svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ดร.อนันต์ เตือน พัฒนาการสายพันธุ์ BA.2.75 ที่กำลังมีการกลายพันธุ์ในอินเดีย

01 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดร.อนันต์ เปิดข้อมูลล่าสุด ประเด็นร้อนๆ ที่สังคมไทยพากันสงสัย ล่าสุด วายร้ายโควิดโอมิครอน จากรายงานวิจัยต่างประเทศ ถึงพัฒนาการสายพันธุ์ BA.2.75 ที่กำลังมีการกลายพันธุ์ ในอินเดีย อ่านรายละเอียดได้ใน ตรงนี้มีคำตอบ

รายงานความคืบหน้าทางวิชาการที่น่าสนใจ ล่าสุด ทางด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์ และการจัดการ นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านชีววิทยาโมเลกุลของไวรัส โพสต์ข้อความระบุว่า

จากรายงานวิจัยต่างประเทศ ถึงพัฒนาการสายพันธุ์ BA.2.75 ที่กำลังมีการกลายพันธุ์ ในอินเดีย  และมีแนวโน้มจะเป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์ระบาดสูง

ดร.อนันต์ เตือน พัฒนาการสายพันธุ์ BA.2.75 ที่กำลังมีการกลายพันธุ์ในอินเดีย

ดร.อนันต์ เตือน พัฒนาการสายพันธุ์ BA.2.75 ที่กำลังมีการกลายพันธุ์ในอินเดีย

ดร.อนันต์ เตือน พัฒนาการสายพันธุ์ BA.2.75 ที่กำลังมีการกลายพันธุ์ในอินเดีย

ประเด็นโพสต์ร้อนๆ ที่น่าสนใจจาก ดร.อนันต์ ทีมข่าวรวบรวมให้ครบจบที่ตรงนี้ใน #ตรงนี้มีคำตอบ

มีคำถามทั้งวันเกี่ยวกับ Evusheld ต่อการต้านการติดเชื้อของไวรัสสายพันธุ์ BA.4/ BA.5 ได้มั้ย เลยขอพูดถึงหน่อยว่า Evusheld คืออะไร หลายคนเรียกว่าเป็นยา แต่ไม่ใช่ยาแบบเม็ดๆ ที่หมอสั่งให้ทานหลังติดโควิดนะครับ จริงๆก็คือ Antibody ที่ร่างกายเราสร้างขึ้นมาเนี่ยแหล่ะครับ

ประวัติคือนักวิจัยในอมริกาไปแยกเม็ดเลือดขาวของผู้หายป่วยจากโควิดตั้งแต่ปี 2020 โดยเม็ดเลือดขาว B cell ที่แยกมาสามารถสร้างแอนติบอดีที่เชื่อว่าไปจับตำแหน่งสำคัญของสไปค์และยับยั้งไวรัสไม่ให้เข้าเซลล์ได้ ได้ตัวที่ประสิทธิภาพดีและจับตำแหน่งที่ต่างกัน ถ้าใช้ร่วมกันความสามารถในการจับและยับยั้งไวรัสก็จะสูงขึ้น เลยทำการผลิตแอนติบอดีดังกล่าวและขายสิทธิในการพัฒนาต่อยอดให้กับ AstraZeneca

ดร.อนันต์ เตือน พัฒนาการสายพันธุ์ BA.2.75 ที่กำลังมีการกลายพันธุ์ในอินเดีย

แต่ แอนติบอดี ในธรรมชาติมีอายุที่ไม่นานมาก 2-3 เดือน ก็จะเริ่มถูกทำลายลง ร่างกายเราสร้างใหม่ได้จาก B cell โดยเฉพาะเมื่อถูกกระตุ้นด้วยวัคซีน หรือ การติดเชื้อ ดังนั้นการเสื่อมสลายลงของแอนติบอดีจึงไม่ใช่ปัญหา แต่ถ้านำมาใช้เป็นยา ร่างกายสร้างใหม่ไม่ได้ ควรทำให้แอนติบอดีดังกล่าวอยู่ในร่างกายนานขึ้น แอนติบอดี 2 ตัวที่นำมาผสมกันใน Evusheld จึงเป็นแอนติบอดีที่ผ่านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้อยู่ในร่างกายนานขึ้น คงไม่ลงรายละเอียดว่าไปทำอะไรนะครับ แต่การปรับโครงสร้างดังกล่าวทำให้แอนติบอดีอยู่ได้นานกว่าเดิมกว่า 3 เท่า หรือ นานกว่า 6 เดือน สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องร่างกายสร้างแอนติบอดีไม่ดี ภูมิไม่ถูกกระตุ้นจากวัคซีน การใช้ Evusheld จึงเป็นทางที่สามารถทำให้ร่างกายมีภูมิมากพอในการป้องกันไวรัสไม่ให้เข้าติดเชื้อทำลายอวัยวะสำคัญๆได้ แต่ถ้าติดไปแล้ว การใช้ Evusheld เพื่อรักษาคงไม่มีประโยชน์

