที่เข้ามาแชร์ เรียกว่าน่าพึงพอใจมากๆ สำหรับการนำเอาบทความดีๆ จากคุณหมอหลายๆ ท่านมารายงาน หนึ่งในรายชื่อคุณหมอที่พลาดไม่ได้ นั่นก็คือ หมอดื้อ หมอธีระวัฒน์ คุณหมอคนดังในโลกแห่งความจริงและบนสื่อออนไลน์ ไม่เคยผิดหวัง!! ที่หยิบยกบทความของอาจารย์ธีระวัฒน์ หรือ มารายงานทุกความเคลื่อนไหวทางวิชาการกันตรงนี้ 

หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก  

ปัญหามลพิษทางอากาศ..กำลังทำร้ายพวกเราในขณะนี้ พวกเรากำลังหายใจอากาศที่สร้างความเสียหายให้กับอวัยวะส่วนใหญ่ในร่างกายเข้าไป ที่แย่ไปกว่านั้น สาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศของโลกที่พวกเรากำลังอาศัยอยู่ในขณะนี้

หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก  

หยิบยกมาฝาก อีกหนึ่งบทความดีๆ จับตาที่โพสต์ล่าสุด-สุดปัง ที่เพจของหมอดื้อ หรือ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha โดยมีใจความระบุว่า
..
PM 2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก

26 เมษายน 2566

ทั่วโลกกำลังเฝ้าจับตา “โควิดโอมิครอนสายพันธุ์ผสม XBB.1.16 หรือ อาร์คทูรัส (Arcturus)” ที่พบการติดเชื้ออย่างรวดเร็วใน 29 ประเทศแล้ว พร้อมกันนี้ยังมีรายงาน “ผู้ป่วยบางรายมีอาการแทรกซ้อนเยื่อบุตาอักเสบ” สังเกตเห็นได้ชัดจากตาแดงเคืองตาอันเป็นอาการแตกต่างจากสายพันธุ์อื่นก่อนหน้านี้

แล้วยิ่งกว่านั้น “โควิด XBB.1.16” ยังเป็นสายพันธุ์ที่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ หรือภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนได้ดี “สามารถติดต่อง่ายแถมยังเกาะเซลล์นำไปสู่การกลายพันธุ์ได้เร็ว” กลายเป็นที่จับตาขององค์การอนามัยโลกได้ขึ้นบัญชีเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวังเป็นกรณีพิเศษมาตั้งแต่ 2-3 เดือนก่อน

ขณะที่สถานการณ์ “ประเทศไทย” สายพันธุ์หลักกำลังระบาดหนักนั้นยังคงเป็น “ตระกูลโอมิครอน” ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม XBB**เช่น XBB.1.5 XBB.1.9.1 ในส่วนสายพันธุ์ XBB.1.16 ก็เริ่มมีผู้ติดเชื้อแล้ว 27 ราย อาการไม่แตกต่างกัน เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ และมีเสียชีวิต 1 ราย เป็นต่างชาติสูงวัยอายุ 85 ปี ท่ามกลางความกังวลหลัง “เทศกาลสงกรานต์ 2566” กลับมามีกิจกรรมรวมตัวโดยไม่สวมหน้ากากอนามัย “อันเป็นความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโควิด XBB.1.16” ที่จะเข้ามาแทนสายพันธุ์อื่นในไทยได้หรือไม่

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หน.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ บอกว่า 
ความจริงแล้ว “โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16” เป็นการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติในวงจรชีวิตไวรัส อันมีวิวัฒนาการแตกแยกมาจาก “โอมิครอน” ที่มีการระบาดไปทั่วโลกกันอยู่ขณะนี้ เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา มีพลเมืองติดเชื้อโควิดโอมิครอน 99% รวมถึง “ประเทศไทย” ที่มีคนติดเชื้อไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

นั่นก็หมายความว่า “คนทั่วโลกเริ่มมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ และบางส่วนก็ได้รับการฉีดวัคซีนครอบคลุมทุกประเทศ” ส่งผลให้ไวรัสต้องพัฒนาหาหนทางเจาะให้คนต้องติดเชื้อให้ได้ จนล่าสุดพัฒนากลายพันธุ์มาเป็น “XBB.1.16” อันมีความเก่งกาจหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันทั้งหมดได้ ทำให้ผู้ที่เคยติดเชื้อมีโอกาสติดซ้ำได้อีก

หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก  

หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก  

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >>

เท่าที่ข้อมูลปรากฏนั้น “สายพันธุ์ XBB.1.16” ยังไม่น่าห่วงไปมากกว่าสายพันธุ์อื่น เพราะตอนนี้มีการระบาดอย่างน้อย 22 ประเทศรวมถึงประเทศไทย แล้วการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่นี้ก็ไม่ได้แปลว่า “อาการจะหนักทุกคน” สังเกตจากการระบาดในอินเดียมีผู้ติดเชื้อ 0.35 ราย/ประชากรล้านคน และมีผู้เสียชีวิต 0.01 ราย/ประชากรล้านคน

ทำให้เห็นถึง “ตัวเลขการติดเชื้อใหม่ และการเสียชีวิต” ไม่ได้สูงขึ้นกว่าการติดเชื้อสายพันธุ์เก่าจนกลายเป็นเรื่องที่น่าตื่นตระหนกตกใจเสียด้วยซ้ำ แล้วถ้าเปรียบเทียบกับ “การติดเชื้อในสหรัฐฯ ช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้” ที่มีผู้ป่วยรายใหม่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 11,000 ราย และผู้เสียชีวิตราว 1,000 ราย/สัปดาห์ สิ่งนี้สะท้อนว่า “แม้อัตราติดเชื้อสูงแต่ว่าอาการป่วยเสียชีวิตยังไม่มาก”

ดังนั้น สำหรับประเทศไทย จึงไม่ต้องกังวลเพราะคนส่วนใหญ่ฉีดวัคซีน หรือมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจากการติดเชื้อเป็นจำนวนมากแล้ว ถัดมาว่ากันด้วย “ภูมิคุ้มกัน” ถ้าต้องเปรียบเทียบระหว่าง “การติดเชื้อ” ที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติได้นานกว่า 365-400 วัน แล้วยังลดอาการป่วยหนักนำไปสู่การลดอัตราเสียชีวิตได้ดีกว่า “ภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน” สาเหตุเพราะผู้ได้รับวัคซีนมักจะสร้างแอนติบอดีในร่างกายอย่างเหมาะสมต่อการตรวจจับไวรัส

หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก  
แต่พอมาเจอ “โควิดสายพันธุ์ย่อยใหม่” บรรดาแอนติบอดีกลับไม่สามารถตรวจจับ ป้องกัน หรือทำลายไวรัสได้ โดยเฉพาะ XBB หลบหลีกวัคซีนรุ่นปัจจุบันและรุ่นใหม่ได้ ทำให้มีผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ย่อยเพิ่มขึ้น แล้วลักษณะการติดเชื้อนั้น “มุ่งเจาะเข้าเซลล์” เพื่อแพร่กระจายเชื้อไปทั่วร่างกาย “ทำให้มีชิ้นส่วนไวรัสโผล่บริเวณผิวเซลล์จุดติดเชื้อ” แต่ถ้าบุคคลใดมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ “มักมีระบบนักฆ่าที่เรียกว่า T–cell” โดยเฉพาะ CD8 ทำหน้าที่ทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสแม้ว่าเชื้อนั้นจะมีหน้าตาเปลี่ยนไปก็ตาม

ไม่เท่านั้นยังมี “เพชฌฆาตด่านหน้า (innate immunity)” เป็นภูมิคุ้มกันด่านแรกในการต่อสู้ป้องกันเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย แล้วกลไกนี้ก็ไม่จำเพาะเจาะจงเชื้อโรคแต่สามารถป้องกันได้ไม่จดจำเชื้อด้วยซ้ำ!!

ปัญหาว่า “การฉีดวัคซีนกระตุ้นเกินเข็ม 3 หรือเข็ม 4” มักมีผลต่อภูมิคุ้มกันเฉยชาหมดแรงทั้งแอนติบอดี ระบบ T-cell และ innate immunity ทำให้การฆ่าเชื้อไวรัสไม่ดีพอเมื่อเทียบกับ “ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ” ดังนั้นควรฉีดวัคซีนอย่างสมเหตุสมผลเพราะแม้ว่าจะสร้างแอนติบอดีดีขึ้นหลังเข็ม 3 แต่ต้องแลกกับ T-cell หมดแรงลง หนำซ้ำยังมีรายงาน “ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนมากเกินไป” โดยไม่นานมานี้ผู้เชี่ยวชาญเยอรมันมีการพิสูจน์ตรวจศพผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA แล้วเสียชีวิตเฉียบพลันใน 7 วัน จำนวน 25 ราย อายุ 45-75 ปี แสดงความผิดปกติในกล้ามเนื้อ และเยื่อหุ้มหัวใจมีการอักเสบเป็นหย่อมๆ สามารถสรุปได้ว่าวัคซีนทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติ

ทั้งยังมีการศึกษากรณีผู้เสียชีวิตรายหนึ่งหลังฉีดวัคซีนเข็มที่สาม 21 วัน “พบโปรตีนจากวัคซีนเข้าไปแทรกซึมทุกส่วนของร่างกายเกิดการอักเสบรุนแรงในสมอง และเนื้อเยื่อหัวใจ” แล้วการอักเสบนี้ไม่พบโปรตีนอื่นของโควิดอันเป็นการยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโควิด เพราะถ้าเกิดจากการติดเชื้อจะต้องพบ NP ด้วย

อย่างไรก็ดี ตัวเลขจริงอาจจะมากกว่าความรุนแรงของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบก็ได้ เนื่องจากการรายงานทั่วโลกเป็น retrospective ย้อนหลังมักตัดประเด็น “เฉียบพลันออก” โดยลักษณะของอาการเช่นนี้หัวใจหยุดเต้นกะทันหันจากกระแสไฟฟ้าผิดปกติ ไม่ใช่หัวใจวายที่พอมีเวลา และมีอาการให้เห็นก่อน

“เหตุนี้ผู้มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติแล้วควรรักษาสุขภาพให้ดี โดยเฉพาะคนมีโรคประจำตัวทั้งโรคอ้วน เบาหวาน ตับ ไต หัวใจ ปอด เพื่อรักษาระบบ T-cell และ innate immunity ให้ป้องกันการติดเชื้อไว้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ 
แล้วโควิดสายพันธุ์ผสม XBB.1.16 ก็จะไม่ใช่เรื่องใหญ่น่ากลัวอย่างที่คิดต่อไปก็ได้” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ระบุ

ย้อนกลับมาประเด็น “โควิด XBB.1.16 ระบาด 22 ประเทศ”

แม้การติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นแต่ตามข้อมูลผู้ป่วยโควิดรายใหม่ 3.5 รายต่อล้านคน และเสียชีวิต 0.01 รายต่อล้านคน จึงนับเป็นตัวเลขไม่ได้สูงขึ้นมากจากเดิม แต่สิ่งที่มาช่วยส่งเสริมให้ “โควิดดุร้าย” กลายเป็นอาการรุนแรงขึ้นคือ “ฝุ่นพิษ PM2.5” เพราะเมื่อหายใจเข้าไปจะแทรกซึมในเลือดไปทุกอณูร่างกาย “ก่อให้เกิดมะเร็งปอด สมองเสื่อม”

นอกจากนี้ ค่าปลอดภัยของ PM2.5 อยู่ที่ 13.3 แล้วทุกๆระดับที่สูงขึ้น 10 มคก./ลบ.ม.จนถึง 33.3 จะเพิ่มความเสี่ยงของการตายด้วยโรคหัวใจ 4.14% นั่นก็แปลว่า “ค่ากำหนดอันตรายของฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่ 50 มคก./ลบ.ม.อาจจะไม่ถูกต้อง” เพราะ PM2.5 เข้าร่างกายจะแทรกซึมเข้าเลือดนำไปสู่ “การอักเสบของอวัยวะต่างๆ” ตั้งแต่การทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจ หรือการทำลายระบบ T-cell, innate immunity และระบบภูมิคุ้มกันแทบทุกระบบ

เมื่อต้องเจอโควิด XBB.1.16 จะทำให้ระบบต้านทานไวรัสเข้าสู่ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อง่ายขึ้นกว่าปกติ

ยิ่งกว่านั้นคือ “สารอักเสบ PM 2.5 กลับเป็นตัวเดียวกัน และชื่ออย่างเดียวกันกับการอักเสบที่เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อโควิดไปแล้ว” ลักษณะนี้เป็นเสมือนอาการอักเสบ 2 ประสาน “อันเกิดจากการรับ PM 2.5 ควบคู่กับการติดเชื้อโควิด” สิ่งนี้จะส่งเสริมให้อาการติดเชื้ออักเสบของโควิดรุนแรงเพิ่มขึ้นได้

ดังนั้น สำหรับประเทศไทยเฉพาะ “โควิด XBB.1.16” อย่างเดียวนั้นไม่น่าเป็นเรื่องกังวล เพราะสังเกตจากการระบาด 22 ประเทศ ยังคงมีสถิติการป่วยน้อยแล้วแต่ละประเทศก็ไม่ได้ประกาศมาตรการเป็นกรณีพิเศษ “แต่หากมี PM2.5 มาผสมโรงด้วย” สิ่งนี้จะทำลายระบบเยื่อทางเดินหายใจ และทำลายภูมิคุ้มกันทุกระบบ

