svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

5 องค์กรภาคีเครือข่ายเซ็นเอ็มโอยูเดินหน้ากัญชาพุ่งเป้าสู่สมุนไฟระดับโลก

02 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

5 องค์กรภาคีเครือข่ายกัญชาทางการแพทย์เอ็มโอยูร่วมขับเคลื่อนนโยบายให้ประชาชนเข้าถึง ยากัญชา-ส่งเสริมงานวิจัยสู่ยาสมุนไพรระดับโลก

นพ.สมนึก ศิริพานทอง ประธานโครงการศูนย์ Telemedicine Bangkok  เปิดเผยว่า 5 องค์กรภาคีเครือข่ายกัญชาทางการแพทย์ ประกอบด้วย สมาคมแพทย์ทางร่วมนานาชาติ บมจ. โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย)  โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 บริษัทเฮลท์ อัพ จำกัด หรือ Health Up และ ศูนย์ Telemedicine Bangkok ได เซ็นเอ็มโอยู ความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์

ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงยากัญชา ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล สร้างรายได้การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในผู้ป่วยต่างชาติ (Medical Tourism) รวมไปถึงการนำเข้าและส่งออกในฐานะพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย

สำหรับสมาคมแพทย์ทางร่วมนานาชาติ ดำเนินงานรับผิดชอบในการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับการใช้กัญชาในเชิงการแพทย์ ตลอดจนการจัดหลักสูตร หรือ การจัดอบรมให้เกิดองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์สำหรับแวดวงการแพทย์ในเชิงการใช้กัญชาในฐานะยารักษาโรค รวมไปถึงการส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยเพื่อต่อยอดสำหรับการพัฒนา ปรับปรุงยาน้ำมันกัญชา อันจะนำมาซึ่งแนวทางการใช้นำน้ำมันกัญชาให้ถูกต้อง เหมาะสม และ ปลอดภัย

บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย)  จำกัด(มหาชน) ดำเนินงานรับผิดชอบในส่วนของการสกัด และ การผลิตยาจากพืชสมุนไพรควบคุม หรือ ยาตามใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ โดยยาซึ่งทำการผลิตจะต้องได้ซึ่งคุณภาพ มาตรฐาน และ มีใบทะเบียนอนุญาตในการผลิตยาเพื่อสามารถนำไปจัดจำหน่ายได้

โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 ดำเนินงานรับผิดชอบในส่วนของการเป็นสถานพยาบาลซึ่งได้รับรองมาตรฐาน JCI ซึ่งแสดงถึงความเป็นเลิศในทุกมาตรฐาน และ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงรับผิดชอบในส่วนของการเปิดและดำเนินกิจการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ภายในสถานพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยากัญชาทางการแพทย์ตามแนวทางที่ถูกต้อง และ เหมาะสม
 

ขณะที่บริษ้ทเฮลท์ อัพ จำกัด หรือ Health Up ดำเนินงานรับผิดชอบในส่วนของการดำเนินกิจการร้านขายยาซึ่งมีใบทะเบียนอนุญาตให้ประกอบกิจการถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงรับผิดชอบในการจัดหาเภสัชกรที่มีใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อประจำร้านขายยาเพื่อทำหน้าที่ในการซักประวัติ กรอกข้อมูล ตลอดจนให้คำแนะนำในการใช้กัญชาทางการแพทย์เบื้องต้นให้กับประชาชนทั่วไป

ศูนย์ Telemedicine Bangkok ดำเนินงานรับผิดชอบในส่วนของการเป็นศูนย์ประสานงานเพื่อให้คำปรึกษาด้านการรักษาพยาบาล รวมไปถึง การสั่งจ่ายยา การจัดส่งยาให้กับผู้ป่วยซึ่งประสงค์ใช้กัญชาในเชิงการแพทย์ โดยขั้นตอนการดำเนินงานจะต้องกระทำภายในสถานประกอบการพยาบาลที่มีเลขที่จดแจ้งถูกต้อง และ กระทำโดยแพทย์ผู้มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์เท่านั้น


“ ความร่วมมือของ 5 องค์กรภาคีเครือข่ายกัญชาทางการแพทย์ มีเป้าหมายสำคัญเพื่อ ขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ รวมทั้งสนับสนุนการเข้าถึงยากัญชา หรือการกระจายยาให้ทั่วถึงสำหรับประชาชน ส่งเสริมการทำงานวิจัยในกลุ่มวิชาชีพแพทย์เพื่อพัฒนายากัญชาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์จาการรักษาผู้ป่วยต่างชาติ (Medical Tourism) รวมไปถึงการนำเข้าและส่งออก เพื่อผลักดันสมุนไพรกัญชาให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย และยืนหยัดในแวดวงสาธารณสุขในฐานะยาสมุนไพรอันทรงคุณค่าในระดับโลก”นพ.สมนึกกล่าว
    

 

 

 

ปัจจุบัน องค์การเภสัชกรรม กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ในส่วนของภาครัฐ มีการเปิดโอกาสให้กับหน่วยงานภาคเอกชนได้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วม เรื่องของการส่งเสริมการใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย ทั้งในด้านของการสกัดสาระสำคัญเพื่อนำไปผลิตเป็นยา การเผยแพร่ความรู้

