svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

“คุ้มเสือเชียงใหม่”ฝ่าวิกฤติโควิดรับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้น

19 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คุ้มเสือเชียงใหม่ ยิ้มร่าเปิดประเทศนักท่องเที่ยวเริ่มกลับเข้ามาชมเสือ เผยช่วงโควิดเจอวิกฤตหนักโชคดีได้คนรักเสือช่วยบริจาคอาหารให้เสือกว่า 200 ตัว เดินหน้าพัฒนาพื้นที่อ.แม่แตง เป็นแหล่งเรียนรู้เสือครบวงจร แต่ยังขาดงบ ถ้าทำได้จะยกระดับต่อ เชิงวิชาการ-ท่องเที่ยว

                 พลตรีหญิง กชกร ไชยบุตร กรรมการบริษัท คุ้มเสือตระการ จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ทางคุ้มเสือได้พยุง และพยายามดูแลเสือทั้งหมด ไม่ให้ได้รับผลกระทบมาก ซึ่งค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้งหมดในช่วงโควิดตลอดระยะเวลาตลอด 3 ปีที่ผ่านมา จะอยู่ที่ 5,000,000 บาทต่อเดือน การดูแลเสือจำนวน 200 กว่าตัว และพนักงานกว่า 200 คน เป็นเรื่องยากมากที่จะหารายได้ตรงในส่วนนี้

“คุ้มเสือเชียงใหม่”ฝ่าวิกฤติโควิดรับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้น

“คุ้มเสือเชียงใหม่”ฝ่าวิกฤติโควิดรับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้น

                ในช่วงนั้นได้ขอเปิดรับเงินบริจาคเพื่อนำมาเป็นค่าอาหารให้กับเสือ ซึ่งได้รับการตอบรับ และได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใจบุญส่งเงินบริจาคมาเป็นค่าอาหารเสือจนผ่านวิกฤติมาได้ และเมื่อประเทศไทยได้เปิดประเทศแล้ว รวมถึงสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย ทำให้การท่องเที่ยวเริ่มดีขึ้น มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเข้ามาเที่ยวคุ้มเสือเพิ่มขึ้น เฉลี่ยวันละ 100-200 คน ทำให้เริ่มมีรายได้เข้ามาเพิ่มขึ้น

              ปัจจุบันคุ้มเสือมีเสืออยู่ในการดูแลทั้ง 3 สาขา ประมาณ 220 ตัว จึงอยากจะขอเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสเสืออย่างใกล้ชิด คุ้มเสือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งเดียวที่สามารถเข้าไปสัมผัสกับเสือในกรงได้ และเสือเหล่านนี้ไม่ดุร้ายอย่างที่ใครหลาย ๆคนคิด แต่เสือเป็นสัตว์ที่แปลกและมีความลึกลับในตัวอยู่ ซึ่งทางคุ้มเสือได้มีการอาบน้ำทำความสะอาดให้เสืออยู่ตลอด เพื่อให้เสือไม่มีกลิ่นเหม็น มีการดูแลทำความสะอาดกรงเสือด้วยน้ำยาเชื้อเชื้อ และจัดเก็บมูลเสือในทุกเช้า

“คุ้มเสือเชียงใหม่”ฝ่าวิกฤติโควิดรับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้น

“คุ้มเสือเชียงใหม่”ฝ่าวิกฤติโควิดรับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้น

             พลตรีหญิง กชกร ยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้แล้ว ทางคุ้มเสือ ยังได้เข้าไปพัฒนาพื้นที่ ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับเสือที่เกษียณแล้ว ซึ่งเป็นเสือที่ไม่ได้ให้ลูกค้าเข้าเยี่ยมชม โดยมีความตั้งใจว่าอยากจะจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับเสือโดยเฉพาะ เนื่องจากเสือมีความลับ ที่ยังไม่เป็นที่เปิดเผยในหลักวิชาการ เช่น  การเลี้ยงดู หรือในเรื่องของพฤติกรรมของเสือ ผู้คนยังมีความเข้าใจว่าเสือมีความดุร้าย จึงไม่อยากที่จะเข้าไปใกล้ชิด แต่เราสามารถทำให้เสือเชื่องได้ เพื่อให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้ และไขความลับพร้อมเปิดให้สาธารณชนได้รับรู้ว่า เสือเป็นสัตว์ที่มีความน่าสนใจ น่าเรียนรู้ เป็นอย่างยิ่ง

             สำหรับเสือที่ทางคุ้มเสือเพาะพันธุ์ เป็นเสือที่เลี้ยงในกรง จะแตกต่างกับเสือที่อยู่ในป่า เนื่องจากเสือที่เลี้ยงในกรงจะมีความดุร้ายน้อยกว่าเสือที่อยู่ในป่ามาก และจากการที่ให้อาหารเสือที่เลี้ยงในกรงทุกวัน ทำให้เสือเหล่านี้มีความเชื่อง อยากให้ทุกคนเข้ามาเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจธรรมชาติของเสือ จึงเกิดเป็นโครงการเรียนรู้เกี่ยวกับเสือ แต่ยังคงขาดในเรื่องของทุนทรัพย์ ตอนนี้มีเสือที่อยู่ที่แม่แตงอยู่ประมาณ 140 ตัว สำหรับเสือ 1 ตัว ต้องทำกรงให้ 1 กรง ราคาอยู่ที่ 1 ล้านบาทต่อกรง ดังนั้น งบประมาณในการดำเนินการจึงค่อนข้างสูง และอยากจะจัดทำโรงพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลเสือโดยเฉพาะ รวมถึงอยากจะจัดสร้างทำเป็นสถานบันที่สามารถอบรมผู้ที่สนใจจะเป็นนักดูแลเสือได้

“คุ้มเสือเชียงใหม่”ฝ่าวิกฤติโควิดรับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้น

“คุ้มเสือเชียงใหม่”ฝ่าวิกฤติโควิดรับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้น

“คุ้มเสือเชียงใหม่”ฝ่าวิกฤติโควิดรับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้น

             “สำหรับการดูแลเสือ เราสามารถที่จะสอนให้ผู้ที่สนใจว่าทางคุ้มเสือมีการดูแลเสืออย่างไร เช่น การเตรียมอาหารให้กับเสือ ซึ่งทางคุ้มเสือมีนักโภชนาการของเสือโดยเฉพาะ หรือการรักษาเสือที่มีอาการป่วยต้องรักษาและดูแลเสืออย่างไร ทางคุ้มเสือมีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาได้ 5 ถึง 6 ปีแล้ว ในการเข้ามาศึกษาการดูแลเสือ หรือการรักษาเสือ จึงอยากจะเชิญชวน สำหรับมหาวิทยาลัยใดที่มีคณะสัตวแพทย์ทั่วประเทศ สามารถเข้ามาเรียนรู้การรักษาเสือได้ เพราะทางคุ้มเสือมีสัตวแพทย์ที่ดูแลเสือโดยเฉพาะ” พลตรีหญิง กชกรกล่าว

 

 

ข่าว/ภาพ : จักรินทร์  นมนาน  สำนักข่าวเนชั่น  ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

logoline