เนื่องจาก Evusheld พัฒนามาจาก B cell ของผู้ติดไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม ดังนั้นคำถามคือ จุดที่แอนติบอดี 2 ตัวไปจับบนสไปค์ มันยังใช้ได้กับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ๆอย่างโอมิครอนทั้งหลายหรือไม่ ผลการศึกษาที่หาได้มาจากงานวิจัยที่ทีม Oxford นำ Evusheld มายับยั้งการติดเชื้อของไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ โดยชื่อเดิมของยาตัวนี้คือ AZD7442 จากภาพ แกน Y คือ % การยับยั้งไวรัส แกน X คือ ปริมาณของยาหรือแอนติบอดีที่ใช้ในการยับยั้ง ไวรัสที่ทดสอบแทนด้วยสีต่างๆ จะเห็นว่าไวรัส Victoria (สีส้ม) สามารถถูกยับยั้งได้ 50% เพียงแค่ใช้ยาแค่ -3log ug หรือ 1 nanogram ซึ่งน้อยมากๆ ผลการทดสอบกับไวรัส BA.2 ออกมาดูดีเช่นกัน คือ ใช้ยาประมาณ -2log ug หรือ 10 nanogram ในภาพ BA.4/BA.5 คือสีเขียว ได้ผลทับกับ BA.3 คือสีน้ำเงินพอดี ซึ่งอยู่ในขนาดของยาประมาณ -1log ug หรือ 100 nanogram ในการป้องกันการติดเชื้อได้ 50% ซึ่งถึงแม้จะต้องใช้ปริมาณมากกว่าไวรัสดั้งเดิมถึง 100 เท่า ค่าดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้อยู่ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า BA.1 หนีการจับของ Evusheld ได้ดีกว่ามาก แสดงว่า ตำแหน่งที่กลุ่ม BA.1 กลายพันธุ์สามารถรบกวนการจับของแอนติบอดีดังกล่าวได้ ซึ่งยังถือว่าโชคดีที่ BA.1 ไม่ได้กลายเป็นสายพันธุ์ที่สร้างปัญหาอยู่ตอนนี้

ที่มาของกราฟ

https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2022.05.21.492554v1

ดร.อนันต์ เตือน พัฒนาการสายพันธุ์ BA.2.75 ที่กำลังมีการกลายพันธุ์ในอินเดีย

จับตา BA.5 เป็นไวรัส SARS-CoV-2 ที่วิ่งไวที่สุดตอนนี้ และดูเหมือนไวรัสกำลังฝึกตัวเองให้ฟิตขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นเพราะหลายๆประเทศพร้อมลุยที่จะอยู่กับไวรัสแบบคนไม่ป่วยหนัก ไวรัสก็ไปแบบที่อยากไป ถ้าคนป่วยหนักมีมากขึ้นคงมาดูกันอีกทีว่าไวรัสไปถึงไหนแล้ว และเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น

ตัวอย่างที่น่าสนใจคือประเทศเยอรมัน และ เดนมาร์ก ครับ ไวรัส BA.5 ที่กำลังวิ่งอย่างรวดเร็วที่นั่นมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น และ เป็นการเปลี่ยนแปลงนอกโปรตีนหนามสไปค์ ซึ่งยิ่งทำให้คนสังเกตความแตกต่างยากนอกจากไวรัสนั้นโดดเด่นกว่า BA.5 โดยทั่วไปจริงๆไวรัสที่ว่ามีชื่อของตัวเองแบบไม่เป็นทางการว่า BE.1 เป็น BA.5 ที่มีการเปลี่ยนแปลงตรงโปรตีนนิวคลีโอแคบซิด (โปรตีน N ที่ใช้ตรวจ ATK) ตำแหน่งที่ 136 จากกรดอะมิโนชื่อ Glutamic acid (E) ไปเป็น Aspartic acid (D) เรียกสั้นๆว่า N:E136D

ข้อมูลใน เยอรมัน พบว่า BE.1 อาจวิ่งไวกว่า BA.5 ไปถึง 65% ส่วนในเดนมาร์กยังอยู่ที่ 39% ถ้าเปรียบเทียบในหลายประเทศที่พบ BE.1 ดูเหมือนเยอรมันจะเป็นผู้นำตอนนี้

คงเป็นเรื่องปกติแล้วแหล่ะครับที่จะเห็นไวรัสไม่อยู่นิ่งและไม่วิ่งย้อนกลับไปแพร่ช้าลง ในมุมมองของนักไวรัสวิทยามองว่าอันนี้ท้าทายมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงของไวรัสเกิดแบบที่ไม่คาดคิด เช่น โปรตีน N ที่ส่วนใหญ่คิดว่าไม่น่าจะมีผลต่อการแพร่กระจายได้สูงขนาดนี้ และ การเปลี่ยนแปลงมาแบบตำแหน่งเดียว ไม่ต้องรอเปลี่ยนเยอะ...องค์ความรู้เรากับไวรัสตัวนี้ยังน้อยมากจริงๆครับ

ดร.อนันต์ เตือน พัฒนาการสายพันธุ์ BA.2.75 ที่กำลังมีการกลายพันธุ์ในอินเดีย ดร.อนันต์ เตือน พัฒนาการสายพันธุ์ BA.2.75 ที่กำลังมีการกลายพันธุ์ในอินเดีย