ตลอดจนการจำหน่ายยากัญชาทางการแพทย์ให้กับภาคประชาชน  หน่วยงานภาคเอกชน ซึ่งมีหลักการและจุดประสงค์ร่วมกันในการส่งเสริมการใช้สมุนไพรกัญชาเพื่อการรักษาในเชิงการแพทย์จึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งภาคีเครือข่ายกัญชาทางการแพทย์รวม 5 องค์กรดังกล่าว

สัญญาความร่วมมือ (MOU) ที่จัดทำขึ้นครั้งนี้เพื่อให้ทั้ง 5 ฝ่ายตกลงทำข้อตกลงดำเนินงาน ทำธุรกิจร่วมกันโดยมีรายละเอียด กล่าวว่า ทุกฝ่ายตกลงยินยอมดำเนินงานร่วมกันในด้านการสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงยาน้ำมันกัญชา 4 สูตร ซึ่งผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม หรือ ยาอื่นใดซึ่งมีส่วนประกอบจากพืชสมุนไพรควบคุมตามที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตได้จากกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้การกำกับ ควบคุม และ ดูแลโดยผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับอนุญาต
นพ.สมนึกกล่าวว่า ทุกฝ่ายตกลงยินยอมร่วมมือกันส่งเสริมด้านงานวิจัยเชิงการแพทย์ ทั้งด้านแพทยศาสตร์ ด้านเภสัชศาสตร์ ด้านทันตแพทย์ ตลอดจนด้านสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อเผยแพร่และพัฒนาแนวทางการใช้น้ำมันกัญชา ตลอดจนยาซึ่งผลิตจากสมุนไพรควบคุมให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง ปลอดภัย และ เหมาะสม
 โดยแต่ละฝ่ายตกลงแบ่งบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
สมาคมแพทย์ทางร่วมนานาชาติ ดำเนินงานรับผิดชอบในการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับการใช้กัญชาในเชิงการแพทย์ ตลอดจนการจัดหลักสูตร หรือ การจัดอบรมให้เกิดองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์สำหรับแวดวงการแพทย์ในเชิงการใช้กัญชาในฐานะยารักษาโรค รวมไปถึงการส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยเพื่อต่อยอดสำหรับการพัฒนา ปรับปรุงยาน้ำมันกัญชา อันจะนำมาซึ่งแนวทางการใช้นำน้ำมันกัญชาให้ถูกต้อง เหมาะสม และ ปลอดภัย
บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย)  จำกัด(มหาชน) ดำเนินงานรับผิดชอบในส่วนของการสกัด และ การผลิตยาจากพืชสมุนไพรควบคุม หรือ ยาตามใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ โดยยาซึ่งทำการผลิตจะต้องได้ซึ่งคุณภาพ มาตรฐาน และ มีใบทะเบียนอนุญาตในการผลิตยาเพื่อสามารถนำไปจัดจำหน่ายได้
โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 ดำเนินงานรับผิดชอบในส่วนของการเป็นสถานพยาบาลซึ่งได้รับรองมาตรฐาน JCI ซึ่งแสดงถึงความเป็นเลิศในทุกมาตรฐาน และ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงรับผิดชอบในส่วนของการเปิดและดำเนินกิจการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ภายในสถานพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยากัญชาทางการแพทย์ตามแนวทางที่ถูกต้อง และ เหมาะสม
บริษ้ทเฮลท์ อัพ จำกัด หรือ Health Up ดำเนินงานรับผิดชอบในส่วนของการดำเนินกิจการร้านขายยาซึ่งมีใบทะเบียนอนุญาตให้ประกอบกิจการถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงรับผิดชอบในการจัดหาเภสัชกรที่มีใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อประจำร้านขายยาเพื่อทำหน้าที่ในการซักประวัติ กรอกข้อมูล ตลอดจนให้คำแนะนำในการใช้กัญชาทางการแพทย์เบื้องต้นให้กับประชาชนทั่วไป
ศูนย์ Telemedicine Bangkok ดำเนินงานรับผิดชอบในส่วนของการเป็นศูนย์ประสานงานเพื่อให้คำปรึกษาด้านการรักษาพยาบาล รวมไปถึง การสั่งจ่ายยา การจัดส่งยาให้กับผู้ป่วยซึ่งประสงค์ใช้กัญชาในเชิงการแพทย์ โดยขั้นตอนการดำเนินงานจะต้องกระทำภายในสถานประกอบการพยาบาลที่มีเลขที่จดแจ้งถูกต้อง และ กระทำโดยแพทย์ผู้มีใบประกอบวิชาชีพแพทย์เท่านั้น
“ ความร่วมมือของ 5 องค์กรภาคีเครือข่ายกัญชาทางการแพทย์ มีเป้าหมายสำคัญเพื่อ ขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ รวมทั้งสนับสนุนการเข้าถึงยากัญชา หรือการกระจายยาให้ทั่วถึงสำหรับประชาชน ส่งเสริมการทำงานวิจัยในกลุ่มวิชาชีพแพทย์เพื่อพัฒนายากัญชาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจทั้งในด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์จาการรักษาผู้ป่วยต่างชาติ (Medical Tourism) รวมไปถึงการนำเข้าและส่งออก เพื่อผลักดันสมุนไพรกัญชาให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย และยืนหยัดในแวดวงสาธารณสุขในฐานะยาสมุนไพรอันทรงคุณค่าในระดับโลก”นพ.สมนึกกล่าว
    

logoline