ผลก็คือ “อวัยวะเกิดการอักเสบรุนแรง” จนต้องเข้าโรงพยาบาลมากขึ้น ดังนั้น ประชาชนต้องรักษาต้นทุนสุขภาพให้ดีหมั่นตรวจ “ระดับ PM 2.5” เป็นข้อมูลวางแผนออกจากบ้าน เพื่อไม่ให้มลพิษมาทำลายสุขภาพเราได้

สุดท้ายฝากไว้ว่า “โควิดสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน” อาจไม่ใช่เรื่องใหญ่น่ากังวลเท่ากับ “ฝุ่น PM 2.5” ที่จะมาทำลายภูมิคุ้มกัน ทำให้การติดโควิดง่ายอาการรุนแรงขึ้น จนเป็นกลไกทำร้ายมนุษย์ไปเรื่อยๆ ถ้ายังไม่มีการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษซ้ำซากอยู่แบบนี้

หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก  

เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นเป็นสิ่งไม่ดี แต่ที่เลวร้ายที่สุดคือ การเผาถ่านหิน การเผาถ่านหินจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ต่อหน่วยพลังงานมากกว่าน้ำมันหรือก๊าซ ซึ่งหมายความว่ามันทำให้โลกเราร้อนเร็วขึ้น!!

การเผาถ่านหินทำให้เกิดสารมากมาย เช่น ปรอท สารหนู และอนุภาคเล็กๆของเขม่าซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ เมื่อเราหายใจในอากาศแบบนี้จะทำให้เกิดอันตรายต่อหัวใจและปอด อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย

ในยุคก่อนหน้านี้ มีการใช้ถ่านหินอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า เราใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากกว่าหนึ่งในสามของกระแสไฟฟ้าทั่วโลก โรงไฟฟ้าถ่านหินเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศหลายร้อยกิโลเมตรและส่วนใหญ่มักจะอยู่ในศูนย์กลางของเมือง ดังนั้นผู้คนนับล้านมีความเสี่ยงที่จะได้รับมลพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้าเหล่านี้

เราต้องพร้อมใจยุติการใช้ถ่านหิน และหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดอย่างพลังงานลม พลังงานงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานมหาสมุทรโดยใช้กระแสน้ำขึ้นน้ำลง

หลายประเทศได้เริ่มไปบ้างแล้ว ในปีพ.ศ.2562 มีข้อมูลระบุว่า มีการลดการใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากที่สุดตั้งแต่เคยบันทึกมา ซึ่งเราต้องการให้ทุกประเทศทั่วโลก หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนโดยเร็ว

รถยนต์ส่วนมากใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล  การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ต่างจากการเผาถ่านหิน รถยนต์ไม่ว่าจะใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซลล้วนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออุณหภูมิของโลก นอกจากนั้นไอเสียจากรถยนต์ยังปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราเช่นกัน

แต่เรามีวิธีที่สามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่ต้องใช้รถยนต์ได้

หลายเมืองทั่วโลก เริ่มตื่นตัวกับการเดินทางโดยไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ ตั้งแต่การเดินเท้าบนทางเดินฟุตบาท ไปจนถึงระบบขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมและราคาไม่แพง นี่คือสิ่งที่รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีขึ้น เพื่อที่ประชาชนจะได้ใช้งานขนส่งสาธารณะได้อย่างทั่วถึง และมากขึ้น ซึ่งจะเป็นทางออกให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และทำให้เราได้อากาศ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย

แต่ในบางครั้งรถยนต์ยังคงจำเป็นต่อการเดินทาง เราควรริเริ่มที่จะคิดเกี่ยวกับรถยนต์ให้แตกต่างออกไปจากเดิม อาทิเช่น  การใช้รถพลังงานไฟฟ้าแทนที่จะใช้รถน้ำมันเบนซินหรือดีเซล รถยนต์พลังงานไฟฟ้าไม่มีการปล่อยควันจากท่อไอเสีย แต่จะปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตรถยนต์และการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ ถ้ารถยนต์ไฟฟ้าใช้พลังงานหมุนเวียนในการขับเคลื่อน อัตราการเกิดก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์พลังงานไฟฟ้านั้นก็จะเทียบเท่ากับศูนย์ แต่ประเทศที่ใช้ถ่านหิน อาทิเช่น ประเทศโปแลนด์ ก็ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ด้วยการลดขนาดรถยนต์ลง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงที่ทำให้การปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียลดลงไปด้วย เนื่องจากมีการใช้พลังงานในการผลิตและขับขี่น้อยลง นอกจากนี้ การรณรงค์หันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนแทนการใช้รถส่วนบุคคลก็จะช่วยลดมลพิษได้ด้วยเช่นกัน