วัคซีนสูตร 2 ที่กำลังขออนุมัติ ใช้ BA.1 แต่ FDA ของ สหรัฐ แนะนำให้ไปใช้ BA.4/BA.5 ในสูตรของวัคซีนรุ่นใหม่...ไม่แน่ใจครับว่า รุ่นที่พัฒนากันไปแล้วจะได้ไฟเขียวจาก FDA ออกมาใช้ก่อน ในช่วงที่สูตรที่ FDA แนะนำจะพัฒนาขึ้นมาหรือไม่ คาดว่าคงได้ออกมาใช้กันก่อน มิฉะนั้นอาจต้องรอยาวต่อไปอีก ถ้าเป็นแบบที่คาดไว้ วัคซีนรุ่น 3 คงเป็น BA.4/BA.5 ซึ่งหวังว่าตอนนั้นไวรัสคงจะวิ่งหนีไปไม่ไกลมาก...

***แต่จากเอกสารของ FDA ดูเหมือน วัคซีนสูตร BA4/ BA5 อาจจะได้ใช้ในสหรัฐอเมริกาภายในฤดูใบไม้ร่วงของปีนี้ ซึ่งคืออีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้***

...

ล่าสุดในวันนี้ ประเด็นวัคซีนเข็มกระตุ้น

วัคซีนเข็มกระตุ้นมีให้สำหรับความสมัครใจ แต่สำหรับผมอยากให้สำหรับผู้ที่ประเมินความเสี่ยงครับ ภูมิจากวัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่อวัยวะสำคัญซึ่งทุกคนที่ร่างกายแข็งแรงที่ฉีดกระตุ้นควรมีเพียงพอแล้ว กลุ่มเสี่ยงคือผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวชัดๆที่ภูมิส่วนที่จำเป็นนั้นอาจน้อยจนไม่เพียงพอต่อการป้องกัน ดร.อนันต์ เตือน พัฒนาการสายพันธุ์ BA.2.75 ที่กำลังมีการกลายพันธุ์ในอินเดีย หลายคนคิดว่ากระตุ้นไว้ก่อนมีไว้ดีกว่าไม่มี อยากให้มองไปข้างหน้าครับ ร่างกายเราต้องฉีดวัคซีนโควิดอีกหลายเข็มที่หน้าตาแตกต่างไปจากวันนี้ ถ้าวันนั้นภูมิขึ้นไม่ดีเหมือนฉีดตอนแรกๆ คงต้องหาวิธีกระตุ้นภูมิกันอีกเช่นไปฉีดวัคซีนตัวเดิม ซึ่งอาจหาไม่ง่ายครับ...คหสตนะครับ...ช่วยวัคซีนป้องกันตัวเองด้วยเทคโนโลยีง่ายๆอย่างหน้ากากอนามัย และทำร่างกายให้พร้อมกับวัคซีนตัวใหม่ที่กำลังออกมาดีกว่าครับ

ปิดท้ายกับโพสต์ของ ดร.อนันต์ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565

ข้อมูลชิ้นหนึ่งที่ทาง Pfizer นำเสนอเกี่ยวกับวัคซีนชุด 2 น่าสนใจครับ คือ วัคซีนที่ออกแบบสำหรับโอมิครอนทดสอบในอาสาสมัครที่ไม่เคยฉีดวัคซีนใดๆเลย และ ไม่เคยติดโควิดด้วย พบว่า หลังกระตุ้นเข็มสองด้วยวัคซีนรุ่นใหม่นี้ภูมิต่อโอมิครอนขึ้นสูงครับ แต่ภูมิต่อสายพันธุ์เดิมไม่ขึ้นเลย และ Delta ขึ้นมาน้อยมากๆ นั่นคือ ร่างกายเห็นสไปค์ของโอมิครอนเป็นครั้งแรกภูมิจึงตอบสนองออกมาดีมากต่อโอมิครอน เพียงแค่ 2 เข็มเอาอยู่ เชื่อว่าถ้าได้เข็ม 3 อีกที คงพุ่งระดับหลายพันและอยู่ไปแบบยาวๆ

แตกต่างจากคนที่ฉีดวัคซีนเก่ามา (ผลแสดงก่อนหน้านี้) แล้วกระตุ้นด้วยวัคซีนใหม่ ภูมิจะไม่ขึ้นอย่างจำเพาะและสูงเท่ากลุ่มนี้ เพราะความจำจากวัคซีนเดิมมีมาก การจะได้อะไรแบบ fresh เหมือนกลุ่มนี้จึงยากและอาจเป็นไปไม่ได้ วิธีหนึ่งคืออย่าไปกระตุ้นด้วยวัคซีนเก่าซ้ำๆโดยไม่จำเป็น เพราเราต้องเผื่อร่างกายไว้กับสิ่งใหม่ๆบ้าง

ป.ล เป็นอาสาสมัคร 9 คน ที่หายากมากๆในสถานการณ์ปัจจุบันครับ

 

 

logoline