svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

"วราวุธ" เดินหน้าแผนพะยูนแห่งชาติ เล็งสร้าง รพ.สัตว์ทะเลหายาก 2 ที่ตรัง

17 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รมว.วราวุธ ลงพื้นที่ จ.ตรัง เข้าตรวจสอบอาคารทิ้งร้างภายใน มทร.ตรัง เตรียมนำมาสร้างศูนย์วิจัยการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก ตามแผนพะยูนแห่งชาติ

วันนี้ (17 ส.ค.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะลงพื้นที่ จ.ตรังเพื่อตรวจสอบอาคารร้าง ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยตรัง (มทร.ตรัง) รวมจำนวน 2 แปลง เนื้อที่รวม 1,746 ไร่ ที่มหาวิทยาลัยฯ ขอใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้ เมื่อปี 2533 เพื่อก่อสร้างอาคารปฏิบัติการโรงแรมและการท่องเที่ยว โดยได้รับงบประมาณจำนวน 125 ล้านบาทเศษ จากนั้นได้ทำการก่อสร้างกลุ่มอาคารและสิ่งปลูกสร้างรวม 33 รายการ

 

แต่ปรากฏว่า ทางมหาวิทยาลัยก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในเขตอนุรักษ์ป่าชายเลน เนื้อที่กว่า 21 ไร่ ซึ่งเป็นบริเวณนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ จนทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้สนธิกำลังเข้าตรวจยึดและจับกุม และดำเนินคดีกับมหาวิทยาลัยฯ ทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง โดยคดีอาญาอธิบดีอัยการภาค 9 ได้มีคำสั่งให้ยุติเรื่อง ตามที่อัยการจังหวัดตรังมีคำสั่งไม่ฟ้อง โดยระบุว่ามหาวิทยาลัยฯกระทำไปโดยสุจริตไม่ทราบว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่นอกเขตที่ได้รับอนุญาต ไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิด 
 

 

"วราวุธ" เดินหน้าแผนพะยูนแห่งชาติ เล็งสร้าง รพ.สัตว์ทะเลหายาก 2 ที่ตรัง

"วราวุธ" เดินหน้าแผนพะยูนแห่งชาติ เล็งสร้าง รพ.สัตว์ทะเลหายาก 2 ที่ตรัง

ส่วนคดีแพ่ง มทร.ตรัง ยินยอมยกอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้ ทช. และกรมบัญชีกลางอนุมัติให้ มทร.ตรัง ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 1.29 ล้านบาทเศษ ให้แก่ ทช. คดีจึงสิ้นสุด ซึ่ง ทช. ต้องการจะใช้พื้นที่ดังกล่าวนี้ ในการก่อสร้างศูนย์วิจัยการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก เพื่อรองรับ แผนพะยูนแห่งชาติ แต่จากสภาพพื้นที่พบว่า อาคารเก่า ชำรุดทรุดโทรม แตกโครงสร้างอาคารส่วนใหญ่พังเสียหาย และเป็นพื้นที่อันตรายไม่ควรเข้าไปภายในอาคาร

 

นายวราวุธ กล่าวว่า จากการตรวจสอบสภาพพื้นที่พบว่า อาคารสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเก่า ชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก อาจจะต้องทุบทั้งหมด แต่ต้องมีการสำรวจอีกครั้ง แต่เบื้องต้นอาคารดังกล่าว มีความเหมาะสมอย่างมากในการก่อสร้าง ศูนย์วิจัยการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก ในพื้นที่นี้ ทั้งโรงพยาบาลรักษาและฟื้นฟูสัตว์ทะเลหายากที่เจ็บป่วย รวมทั้งเป็นศูนย์งานวิจัยทางวิชาการที่สำคัญ แต่จะยิ่งใหญ่ระดับอาเซียนหรือไม่ ยังเป็นความตั้งใจ แต่ในภาคใต้ตอนกลางมีศูนย์วิจัยฯ ที่ จ.ภูเก็ตอีก 1 แห่ง จะต้องดูแผนงานต่อไป

 

 

"วราวุธ" เดินหน้าแผนพะยูนแห่งชาติ เล็งสร้าง รพ.สัตว์ทะเลหายาก 2 ที่ตรัง

"วราวุธ" เดินหน้าแผนพะยูนแห่งชาติ เล็งสร้าง รพ.สัตว์ทะเลหายาก 2 ที่ตรัง
 

นายวราวุธ กล่าวว่า ส่วนของงบประมาณและระยะเวลาที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ยังตอบไม่ได้ เพียงแต่มาสำรวจพบว่า สภาพพื้นที่มีความเหมาะสม ส่วนอาคารที่มีอยู่จะทุบทิ้ง สร้างใหม่ หรือว่าซ่อมแซมอย่างไร จะต้องมีการสำรวจใหม่ทั้งหมด

 

สำหรับการก่อสร้างนี้ เป็น 1 ในโครงการรองรับ แผนพะยูนแห่งชาติ หรือ มาเรียมโปรเจค ซึ่งมีการตั้งเป้าหมายเพิ่มประชากรพะยูนจาก 250 ตัว เป็น 280 ตัว ภายในเวลา 3 ปี โดยตลอดระยะ 3 ปี หลังมาเรียมตาย พบพะยูนเพิ่มขึ้นประมาณ 15 ตัว และแนวโน้มก็ยังดีขึ้น ส่วนภัยคุกคามของพะยูนก็ยังมีเหมือนเดิม แต่ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนต่อไป ส่วนปัญหาการทิ้งขยะ และขยะพลาสติกประเทศไทยจากเดิมเคยอยู่ในลำดับที่ 6 ของโลก ขณะนี้การแก้ปัญหาดีขึ้นตกลงไปอยู่ลำดับที่ 10

 

ทั้งนี้ จ.ตรัง จะต้องมีศูนย์วิจัยการอนุรักษ์พะยูนและสัตว์ทะเลหายาก เป้าหมายเพื่อต้องการอนุรักษ์และคุ้มครองพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัยในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานศึกษาวิจัยพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัย และเพื่อสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และดูแลพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัย

 

 

"วราวุธ" เดินหน้าแผนพะยูนแห่งชาติ เล็งสร้าง รพ.สัตว์ทะเลหายาก 2 ที่ตรัง

logoline