มลพิษทางอากาศ ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องช่วยกัน วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ระบุไว้นั้นเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก และทุกคนต่างร่วมกันเรียกร้องให้เกิดขึ้น

ความกังวลเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในหลาย ๆ ที่ เช่น เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน ใช้ไฟฟ้าในการเดินรถของรถโดยสาร, ผู้ปกครองในเบลเยี่ยมมีการรวมตัวกันเพราะอากาศในโรงเรียนสกปรก ตอนนี้เมืองบรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยี่ยม ได้ห้ามใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล และยังมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของขนส่งสาธารณะ และทางจักรยานอีกด้วย  ในขณะที่ทั่วโลกกังวลกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากถ่านหิน รัฐบาลได้เล็งเห็นวิธีการใหม่ ๆ ที่จะทำให้เราได้พลังงานมาใช้งาน

ทางออกของวิกฤตมลพิษทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นใคร เราสามารถร่วมมือและแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ และสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ตอนนี้
 
ผลวิจัยชี้ PM2.5-โลกร้อน-โรคร่วม ทำผู้ป่วยโรคหืดอาการหอบกลับมารุนแรง ยอดหามส่งรพ.พุ่ง แนะนอกจากใช้ยาอย่างถูกวิธีแล้ว ต้องเช็กคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน เลี่ยงปัจจัยกระตุ้นร่วมด้วย

หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก   ศ.ดร.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย กล่าวถึง ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ล่าสุดในปี 2020 ประเทศไทยพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากอาการของโรคหืด 4,182 รายต่อปี คิดเป็นวันละ 11-12 รายหรืออัตรา 3.93 ต่อประชากร 1 แสนคน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการไม่ได้พ่นยาควบคุมการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเวลามีอาการกำเริบก็จะพ่นยาไม่ทันหรือไม่ถูกวิธี ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกร้อน ส่งผลให้ละอองเกสรและเชื้อราเพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี มีอาการหอบเร็วขึ้นและนอนโรงพยาบาลพุ่งขึ้นถึง 15% และพบทุกๆค่า PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะเพิ่มการหอบกำเริบ 0.2 ครั้ง

หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก  

ดังนั้น ในผู้ป่วยโรคหืด นอกจากพ่นยาสม่ำเสมอแล้ว การตรวจวัดดัชนีคุณภาพอากาศทุกวัน ในผู้ป่วยโรคหืดก่อนออกจากบ้านถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ทำให้ในปีนี้ สมาคมฯ ได้ร่วมมือกับ กลุ่มทีมผู้ดูแลโรคระบบทางเดินหายใจในบริการปฐมภูมิ ภายใต้ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ตามแนวทางการรักษาโรคหืดสำหรับผู้ใหญ่ในประเทศไทย ผนึกกำลังในการรับมือกับสถานการณ์โรคหืดที่รุนแรงขึ้นในประเทศไทย

หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก   หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก  

ขณะที่ อ.นพ.ธิติวัฒน์ ศรีประสาธน์ ประธานวิจัยฯ สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการมีส่วนร่วมในงานวิจัยนานาชาติล่าสุด ด้วยความร่วมมือระหว่าง 7 สถาบันทางการแพทย์ เตรียมนำเสนอผลงานวิจัยที่งานประชุมนานาชาติ American Thoracic Society ณ เมือง Washington DC ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเดือนพฤษภาคม 2566 นี้ โดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหืดจำนวน 600 ราย มีกว่า 458 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 80 มีอาการของโรคภูมิแพ้จมูกอักเสบในผู้ป่วยโรคหืด และพบด้วยว่า ผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคภูมิแพ้จมูกอักเสบ และโรคดังกล่าวถือเป็นสาเหตุที่สำคัญต่อการไม่สามารถควบคุมโรคหืดได้ และยังมีภาวะโรคร่วมอื่นๆ ที่สามารถพบได้บ่อย เช่น โรคภาวะกรดไหลย้อน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ และภาวะซึมเศร้า ร่วมด้วย

หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก  

ขอขอบคุณที่มาภาพสุดเศร้า

หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก  

หญิงเลี้ยงแกะดูแลฝูงแกะของเธอที่กำลังเล็มหญ้าในบริเวณใกล้กับโรงไฟฟ้าถ่านหิน เมืองเจปารา จังหวัดชวากลาง © Kemal Jufri / Greenpeace © Kemal Jufri / Greenpeace

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >>

หมอดื้อ เตือนให้ระวัง ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำลายภูมิคุ้มกัน ติดโควิดง่ายอาการหนัก  

เครดิตภาพ : Greenpeace 
 

logoline