svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เศร้า! พบซากพะยูนลอยตาย บริเวณเกาะมุก จ.ตรัง

22 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เศร้า! พบซากพะยูนลอยตายกลางทะเล บริเวณเกาะมุก จ.ตรัง เจ้าหน้าที่ตรวจสอบไม่พบร่องรอยบาดแผล จึงนำส่งให้ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง เพื่อผ่าชันสูตรหาสาเหตุการตายต่อไป

22 พฤศจิกายน 2564 นายณรงค์ คงเอียด หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ จม.3 (เกาะกระดาน) พบซากพะยูนตาย บริเวณเกาะมุก ตรวจสอบเบื้องต้นไม่ทราบเพศ ขนาดความยาว 1.2 เมตร ไม่พบร่องรอยบาดแผลบริเวณลำตัวแต่อย่างใด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> พบ "พะยูน" ว่ายน้ำหน้าหาดสวนสวน หลังมีรายงานไม่พบมานาน

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้นำซากพะยูน ส่งมอบให้ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง เพื่อผ่าชันสูตรหาสาเหตุการตาย และลงบันทึกประจำวันต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรกันตัง ตามระเบียบต่อไป

เศร้า! พบซากพะยูนลอยตาย บริเวณเกาะมุก จ.ตรัง

พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล เป็นญาติห่างๆ ของช้าง แต่บรรพบุรุษของพะยูนซึ่งเคยอยู่อาศัยบนบกเมื่อราว 55 ล้านปีมาแล้ว ได้วิวัฒนาการลงไปอยู่ในทะเลแล้วไม่กลับขึ้นบกอีกเลย พะยูนเป็นสัตว์ที่มีระบบย่อยอาหารที่สามารถย่อยเซลลูโลสของพืชได้จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลกลุ่มเดียวในโลกที่เป็นสัตว์กินพืช 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> "พะยูน-เต่าทะเล" นักปลูกแห่งท้องทะเล

เศร้า! พบซากพะยูนลอยตาย บริเวณเกาะมุก จ.ตรัง

นอกจากนี้ พะยูนยังมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่แพร่กระจายเมล็ดหญ้าทะเล เหมือนกับสัตว์ป่าที่ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ในป่า เมล็ดหญ้าที่ถูกถ่ายออกมาจากพะยูนจะสามารถงอกได้ดีกว่าปกติ 

ในประเทศไทยเราสามารถพบพะยูนได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน  ทางอันดามันพบพะยูนกลุ่มเล็ก ๆ แพร่กระจายตั้งแต่ จ.ระนองลงไปถึงสตูล โดยมีพะยูนกลุ่มใหญ่ที่สุดบริเวณเกาะลิบง – เกาะมุก จ.ตรัง สำหรับฝั่งอ่าวไทยยังพบพะยูนกลุ่มเล็กๆ เหลือรอดใน จ.ระยอง ตราด ชุมพรและสุราษฎร์ธานี จำนวนประชากรพะยูนในประเทศไทยโดยรวมเหลืออยู่ไม่มากนัก

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> ครบ 2 ปีสูญเสียพะยูนมาเรียม เร่งคุ้มครองทะเลตรัง

เศร้า! พบซากพะยูนลอยตาย บริเวณเกาะมุก จ.ตรัง

จากข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่า มีพะยูนในน่านน้ำไทยประมาณ 200-250 ตัว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวล คือพะยูนยังคงมีอัตราการตายเฉลี่ยต่อปีสูงมาก โดยข้อมูลย้อนหลังพบว่ามีพะยูนตายไม่ต่ำกว่า 12 ตัวต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละหนึ่งตัว

logoline